จำนวนบทความของคำ "มะเร็งต่อมลูกหมาก" : 30 มะเร็งต่อมลูกหมาก เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (3) |
![]() | Word Info ID : 4173 Word INFO : ท่านผู้ชายจะไม่มีอาการของต่อมลูกหมากจนกระทั่งอายุย่างเข้า 40 ปีโดยเฉพาะเมื่ออายุ 60 ปีจะเริ่มมีปัญหาทางต่อมลูกหมากเช่นมะเร็งต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากโต ต่อมลูกหมากอักเสบ การตรวจต่อมลูกหมากประจำปีจะช่วยให้การวินิจฉัยโรคได้เร็วขึ้น ความสำคัญของต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะหนึ่งของระบบสืบพันธ์ของผู้ชาย อยู่บริเวณใต้ต่อกระเพาะปัสสาวะหน้าต่อลำไส้ใหญ่ ต่อมลูกหมากจะอยู่รอบท่อปัสสาวะ ขนาดของต่อมลูกหมากเท่ากับ walnut ต่อมลูกหมากประกอบด้วยกล้ามเนื้อและต่อมผลิตน้ำหล่อเลี้ยงเชื้ออสุจิที่เรียก semen ต่อมลูกหมากจะต้องได้รับการหล่อเลี้ยงจากฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า testosterone ซึ่งสร้างมาจากอัณฑะ Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/index.htm |
![]() | Word Info ID : 9454 Word INFO : มะเร็งต่อมลูกหมากเกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมากที่ผิดปกติ ทำให้ต่อมลูกหมากโตขึ้นอาจพบได้ในชายที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป แต่พบมากขึ้นในคนขึ้นในคนที่อายุเลย 60 ปี สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่ก็คาดว่าอาหารอาจ มีส่วนให้เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะอาหารพวกที่มีไขมันสัตว์นอกจากนั้น ยังอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์อีกด้วย พบว่าประเทศที่มีประชากรบริโภคอาหารที่มีไขมัน และโปรตีนจากเนื้อสัตว์สูงมักมีโรคนี้เกิดขึ้นมาก เช่น ประเทศอเมริกาและยุโรป เป็นต้น อุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมลูกหมากในประเทศเหล่านี้จะสูงมากรวมทั้งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ เช่นกันสำหรับในประเทศไทย มะเร็งต่อมลูกหมากพบเป็นอันดับที่ 10* ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอายุระหว่าง 60-79 ปี และมาพบแพทย์ในระยะที่เลยการรักษาให้หายขาดได้ เป็นส่วนมาก Ref. Link : http://www.md.chula.ac.th/th/public/medinfo/prostate_cancer/prostat... |
![]() | Word Info ID : 9960 Word INFO : "ต่อมลูกหมาก" เป็นชื่อที่ได้ยินและเรียกขานกันเป็นประจำนั้น หลายท่านที่สงสัยและยังไม่เข้าถึงลักษณะ หน้าที่ และโรคที่เกิดกับต่อมนี้ดีนัก ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมสร้างน้ำเลี้ยงเชื้อในผู้ชาย อยู่ในตำแหน่งโดยรอบหลอดปัสสาวะส่วนต้นขอผู้ชาย หรืออยู่ใต้หัวเหน่า บริเวณโคนอวัยวะเพศนั่นเอง หน้าที่สำคัญของต่อมคือ สร้างสารเคมีและอาหารสำคัญบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของตัวเสปอร์มในผู้ชาย ทั้งยังเชื่อว่าเป็นตัวกระตุ้นการเกิดลักษณะทางเพศของผู้ชาย (Secondary sex characteristics) เช่น มีขน เสียงเหมือนผู้ชายทั่ว ๆ ไป ต้องเข้าใจแต่เนิ่น ๆ ก่อนว่าต่อมนี้ไม่ได้เป็นตัวสร้างเสปอร์มเอง ตัวเสปอร์มนั้นจะมีกำเนิดมาจากเซลล์ของลูกอัณฑะเท่านั้น ต่อมลูกหมากจะโตขึ้นตามวัย และโตมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งจะพบว่าต่อมลูกหมากที่โตขึ้นนี้จะเริ่มอุดตันหลอดปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะลำบาก และการอุดตันทำให้ปัสสาวะคั้งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะมากกว่าปกติ จะสังเกตได้ว่ามักจะเกิดในผู้ชายวัยเกิน 60 ปีขึ้นไป ซึ่งถ้าปล่อยละเลยอาจโตมากจนปัสสาวะไม่ออก นับว่าเป็นอันตรายต่อผู้อาวุโสเหล่านั้นได้ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=125 |
![]() | สาเหตุของโรค (4) |
