จำนวนบทความของคำ "เทเกรตอล ซีอาร์ 200 mg" : 4 เทเกรตอล ซีอาร์ 200 mg เป็น ยาและสารเคมี |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | คำอธิบายเกี่ยวกับยา (2) |
![]() | Word Info ID : 6180 Word INFO : ยาเทเกรตอลเป็นยาพวกแอนตี้-อิปิเล็บติก ใช้ระงับการชัก และมีไซโคโทรปิคแอ็คติวิตี้ ใช้ได้ทั้งให้ยานี้เดี่ยว ๆ หรือให้ร่วมกับยาบรรเทาอาการชักชนิดอื่น ฤทธิ์ไซโคโทรปิคของยานี้ จะช่วยให้คนไข้เป็นปกติในสังคมได้ ยาเทเกรตอลช่วยป้องกันอาการปวดอย่างเฉียบพลันเป็นพัก ๆ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดประสาทเส้นที่ 5 ที่หาสาเหตุไม่ได้ (อิดิโอพาธิค ไตรจิมินัล นิวราลเจีย) ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่ปกติหลังจากหยุดดื่มเหล้า ยาเทเกรตอลจะช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการชัก ดังนั้นอาการชักของลมบ้าหมูจะลดลงและยังช่วยทำให้อาการป่วยทางจิตประสาทและระบบประสาทอัตโนมัติดีขึ้น ในผู้ป่วยเบาจืด ยาเทเกรตอลจะช่วยลดจำนวนปัสสาวะอย่างรวดเร็วและบรรเทาอาการกระหายน้ำด้วย เภสัชจลนศาสตร์ ตัวยาคาร์บามาซีปีนจะถูกดูดซึมได้อย่างช้า ๆ ได้ความเข้มข้นสูงสุดของตัวยาที่ยังไม่เปลี่ยนรูปในพลาสมา ในเวลา 4-24 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาเม็ดและยาเม็ดชนิดเคี้ยว ในรายที่ใช้ยาน้ำเชื่อมจะได้ความเข้มข้นสูงสุดของตัวยาภายในเวลา ?-3 ชั่วโมง ปริมาณตัวยาสำคัญที่ถูกดูดซึมจะไม่ต่างกันไม่ว่าจะใช้ยารูปใด เมื่อให้ยาเม็ดซีอาร์ซ้ำ ๆ กัน ความเข้มข้นสูงสุดของตัวยาในพลาสมาจะสูงน้อยกว่าแต่คงตัวอยู่ได้นานตลอดวัน ฉะนั้นจึงใช้ยาเพียงวันละ 2 ครั้ง ตัวยาคาร์บามาซีปีน จะรวมตัวกับซีรัมโปรตีนเป็นจำนวน 70-80% ความเข้มข้นของตัวยาที่ยังไม่เปลี่ยนรูปในน้ำลายจะมีค่าเท่ากับตัวยาส่วนที่ไม่ได้รวมตัวกับพลาสมาโปรตีน (20-30%) ครึ่งหนึ่งของตัวยาที่ยังไม่เปลี่ยนรูปในพลาสมา จะถูกขับออกมาภายในเวลาเฉลี่ยประมาณ 36 ชั่วโมง หลังจากรับประทานยาเข้าไปเพียงครั้งเดียว แต่เมื่อรับประทานยาซ้ำอีกหลายๆ ครั้ง เอนไซม์ที่เกี่ยวกับการทำลายยาภายในตับจะถูกกระตุ้น ทำให้ครึ่งหนึ่งของยาถูกขับออกภายในเวบลา 16-24 ชั่วโมงเท่านั้น เวลาที่ต่างกันนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการให้ยา ในผู้ป่วยที่ได้รับยากันชักชนิดอื่นร่วมด้วยที่อาจกระตุ้นเอนไซม์ที่ทำลายยาในตับ ครึ่งหนึ่งของยาถูกขับออกภายในเวลา 9-10 ชั่วโมงเท่านั้น ประมาณ 2-3% ของขนาดยา ไม่ว่าจะให้เพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ตาม จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะโดยไม่เปลี่ยนรูปไพรมารีเมตาบอไลท์ ได้แก่ 10,11-อีป็อกไซด์ ในมนุษย์ เมตาโบไลท์ที่สำคัญของตัวยาคาร์บามาซีปีน คือ อนุพันธุ์ทรานส-ไดออล์ ซึ่งได้มาจาก 10,11-อีป็อกไซด์ จำนวนอีป็อกไซด์ส่วนน้อย จะเปลี่ยนเป็น 9-ไฮดรอกซีเม็ททิล-10-คาร์บาโมอิล-อคริแดน ส่วนไบโอทรานสสฟอร์มเมชัน ที่สำคัญอื่น ๆ เป็นพวกโมโนไฮดรอกซีเล็ทคอมปาวด์น รวมทั้งเอ็น-กลูโคโรไนด์ของคาร์บามาซีปีน ความเข้มข้นของตัวยาคาร์บามาซีปีนในพลาสมาในขนาดรักษา จะอยู่ระหว่าง 21 และ 42 ไมโครโมล/ลิตร (ประมาณเท่ากับ 5-10 ไมโครกรัม/ซีซี) Ref. Link : http://thairx.com/dmdrug.asp?did=tgtcr1 |
