จำนวนบทความของคำ "คลอรีน" : 5 คลอรีน เป็น ยาและสารเคมี |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | คำอธิบายเกี่ยวกับยา (1) |
![]() | Word Info ID : 4716 Word INFO : คลอรีน เป็นสารฆ่าเชื้อที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงเพาะฟัก โดยใช้ฆ่าเชื้อโรคในน้ำที่จะนำมาเพาะฟักลูกกุ้งและใช้ทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์ และทำความสะอาดบ่อในโรงเพาะฟัก Ref. Link : http://www.guppy-fish.com/forums/index.php?topic=48.msg544 |
![]() | ลักษณะของยา (1) |
![]() | Word Info ID : 4721 Word INFO : คลอรีนที่ใช้ทั่วไปอยู่ในรูปของสารประกอบเป็นผงสีขาวมีสูตรทางเคมี Ca(ocl)2 (แคลเซี่ยมไฮโปคลอไรด์) หรืออาจอยู่ในรูปของคลอรอกซ์ซึ่งเป็นน้ำยาฟอกสีหรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์มีสูตรเป็น NaOCI คลอรีนเป็นสารออกซิไดซ์สามารถทำปฏิกิริยากับสารรีดิวซ์ทุกชนิดที่อยู่ในน้ำมีความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำค่อนข้างสูง นอกจากใช้กำจัดเชื้อจุลินทรีย์และพยาธิต่างๆแล้วยังเป็นสารที่ช่วยกำจัดแพลงก์ตอนในน้ำและช่วยในการตกตะกอนอินทรีย์วัตถุรวมทั้งแพลงก์ตอนต่างๆที่ปะปนอยู่ในน้ำคุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งคือ ช่วยในการออกซิไดซ์พวกโลหะและสารพิษต่างๆที่ละลายอยู่ในน้ำทำให้พิษ ลดน้อยลง Ref. Link : http://www.guppy-fish.com/forums/index.php?topic=48.msg544 |
![]() | ขนาดและวิธีใช้ (1) |
![]() | Word Info ID : 4722 Word INFO : วิธีใช้ การใช้คลอรีนผงแคลเซียมหรือโซเดียมไฮโปคลอไรด์เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำจะใช้ในอัตรา 6-20 กรัมต่อน้ำ 1 ตัน ถ้าเป็นคลอรอกซ์หรือน้ำยาฟอกสีใช้ในปริมาณ 36-120 มล/ตัน เมื่อใส่คลอรีนไปแล้วก่อนที่จะนำน้ำไปใช้ต้องใส่เครื่องเป่าอากาศทิ้งไว้ประมาณ 3-4 วันเพื่อให้คลอรีนสลายตัวจนหมด วิธีเร่งการสลายตัว ถ้าไม่แน่ใจว่าการสลายตัวของคลอรีนจะหมดอย่างสมบูรณ์หรือไม่ให้ใช้โซเดียมไทโฮซัลเฟต (Na2H2O35H2O) ใส่ลงไปในน้ำด้วยอัตรา 1 กรัม/ตันเพื่อช่วยกำจัดคลอรีนที่เหลืออยู่ให้หมดไป วิธีทดสอบการตกค้าง วิธีทดสอบการตกค้างของคลอรีนในน้ำ ทำได้โดยใส่โปแตสเซียมไอโอไดด์ 2-3 เกล็ด ถ้าน้ำยังมีสีน้ำตาลคงอยู่แสดงว่ายังมีสารคลอรีนเหลืออยู่ Ref. Link : http://www.guppy-fish.com/forums/index.php?topic=48.msg544 |
![]() | ข้อควรระวัง (2) |
![]() | Word Info ID : 4719 Word INFO : แต่การใช้คลอรีนจะต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะโอกาสที่จะเป็นอันตรายต่อกุ้งมีมาก หากยังมีคลอรีนหลงเหลืออยู่ในน้ำ (การใช้คลอรีนจะต้องเตรียมน้ำทิ้งไว้ประมาณ 24 ชั่วโมง จนกระทั่งคลอรีนสลายตัวหมดจึงจะสามารถนำน้ำนั้นมาใช้ได้) และคลอรีนยังก่อให้เกิดอาการระคายเคืองสูงจึงอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้ Ref. Link : http://www.guppy-fish.com/forums/index.php?topic=48.msg544 |
![]() | Word Info ID : 4725 Word INFO : ข้อควรระวัง 1. เนื่องจากคลอรีนเป็นสารออกซิไดซ์ที่ทำปฏิกิริยากับสารรีดิวซ์ทุกชนิดที่อยู่ในน้ำ ดังนั้นในน้ำที่มีสารอินทรีย์หรือสารรีดิวซ์อื่นๆเจือปนอยู่สูง จะต้องเพิ่มอัตราการใช้คลอรีนให้สูงขึ้นตามลำดับ 2. คลอรีนมีความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำค่อนข้างสูง ดังนั้นเมื่อมีการใช้คลอรีนในการเตรียมน้ำต้องแน่ใจว่าคลอรีนได้สลายตัวไปหมดแล้วโดยการทดสอบการตกค้างด้วยวิธีข้างต้นเพื่อป้องกันอาการเครียดหรืออาจถึงตายของสัตว์น้ำ 3. การใช้คลอรีนฆ่าเชื้อในน้ำที่มีแอมโมเนียละลายอยู่คลอรีนอิสระจะไปรวมตัวกับแอมโมเนียกลายเป็นคอมไบน์คลอรีน ซึ่งมีฤทธิ์ต่ำลงกว่าเดิมและการสลายตัวก็จะช้าลงด้วย 4. การใช้คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อในน้ำที่มีแพลงก์ตอนและสารอินทรีย์อยู่ในปริมาณสูง หลังจากการใส่คลอรีนฆ่าเชื้อแล้วสารอินทรีย์และแพลงก์ตอนในบ่อจะตายและตกตะกอนลงไปก้นบ่อ จึงควรรีบสูบน้ำส่วนที่ใสออกไปสู่บ่ออื่นทันทีก่อนที่ซากแพลงก์ตอนและอินทรีย์สารจะเน่าจนมีแก๊สพิษเกิดขึ้น Ref. Link : http://www.guppy-fish.com/forums/index.php?topic=48.msg544 |