![]() | Word Info ID : 4175 Word INFO : อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ยังไม่พบหลักฐานว่าการทำหมันชายทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมากขึ้นขณะนี้กำลังศึกษาว่า ต่อมลูกหมากโต คนอ้วน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเจอรังสี การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เท่าที่มีหลักฐานยังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.htm |
![]() | Word Info ID : 4653 Word INFO : สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากยังไม่มีใครทราบ แต่เท่าที่วิจัยได้พบว่าความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้แก่ 1) อายุ มะเร็งต่อมลูกหมากพบในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50ปีขึ้นไป อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี 2) ประวัติครอบครัว พบว่าชายที่มีพ่อ หรือพี่น้องเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนทั่วไป 3) เชื้อชาติ พบไม่บ่อยในชาวเอเชียแต่พบบ่อยในอเมริกา 4) อาหาร พบว่าผู้ที่บริโภคมันจากสัตว์มากมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ส่วนผู้ที่บริโภคผักและผลไม้จะลดโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากผู้ที่สูบบุหรี่ก็มีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ยังไม่พบหลักฐานว่าการทำหมันชายทำให้มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมากขึ้นขณะนี้กำลังศึกษาว่า ต่อมลูกหมากโต คนอ้วน การขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเจอรังสี การติดเชื้อไวรัสบางชนิดเป็นสาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ เท่าที่มีหลักฐานยังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.htm |
![]() | Word Info ID : 9961 Word INFO : การเกิดมะเร็งของต่อมลูกหมากนั้นเกิดจากเซลล์ของตัวต่อมลูกหมากนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ผิดปกติ กล่าวคือ มีการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์เหล่านี้อย่างรวดเร็ว และมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้การอุดตันหลอดปัสสาวะ หรือมีการทำลายเซลล์ปกติของต่อมลูกหมากอย่างมากมาย ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นเซลล์ที่โตและเบ่งตัวอย่างรวดเร็วนี้จะแทรกหรือเคลื่อนย้ายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ ข้างเคียงหรือแม้กระทั่งอวัยวะสำคัญ ๆ ของร่างกาย เช่น ไต ตับ ปอด หรือกระดูก ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหาย และถูกทำลายไปในที่สุด ซึ่งเมื่อถึงระยะนั้นแล้วผู้ป่วยก็จะถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุการเกิดมะเร็งที่แท้จริงไม่มีใครทราบ ได้มีผู้พยายามค้นคว้ามากมาย แต่ยังหาข้อสรุปที่แน่นอนไม่ได้ เพียงสันนิษฐานการเกิดขึ้นต่าง ๆ นาๆ หลายคนเชื่อว่าฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone หรือ androgen) จะเป็นตัวเหตุสำคัญที่ทำให้เซลล์มะเร็งของต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้น มะเร็งของต่อมลูกหมากเป็นโรคที่พบได้อยู่เสมอในผู้สูงอายุ ส่วนมากจะเกิน 60 ปี ขึ้นไป แต่มะเร็งชนิดนี้อาจจะพบได้เป็นระยะ ๆ ในผู้ป่วยอายุน้อยลงกว่านั้น แต่มักพบเกิน 40 ขึ้นไป ในประเทศอเมริกา ได้รวบรวมพบว่าผู้ป่วยเป็นสูงถึง 17 เปอร์เซนต์ของมะเร็งในผู้ชาย ซึ่งจัดเป็นอันดับที่สามรองลงมาจากมะเร็งปอด และของลำไส้ในผู้ชายวัยประมาณ 55 ปี Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=125 |