![]() | Word Info ID : 6181 Word INFO : โรคลมบ้าหมู ลมบ้าหมูชนิดพาร์เชียล ที่มีอาการคอมเพล็กซ์ ที่มีอาการธรรมดา ชักทั้งตัวแบบปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ ที่มีอาการเกร็ง และชักกระตุก ลมบ้าหมูที่แยกชนิดไม่ได้ ยาเทเกรตอลโดยทั่ว ๆ ไป ไม่มีผลในการรักษาโรคลมบ้าหมูชนิดเปอติ๊ดมาล ยิ่งกว่านั้น จากรายงานที่ไม่เป็นทางการกล่าวว่า บางครั้งอาการชักอาจจะเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่เป็นลมบ้าหมูชนิดเปอติ๊ดมาลแบบอทิปิคัล ใช้ในรายที่มีอาการปวดประสาทเส้นที่ 5 โดยไม่ทราบสาเหตุ และในรายปวดประสาทเส้นที่ 5 ที่เกิดจากมัลติเปิลสเคอร์โรซิส ใช้ในรายปวดประสาทกล็อสโซฟาริงจิล (ประสาทเส้นที่ 9) โดยไม่ทราบสาเหตุ ใช้ในรายที่มีอาการผิดปกติเนื่องจากการหยุดดื่มสุรา ใช้ในรายเบาจืดชนิดเซ็นทราลีส มีปัสสาวะมากผิดปกติ และกระหายน้ำมากผิดปกติอันเนื่องมาจากความผิดปกติในระบบประสาทและฮอร์โมน อาการปวดปลายประสาทเนื่องจากโรคเบาหวาน Ref. Link : http://thairx.com/dmdrug.asp?did=tgtcr1 |
![]() | ขนาดและวิธีใช้ (1) |
![]() | Word Info ID : 6182 Word INFO : ทั้งชนิดเม็ดหรือน้ำเชื่อม ให้รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร แล้วดื่มน้ำตามเล็กน้อย ยาน้ำเชื่อม ใช้เขย่าขวดก่อนใช้ ยาเม็ดสำหรับเคี้ยว ให้เคี้ยวหลังอาหาร ยาเม็ดซีอาร์ (รับประทานทั้งเม็ด หรือแบ่งครึ่งเม็ด) ให้รับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหาร แล้วดื่มน้ำตามเล็กน้อย ห้ามเคี้ยว ยาเม็ดสำหรับเคี้ยวและยาน้ำเชื่อม เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่เป็นเด็ก และในผู้ใหญ่ที่กลืนยายาก เนื่องจากยาซีอาร์สามารถควบคุมการกระจายตัวของตัวยาสำคัญได้ และเม็ดยามีขีดแบ่งครึ่งเม็ด ผู้ป่วยสามารถแบ่งครึ่งเม็ดยาได้ ฉะนั้นจึงเป็นกฎว่า ยาเม็ดซีอาร์ ให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง ขนาดยาเริ่มแรกสำหรับเด็ก ให้ใช้ยาน้ำเชื่อมได้ถ้าจำเป็น ยาน้ำเชื่อม มีช้อนตวง เมื่อตวงยาเต็มช้อนได้น้ำยา 5 ซีซี มีตัวยาสำคัญ 50 มก. ลมบ้าหมู ถ้าเป็นไปได้ ควรให้ยารักษาโรคลมบ้าหมูเพียงชนิดเดียวในการรักษา ขนาดแรกเริ่มการรักษาให้ใช้ยาเทเกรตอลในขนาดน้อยก่อน แล้วค่อยปรับขนาดยาเพิ่มขึ้น แล้วแต่ผู้ป่วยแต่ละราย จนกระทั่งได้ขนาดยาที่ให้ผลการรักษาตามต้องการ การตรวจหาระดับของยาในพลาสมาจะเป็นประโยชน์ในการจัดขนาดยาที่ให้ผลดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อให้ยาเทเกรตอลร่วมกับยาอื่น เมื่อเปลี่ยนให้ผู้ป่วยมาใช้ยาเทเกรตอล ควรค่อย ๆ ลดขนาดยารักษาโรคลมบ้าหมูที่ใช้อยู่เดิม ทีละน้อยเป็นขั้นตอน ผู้ใหญ่ ขนาดเริ่มแรก ครั้งละ 200 มก. วันละ 1 หรือ 2 ครั้ง แล้วค่อย ๆ เพิ่มขนาดยา จนกระทั่งได้ขนาดยา 400 มก. วันละ 2-3 ครั้ง