จำนวนบทความของคำ "โรคใหลตาย" : 4 โรคใหลตาย เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (1) |
![]() | Word Info ID : 5800 Word INFO : ใหลตาย หมายถึง โรค หรือ ความผิดปกติที่ทำให้ผู้ที่ยังแข็งแรงดีอยู่ เกิดเสียชีวิตปัจจุบันทันด่วน โดยไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยเหล่านี้มักจะแข็งแรงดีมาก่อน เมื่อเข้านอนหลับไปสักครู่ เกิดอาการ ผิดปกติ เกร็ง กระตุก น้ำลายฟูมปาก และเสียชีวิตต่อมา ภาษาอังกฤษเรียก Sudden Unexplained /Unexpected Death Syndrome หรือ SUDS ที่ฮือฮามากเพราะมีคนไทย (ส่วนมากเป็นคนงาน ภาคอีสาน) ไปเกิดอาการ"ใหลตาย" เสียชีวิตในต่างประเทศหลายสิบราย เป็นจุดกระตุ้นให้เกิดการ ค้นคว้าวิจัยอย่างมาก เพื่อจะได้ทราบสาเหตุ การรักษา และ การป้องกัน Ref. Link : http://www.thaihealth.net/h/encyclopedia-16.html |
![]() | สาเหตุของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 5801 Word INFO : ใหลตาย เกิดจากอะไร สาเหตุการตายในผู้ป่วยใหลตายเกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง (ชนิด Ventricular Fibrillation) อันนี้ยืนยันจากผู้ที่รอดชีวิต (มารพ.ทัน) และ ผู้ป่วยที่ได้จากการวิจัย แต่ทำไม จึงเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรงขึ้น ทั้งๆที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ ตรงนี้ยังมืดมนอยู่ มีคำถามมากมายเกี่ยวกับเรื่อง"ใหลตาย" เช่น ทำไมพบบ่อยๆในคนภาคอีสาน (ความจริงภาคอื่นๆก็มี แต่น้อยมาก ไม่โดดเด่นเหมือนผู้ ที่มาจากอีสาน) ทำไมพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ทำไมอายุที่เป็นจึงเกิดในวัยทำงาน ทำไมเกิดในผู้ที่เศรษฐานะไม่ดีนัก อาหาร และ การประกอบอาหารเกี่ยวข้องหรือไม่ เชื้อชาติ เกี่ยวข้องไหม เพราะมีรายงานในคนลาว เวียดนาม เช่นกัน ทำไมพี่เป็น แล้ว น้องมักจะเป็นตาม หรือกลับกัน คำถามเหล่านี้ล้วนยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน มีการวิจัยมากมายที่เกี่ยวข้อง แต่ก็ยังไม่มีข้อสรุป เป็นข้อใดข้อหนึ่งว่า"ใหลตาย"เกิดจากอะไร สิ่งที่คาดว่าเกี่ยวข้องด้วย คือ 1. สารโปแตสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากพันธุกรรม อาหาร ยาหรือสารที่ใช้ สารโปแตสเซียมนี้มีความสำคัญต่อการนำไฟฟ้าในหัวใจ หากต่ำไป หรือ สูงไป ทำให้การนำไฟฟ้าหัวใจ ผิดปกติ เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะและเสียชีวิตต่อมา แต่ผู้ป่วย"ใหลตาย"ก็ไม่ได้มีสารนี้ต่ำทุกราย 2.มีความผิดปกติของหัวใจอยู่ก่อนแล้วแต่ไม่ทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดปกติในระบบ ไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งไม่แสดงอาการออกมา วันหนึ่งเกิดมีการกระตุ้นผิดปกติจากอะไรก็ตาม ทำให้เกิดการ เต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรงขึ้น ข้อนี้มีเหตุผลน่าเชื่อมาก สิ่งที่กระตุ้นอาจเป็นภาวะโปแตสเซียมต่ำก็ได้ หรืออย่างอื่นก็ได้ ที่ว่ามีเหตุผลเพราะบางรายมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติเล็กน้อย และ ประวัติครอบครัว พี่น้องเสียชีวิตจากโรคนี้ ทำให้คิดว่าความผิดปกติของระบบไฟฟ้าหัวใจนี้คงถ่ายทอดทางพันธุกรรม Ref. Link : http://www.thaihealth.net/h/encyclopedia-16.html |
![]() | วิธีการรักษา (1) |
![]() | Word Info ID : 5802 Word INFO : รักษาอย่างไร จะเห็นว่าเรายังไม่ทราบสาเหตุของ "ใหลตาย" ชัดเจน ดังนั้น จึงไม่มีการรักษา หรือ พูดอีกแบบว่า "รักษาไม่ได้" แต่จากการที่เราทราบว่าการเสียชีวิตเกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติร้ายแรง ดังนั้น เรา สามารถป้องกันการเสียชีวิตได้ โดยแก้ตรงนี้แทน ปัจจุบันแพทย์จะฝัง เครื่องกระตุกหัวใจ (Implantable Cardioverter Defibrillator, ICD) ไว้ที่หัวใจ เมื่อเกิดการเต้นผิดจังหวะชนิด ร้ายแรงขึ้น เครื่องจะปล่อยกระแส ไฟฟ้าขนาดที่เหมาะสมออกไปกระตุก หรือ กระตุ้นหัวใจ ให้กลับมา เต้นตามปกติ อย่างไรก็ตาม เครื่องนี้ราคาแพงมาก (ประมาณ 1 ล้านบาท แต่ได้ข่าวว่าราคาเริ่มลงแล้ว แต่อย่างต่ำก็ 5 แสนบาท) ดังนั้นแพทย์จะพิจารณาใส่ให้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อ "ใหลตาย" สูงมาก เช่น เคยเป็นมาก่อนแต่ โชคดีรอดชีวิต ประวัติครอบครัวเป็น และ ได้รับการตรวจพบว่าหัวใจไวต่อการ เกิดการเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น Ref. Link : http://www.thaihealth.net/h/encyclopedia-16.html |
![]() | อื่นๆ (1) |
![]() | Word Info ID : 5803 Word INFO : ใครมีโอกาสเป็นบ้าง ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค"ใหลตาย"มากที่สุด คือ ผู้ที่มีญาติใกล้ชิด สายตรง เช่น พี่ น้อง เสียชีวิตจาก "ใหลตาย" เนื่องจากพบความสัมพันธ์นี้ค่อนข้างมาก บางครอบครัวมีญาติใกล้ชิดเสียชีวิตในลักษณะ เดียวกันหลายๆคน จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไหม การตรวจร่างกายธรรมดา หรือ การตรวจเลือด หรือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ อะไรก็ตาม ไม่สามารถบอกชัดเจนว่ารายใดจะเกิด "ใหลตาย" ในอนาคต เพราะทุกอย่างอาจปกติทั้งหมด การตรวจที่อาจจะได้ประโยชน์บ้าง คือ การตรวจระบบไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiologic Study, EPS) ซึ่งยุ่งยากบ้าง แต่พอบอกได้ว่าหัวใจนั้นๆไวต่อการเกิดการเต้นผิดจังหวะร้ายแรงหรือไม่ ถ้าไม่ไว โอกาสจะเสียชีวิตจาก "ใหลตาย" ก็น่าจะน้อยลง แต่หากไวต่อการกระตุ้นโอกาสก็น่าจะ มากขึ้น ทำให้แพทย์หาทางป้องกันการเสียชีวิตไว้ล่วงหน้า Ref. Link : http://www.thaihealth.net/h/encyclopedia-16.html |