![]() | Word Info ID : 9965 Word INFO : มะเร็งต่อมลูกหมาก เกิดจากการแบ่งตัวของเซลล์ต่อมลูกหมากที่ผิดปกติ ทำให้ต่อมลูกหมากโตขึ้น โดยทั่วไปพบได้ในชายที่มีอายุเลย 60 ปี สาเหตุของมะเร็งต่อมลูกหมากที่แท้จริงยังไม่มีใครทราบ แต่ก็คาดว่าอาหารอาจจะมีส่วนเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมันสัตว์ นอกจากนั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ด้วย พบว่าประเทศที่มีประชากรบริโภคอาหารที่มีไขมันและโปรตีนจากเนื้อสัตว์สูง มักมีอุบัติการณ์ของโรคนี้มาก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรป เป็นต้น อุบัติการณ์ของมะเร็งต่อมลูกหมาก ในประเทศเหล่านี้จะสูง รวมทั้งเป็นสาเหตุการตายลำดับต้น ๆ เช่นกัน แต่สำหรับในประเทศไทยมะเร็งต่อมลูกหมากพบเป็นอันดับที่ 10 ผู้ป่วย ส่วนใหญ่มักมีอายุระหว่าง 60-79 ปี มักมาพบแพทย์ในระยะที่เป็นมาก ไม่สามารถให้การรักษาให้หายขาดได้เป็นส่วนใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมากในระยะท้าย ๆ ได้รับความทรมานจากโรคมาก ดังนั้นในบทความนี้จุดมุ่งหมายที่นอกเหนือจากการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของมะเร็งต่อมลูกหมากแล้ว ที่สำคัญกว่านั้น คือความหวังว่าชายสูงอายุ ควรจะได้รับการตรวจเช็คมะเร็งต่อมลูกหมากประจำปีโดยสม่ำเสมอ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=247 |
![]() | อาการของโรค (5) |
![]() | Word Info ID : 4182 Word INFO : มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้ ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก ปัสสาวะไม่พุ่ง เวลาปัสสาวะจะปวด อวัยวะเพศแข็งตัวยาก เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ ปวดหลังปวดข้อ อาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบ การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.htm |
![]() | Word Info ID : 4663 Word INFO : มะเร็งต่อมลูกหมากแรกเริ่มจะไม่มีอาการ แต่หากมีอาการจะเกิดอาการเหล่านี้ 1) ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะเวลากลางคืน 2) เวลาเริ่มปัสสาวะจะลำบาก 3) ปัสสาวะไม่พุ่ง 4) เวลาปัสสาวะจะปวด 5) อวัยวะเพศแข็งตัวยาก 6) เวลาหลั่งเมื่อถึงจุดสุดยอดจะปวด 7) มีเลือดในน้ำเชื้อหรือปัสสาวะ 8) ปวดหลังปวดข้อ อาการต่างๆเหล่านี้อาจจะเกิดในผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตหรือต่อมลูกหมากอักเสบ ระยะของโรค --> การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยังอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมากโดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทางทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น Reccurent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.htm |
![]() | Word Info ID : 9455 Word INFO : ลักษณะอาการของโรค ในระยะแรกที่มะเร็งเริ่มเกิดมักไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ ต่อเมื่อมะเร็งเจริญเติบโตขึ้นใหญ่ขึ้น ก็ทำให้เกิดการกดและเบียดท่อ ปัสสาวะส่วนต้น ทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ ในระยะนี้ผู้ป่วยเริ่มจะมีการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติต่อมาเริ่มปัสสาวะ ลำบากขึ้น ต้องเบ่งมากขึ้น บางคนปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะเป็นเลือด หรืออาจมีการติดเชื้อ ในทางเดินปัสสาวะบางคนอาจมีอาการเจ็บปวดเมื่อมี การหลั่งน้ำอสุจิในขณะร่วมเพศ ในระยะหลังๆ ของโรค มะเร็งจะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง,กระดูก อวัยวะใกล้เคียง ทำให้เกิดอาการปวด กระดูกสันหลัง กระดูกเชิงกราน ปวดหลัง และข้อสะโพก อ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และบางรายอาจเดินไม่ได้ เป็นอัมพาต Ref. Link : http://www.md.chula.ac.th/th/public/medinfo/prostate_cancer/prostat... |