ซึ่งได้ผลการรักษาดีที่สุด เด็ก ให้ยาวันละ 10-20 มก. / น้ำหนักตัว 1 กก. ซึ่งจะได้รับยาดังนี้ อายุไม่เกิน 1 ขวบ ให้ยาวันละ 100-200 มก. (= น้ำเชื่อม 1-2 ช้อนตวง) อายุ 1-5 ขวบ ให้ยาวันละ 200-400 มก. (= น้ำเชื่อม 2x1-2 ช้อนตวง) อายุ 6-10 ขวบ ให้ยาวันละ 400-600 มก. (= น้ำเชื่อม 2-3x2 ช้อนตวง) อายุ 11-15 ปี ให้ยาวันละ 600-1000 มก. (= น้ำเชื่อม 3x2-3 ช้อนตวง) แบ่งให้ยาวันละหลาย ๆ ครั้ง อาการปวดประสาทเส้นที่ 5 (ไตรจิมินัล นิวราลเจีย) ขนาดยาเริ่มแรก 200-400 มก. ต่อวัน ค่อย ๆ เพิ่มขนาดยาจนกระทั่งไม่มีอาการปวด (ซึ่งปกติอยู่ในระดับ 200 มก. วันละ 3-4 ครั้ง) แล้วค่อย ๆ ลดขนาดยา จนได้ขนาดที่พอเหมาะที่จะคุมการรักษา ในผู้ป่วยสูงอายุ และผู้ป่วยที่แพ้ยาง่าย (โปรดดูข้อควรระวัง/คำเตือน) ควรใช้ขนาดยาเริ่มแรก ครั้งละ 100 มก. วันละ 2 ครั้ง อาการผิดปกติหลังจากหยุดดื่มสุรา ขนาดทั่วไป ครั้งละ 200 มก. วันละ 3 ครั้ง ในรายที่อาการรุนแรง อาจเพิ่มขนาดยาได้ภายใน 2-3 วันแรก (เช่น ให้ 400 มก. วันละ 3 เวลา) เมื่อเริ่มการรักษา ในรายที่มีอาการมาก ให้ใช้ยาเทเกรตอลร่วมกับยาพวกระงับประสาท ทำให้นอนหลับ เช่น โคลเม็ทไธอาโซล คลอร์ไดอาอีป็อกไซด์ เมื่ออาการรุนแรงค่อยดีขึ้นแล้ว ก็สามารถให้ยาเทเกรตอลอย่างเดียวต่อไปได้ เบาจืด ขนาดยาทั่วไปสำหรับผู้ใหญ่ ครั้งละ 200 มก. วันละ 2-3 ครั้ง ในเด็กต้องปรับขนาดยาตามสัดส่วนของอายุ และน้ำหนักตัว อาการปวดปลายประสาทเนื่องจากโรคเบาหวาน ขนาดยาทั่วไป ครั้งละ 200 มก. วันละ 2-4 ครั้ง ยาเกินขนาด ลักษณะและลักษณะอาการ ยาเกินขนาดทำให้เกิดลักษณะและอาการต่าง ๆ กัน เช่น มือสั่น ตื่นเต้น ชัก ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ความรู้สึกตัวเสียไป จนถึงหมดสติ อาจพบมีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองและหัวใจ (อีอีจี และ อีซีจี) การรักษา ให้การรักษาประคับประคองหน้าที่ที่สำคัญของร่างกาย อาจให้ยาไดอาซีแปม ได้ถ้าจำเป็น ข้อความที่ผู้ป่วยควรทราบ ให้ใช้ยาตามคำสั่งของแพทย์โดยเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลในการรักษาที่ดี ยาเม็ดธรรมดา ยาเม็ดซีอาร์ หรือยาน้ำเชื่อม ให้รับประทานพร้อมกับน้ำเล็กน้อย พร้อมอาหารหรือหลังอาหาร ชนิดเม็ด สำหรับเคี้ยว ให้เคี้ยวหลังอาหาร ชนิดเม็ดซีอาร์ ให้กลืนยาทั้งเม็ด ห้ามเคี้ยว ไม่ว่าจะรับประทานทั้งเม็ดหรือครึ่งเม็ดตามที่แพทย์สั่ง ยาน้ำเชื่อม ให้เขย่าขวดก่อนใช้ หยุดดื่มสุราขณะรักษาด้วยยาเทเกรตอลและควรระมัดระวังเวลาขับขี่ยานพาหนะ ถ้ามีผื่นเกิดขึ้น มีไข้ เจ็บคอ หรือมีอาการผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที ให้ปรึกษาแพทย์ถ้ามีครรภ์ หรือเริ่มตั้งครรภ์ Ref. Link : http://thairx.com/dmdrug.asp?did=tgtcr1 |
![]() | ข้อควรระวัง (1) |
![]() | Word Info ID : 6183 Word INFO : ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาพวกคาร์บามาซีปีน และผู้ป่วยที่มีอะดริโอเวนตริคูล่าบล็อค Ref. Link : http://thairx.com/dmdrug.asp?did=tgtcr1 |