![]() | Word Info ID : 9962 Word INFO : อาการของมะเร็งของต่อมลูกหมากนั้นเป็นปัญหา เพราะอาการจะเป็นคล้ายคลึงหรือแทรกอยู่ในอาการของผู้ป่วยที่เป็นต่อมลูกหมากโตธรรมดา ซึ่งทั้งผู้ป่วยและแพทย์เองมักจะเลยอาการเหล่านี้เสีย บางคนคิดอยู่เสมอว่าเป็นโรคธรรมดาของคนแก่ แล้วก็ไม่คิดที่จะติดต่อหรือปรึกษาแพทย์ของตน ดังนั้นมะเร็งชนิดนี้มักจะตรวจพบเมื่อเป็นมาก หรือมีการลุกลามไปสู่อวัยวะที่สำคัญ ๆ ของร่างกายดังกล่าวมาแต่ต้น ทำให้อัตราการตายของโรคนี้ยังสูงอยู่ แต่ถ้าผู้ป่วยได้สนใจอาการที่ผิดปกติอย่างรวดเร็ว เช่น ปัสสาวะลำบากเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ หรือมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดกระดูก เลือดจาง (ซีด) กว่าปกติมาก หรือปัสสาวะขุ่นอาจมีเลือดเจือปน แล้วได้ปรึกษาแพทย์แต่ระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะมีโอกาสดีขึ้น โดยเฉพาะในวิวัฒนาการทางการแพทย์ปัจจุบัน เรามีโอกาสได้รับตรวจด้วยเครื่องมือ หรือวิธีการที่สามารถสืบทราบได้รวดเร็วและผลแน่นอน ทำให้การรักษาได้แต่ระยะแรก ๆ ของโรค ซึ่งทุกท่านย่อมทราบดีว่ามะเร็งทุกชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าเราพบ และได้รับการรักษาแต่ในระยะแรก Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=125 |
![]() | Word Info ID : 9966 Word INFO : ลักษณะอาการของโรค ในมะเร็งระยะแรกมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการใด ๆ ต่อเมื่อมะเร็งเจริญเติบโตขึ้นและลุกลามทำให้เกิดการกดเบียดท่อปัสสาวะส่วนต้น ทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ ในระยะนี้ ผู้ป่วยเริ่มจะมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ ต่อมาเริ่มปัสสาวะลำบากมากขึ้น ต้องเบ่งมากขึ้น อาการของโรคบางครั้งคล้ายกับโรคต่อมลูกหมากโต ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยบางรายมักจะมีการนอนใจไม่มาตรวจรักษา เมื่ออาการมากขึ้นบางครั้งอาจจะทำให้ปัสสาวะไม่ออก อาจจะทำให้มีปัสสาวะเป็นเลือดหรือมีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีการหลั่งน้ำอสุจิในขณะร่วมเพศ และอาจจะพบเลือดปนกับน้ำอสุจิออกมาได้ เมื่อมะเร็งมี การลุกลามมากขึ้นก็จะมีการแพร่กระจาย ซึ่งมะเร็งต่อมลูกหมากมักจะแพร่กระจายไปยัง ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในบริเวณอุ้งเชิงกรานซึ่งถ้าเป็นมากก็จะทำให้มีการอุดกั้นทางเดินของน้ำเหลืองทำให้เกิดการบวมของขาทั้งสองข้างได้ นอกจากนี้ มะเร็งยังชอบแพร่กระจายไปที่กระดูก โดยมักไปที่บริเวณกระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว และสะโพกก่อให้เกิดการปวดกระดูกสันหลัง และกระดูกเชิงกรานได้ ในผู้ป่วยบางราย มะเร็งกินที่กระดูกสันหลังอย่างมกา เกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลัง และเป็นเหตุให้มีการกดของเส้นประสาทไขสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายอย่างยิ่ง สามารถทำให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาตเดินไม่ได้ ในระยะท้าย ๆ ของมะเร็งต่อมลูกหมาก ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ซีด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นระยะที่ทรมานมากทั้งผู้ป่วยและญาติผู้เกี่ยวข้อง Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=247 |
![]() | สิ่งที่ตรวจพบ (4) |
![]() | Word Info ID : 4196 Word INFO : เมื่อสงสัยเป็นมะเร็งแพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิถ้าเป็นต่อมลูกหมากโตก็จะรักษาตามขั้นตอน Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.htm |
![]() | Word Info ID : 4205 Word INFO : แพทย์จะตรวจต่อมลูกหมากอาจจะเป็นท่านอนตะแคงหรือยืนก้มแพทย์จะใช้นิ้วสอดเข้าไปทางก้นแล้วตรวจต่อมลูกหมาก ถ้าพบก้อนหรือต่อมลูกหมากโตแพทย์จะส่งปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/index.htm |
![]() | Word Info ID : 9456 Word INFO : แนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรค โดยทั่วไปแล้วผู้ชายที่มีอายุ 50 ปี ขึ้นไปถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะใด ๆ ก็ควรจะไปรับการตรวจเช็คต่อมลูกหมาก จากแพทย์ อย่างน้อยปีละครั้งเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมาก ในระยะแรก ๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยทั่วไปแพทย์จะทำการตรวจ ต่อมลูกหมากดังต่อไปนี้ 1. การตรวจทางทวารหนัก (Digital Rectal Examination) แพทย์จะทำการตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้นิ้วสอดเข้าไปทางรูทวารหนัก เพื่อตรวจคลำขนาดรูปร่างและความยืดหยุ่นของต่อม ลูกหมาก มักใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที หากเป็นมะเร็งมักคลำได้ก้อนแข็ง 2. การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) สารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือดที่สำคัญ คือ พี เอส เอ (Prostate Specific Antigen, PSA) สารชนิดนี้จะถูกผลิตออกมามาก กว่าปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงสามารถวัดค่าได้โดยการเจาะเลือด 3. การตรวจอัลตราซาวน์ของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (Transrectal Prostatic Ultrasound) เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียง โดยแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจหาต่อมลูกหมาก หากเป็นมะเร็ง สามารถ เห็นได้ 4. การตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) เมื่อแพทย์ตรวจพบก้อนเนื้อที่สงสัยเพื่อนำชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิวิทยาดูว่าเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะตัดชิ้นเนื้อของ ต่อมลูกหมากขณะที่ทำการตรวจต่อมลูกหมากด้วยอัลตราซาวนด์ Ref. Link : http://www.md.chula.ac.th/th/public/medinfo/prostate_cancer/prostat... |
![]() | Word Info ID : 9967 Word INFO : การตรวจวินิจฉัยโรค โดยทั่วไปแล้วผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ถึงแม้ไม่มีอาการผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ ใด ๆ ก็ควรจะไปรับการตรวจเช็คต่อมลูกหมากจากแพทย์อย่างน้อยปีละครั้ง ดังที่ได้กล่าวข้างต้นว่าเนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก ๆ ไม่มีอาการ แต่สามารถให้การรักษาให้หายขาดได้ถึงสามารถวินิจฉัยได้ โดยทั่วไปแพทย์จะทำการตรวจต่อมลูกหมากดังต่อไปนี้ 1. การตรวจทางทวารหนัก แพทย์จะทำการตรวจต่อมลูกหมากโดยใช้นิ้วสอดเข้าไปทาง รู ทวารหนักเพื่อตรวจคลำขนาด รูปร่าง และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก หากเป็นมะเร็งมักจะคลำได้ก้อนแข็ง 2. การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง การบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมากในเลือดที่สำคัญ คือ PSA (Prostate Specific Antigen) สารชนิดนี้จะถูกผลิตออกมามากกว่าปกติในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก PSA นี้สามารถวัดค่าได้โดยการเจาะเลือด 3. การตรวจ Ultrasound ของต่อมลูกหมากผ่านทางทวารหนัก (Transrectal ultrasound of the Prostate) เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ โดยแพทย์จะใช้เครื่องมืออัลตราซาวด์สอดเข้าทางทวารหนัก เพื่อตรวจดูลักษณะของต่อมลูกหมาก หรือทั่วไปจะใช้ในกรณีที่พบว่าค่า PSA ในเลือดมีขนาดสูงกว่าปกติและสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งของต่อมลูกหมาก 4. การตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy) จะทำในกรณีที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากโดยการ ตรวจพบค่า PSA ในเลือดสูงขึ้น หรือตรวจคลำ พบว่ามีลักษณะเป็นก้อนแข็งของ ต่อมลูกหมาก แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อของต่อมลูกหมากเพื่อไปตรวจทางพยาธิวิทยาดูว่าเป็นมะเร็งจริงหรือไม่ ซึ่งส่วนใหญ่จะตัดชิ้นต่อมลูกหมากขณะที่ทำการตรวจต่อมลูกหมากด้วยอัลตราซาวด์ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=247 |
![]() | โรคแทรกซ้อน (1) |
![]() | Word Info ID : 4220 Word INFO : ผลข้างเคียงของการรักษา การเฝ้ารอสังเกตอาการผลเสียคือทำให้เสียโอกาสในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก การผ่าตัด จะทำให้เจ็บปวดในระยะแรก และผู้ป่วยต้องคาสายสวนปัสสาวะ10วัน-3 สัปดาห์ การผ่าตัดอาจจะทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ และอาจจะเกิดกามตายด้าน นอกจากนี้จะไม่มีน้ำเชื้อเมื่อถึงจุดสุดยอด การฉายรังสีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียการผักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ก็ควรออกกำลังเท่าที่จะทำได้ การฉายรังสีอาจจะทำให้ผมร่วง และอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน การให้ฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหมือนชายวัยทองคือมีอาการกามตายด้าน ร้อนตามตัว Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.html |
![]() | วิธีการรักษา (8) |
![]() | Word Info ID : 4215 Word INFO : แพทย์จะเลือกวิธีรักษาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้ ระยะของโรคว่าแพร่กระจายหรือยัง ชนิดของมะเร็ง ประโยชน์ที่ได้จากการรักษา ผลข้างเคียงของการรักษาและการป้องกัน การรักษานี้มีผลต่อความรู้สึกทางเพศหรือไม่ มีผลต่อการปัสสาวะหรือไม่ หลังรักษามีปัญหาถ่ายเหลวหรือไม่ คุณภาพชีวิตหลังรักษา วิธีการรักษา การเฝ้ารอดูอาการ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา การผ่าตัด Prostatectomy เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งมีวิธีการทำผ่าตัดได้ 3 วิธี radical retropubic prostatectomy แพทย์จะผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องโดยตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลือง radical perineal prostatectomy แพทย์ผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณอัณฑะและทวารหนักโดยตัดต่อมลูกหมาก ส่วนต่อมน้ำเหลืองต้องตัดออกโดยผ่านทางหน้าท้อง transurethral resection of the prostate (TURP)เป็นการตักต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง ถ้าผลชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อมะเร็งแสดงว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายแล้ว Radiation therapy การให้รังสีรักษาเป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้วการให้รังสีรักษาอาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก implant radiationหรือ brachytherapy Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตการให้ฮอร์โมนจะใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้วหรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้ การตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย การใช้ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน testosterone เช่น leuprolide, goserelin, และ buserelin. ยาที่ป้องกันการออกฤทธิ์ของ androgen เช่น flutamide และ bicalutamide. ยาที่ป้องกันต่อมหมวกไตไม่ให้สร้างฮอร์โมน androgen เช่น ketoconazole and aminoglutethimide. Chemotherapy การให้เคมีบำบัดเป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมีซึ่งการรักษายังไม่ดีพบใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิหรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิต่อสู่กับเชื้อโรค cryotherapy เป็นการรักษาใหม่โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร liquid nitrogen เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมากใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัดผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.html |
![]() | Word Info ID : 4693 Word INFO : แพทย์จะเลือกวิธีรักษาโดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆดังนี้ 1) ระยะของโรคว่าแพร่กระจายหรือยัง 2) ชนิดของมะเร็ง 3) ประโยชน์ที่ได้จากการรักษา 4) ผลข้างเคียงของการรักษาและการป้องกัน 5) การรักษานี้มีผลต่อความรู้สึกทางเพศหรือไม่ มีผลต่อการปัสสาวะหรือไม่ หลังรักษามีปัญหาถ่ายเหลวหรือไม่ 6) คุณภาพชีวิตหลังรักษา วิธีการรักษา --> 1) การเฝ้ารอดูอาการ เหมาะสำหรับมะเร็งที่เริ่มเป็นและผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา 2) การผ่าตัด Prostatectomy เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มต้นซึ่งมีวิธีการทำผ่าตัดได้ 3 วิธี ได้แก่ 2.1 radical retropubic prostatectomy แพทย์จะผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องโดยตัดเอาต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลือง 2.2 radical perineal prostatectomy แพทย์ผ่าตัดผ่านทางผิวหนังบริเวณอัณฑะและทวารหนักโดยตัดต่อมลูกหมาก ส่วนต่อมน้ำเหลืองต้องตัดออกโดยผ่านทางหน้าท้อง 2.3 transurethral resection of the prostate (TURP)เป็นการตักต่อมลูกหมากโดยการส่องกล้องผ่านอวัยวะเพศเป็นการตัดชิ้นเนื้อเพื่อให้ปัสสาวะไหลคล่อง ถ้าผลชิ้นเนื้อต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อมะเร็งแสดงว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายแล้ว 3) Radiation therapy การให้รังสีรักษาเป็นการให้ในกรณีที่มะเร็งนั้นก้อนขนาดเล็กหรือให้หลังจากผ่าตัดต่อมลูกหมากไปแล้วการให้รังสีรักษาอาจจะให้โดยการฉายแสงจากภายนอกหรือการฝังวัตถุอาบรังสีไว้ใกล้เนื้องอก implant radiationหรือ brachytherapy 4) Hormonal therapy เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากต้องใช้ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตการให้ฮอร์โมนจะใช้ในกรณีที่มะเร็งได้แพร่กระจายแล้วหรือเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังการรักษาซึ่งมีวิธีการรักษาดังนี้ 4.1 การตัดลูกอัณฑะซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนเพศชาย 4.2 การใช้ยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน testosterone เช่น leuprolide, goserelin, และ buserelin. 4.3 ยาที่ป้องกันการออกฤทธิ์ของ androgen เช่น flutamide และ bicalutamide. 4.4 ยาที่ป้องกันต่อมหมวกไตไม่ให้สร้างฮอร์โมน androgen เช่น ketoconazole and aminoglutethimide. 5) Chemotherapy การให้เคมีบำบัดเป็นการฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการให้สารเคมีซึ่งการรักษายังไม่ดีพบใช้ในกรณีที่โรคแพร่กระจายแล้ว 6)ใช้สารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิหรือภูมิที่สร้างจากภายนอกเพื่อให้ภูมิต่อสู่กับเชื้อโรค 7) cryotherapy เป็นการรักษาใหม่โดยใช้เข็มสอดเข้าในต่อมลูกหมากแล้วฉีดสาร liquid nitrogen เพื่อแช่แข็งมะเร็งต่อมลูกหมากใช้ในกรณีที่ไม่เหมาะในการผ่าตัดผลการรักษายังไม่ยืนยันว่าได้ผลดี ผลข้างเคียงของการรักษา ได้แก่ 1) การเฝ้ารอสังเกตอาการผลเสียคือทำให้เสียโอกาสในการรักษามะเร็งในระยะเริ่มแรก 2) การผ่าตัด จะทำให้เจ็บปวดในระยะแรก และผู้ป่วยต้องคาสายสวนปัสสาวะ10วัน-3 สัปดาห์ การผ่าตัดอาจจะทำให้กลั้นปัสสาวะและอุจาระไม่ได้ และอาจจะเกิดกามตายด้าน นอกจากนี้จะไม่มีน้ำเชื้อเมื่อถึงจุดสุดยอด 3) การฉายรังสีจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียการผักผ่อนเป็นเรื่องที่สำคัญแต่ก็ควรออกกำลังเท่าที่จะทำได้ การฉายรังสีอาจจะทำให้ผมร่วง และอาจจะทำให้เกิดกามตายด้าน 4) การให้ฮอร์โมนจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเหมือนชายวัยทองคือมีอาการกามตายด้าน ร้อนตามตัว Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.htm |
![]() | Word Info ID : 9457 Word INFO : การรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชายซึ่งได้แก่เทศโตสเตอร์โรน (Testosterone) ซึ่งสร้างจาก ลูกอัณฑะ (Testis) และต่อมหมวกไต (Adrenal Gland) โดยฮอร์โมนเทศโตสเตอร์โรนจะไปกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของ เซลล์มะเร็ง ดังนั้นการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากจึงทำได้โดยการกำจัดและป้องกันไม่ให้เทสโตสเตอร์โรนไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งให้เจริญเติบโตได้ ซึ่งการ จะเลือกวิธีในการรักษาขึ้นกับระยะของโรคอายุผู้ป่วย และดุลยพินิจของแพทย์ โดยการรักษาแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสีย แตกต่างกันไป การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ในกรณีผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรกคือการที่มะเร็งยังไม่กระจายไปนอกต่อมลูกหมาก อาจทำการรักษาได้ 2 วิธี คือ 1. การผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด (Radical Prostatectomy) ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก ๆ สามารถรักษาหายขาดได้โดยการผ่าตัดวิธีนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดก็จะต้องคำนึง ถึงอายุของผู้ป่วยด้วย โดยปกติแพทย์จะทำการผ่าตัดโดยวิธีนี้ ในผู้ป่วยที่มีอายุไม่เกิน 65 ปี ซึ่งจะให้ผลการรักษาที่ดีมากถ้าผู้ป่วย อายุ มากกว่า 65 ปี แพทย์ก็จะใช้ดุลยพินิจในการเลือกวิธีรักษาให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ผลเสียของการผ่าตัดต่อมลูกหมากคือ ผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 จะสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศ (ImpoTINence) 2. การฉายรังสี (Radiation Therapy) ซึ่งทำโดยการฉายแสงเข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง แต่อาจทำให้เกิดผลเสีย คือ จะสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะ เพศอุจจาระบ่อย เกิดอาการระคายเคืองที่ทวารหนัก และปัสสาวะลำบาก การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลาม สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมากที่อยู่ในระยะ 3-4 หรือมีการกระจายไปแล้วนั้น ก็มีวิธีการรักษาได้หลายวิธี ที่นิยมกันก็คือการตัดเอา ลูกอัณฑะออกทั้งสองข้าง (Bilateral Orchidectomy) ซึ่งสามารถกำจัดเทสโตสเตอร์โรนส่วนที่สร้างจากลูกอัณฑะในคนไข้บางรายแพทย์ อาจจะให้ยาต้านแอนโดรเจน (Antiandrogen) ร่วมด้วย เพื่อยับยั้งเทสโตสเตอร์โรนส่วนที่สร้างจากต่อมหมวกไตซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้ เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ การปฏิบัติตนหลังจากที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง โดยทั่วไป หลังจากที่แพทย์ได้ทำการรักษาผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จะด้วยวิธีไหนก็ตาม จะนัดผู้ป่วยมาตรวจเป็นระยะ ๆ เพื่อ ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วย โดยการนัดตรวจแต่ละครั้ง แพทย์จะทำการซักถามอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยและทำการเจาะเลือดหาระดับ PSA เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของระดับ PSA ถ้าระดับ PSA ลดลงจนกลับสู่ค่าปกติ ก็แสดงว่าอาจมีการกำเริบของโรคอีกได้ดังนี้ผู้ป่วยจึง ควรมารับการตรวจทุกครั้งที่แพทย์นัด นอกจากนี้ ผู้ป่วยควรรับประทานยาและปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เมื่อมีข้อสงสัยหรือเกิดอาการข้างเคียง จากการรับประทานยาใด ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาโดยทันทีอย่าพยายามเปลี่ยนแพทย์ เพราะจะทำให้ผลการรักษาไม่ต่อ เนื่อง Ref. Link : http://www.md.chula.ac.th/th/public/medinfo/prostate_cancer/prostat... |
![]() | Word Info ID : 9964 Word INFO : การรักษามะเร็งของต่อมลูกหมากนั้น จำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดเป็นหลัก โดยเฉพาะตัดแหล่งกำเนิดของมะเร็ง และแหล่งกำเนิดของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องในปัจจุบันนี้ ได้มีวิธีการรักษามะเร็งชนิดนี้มากมาย นอกจากการผ่าตัดแล้วยังมีการรักษาด้วยยา ซึ่งได้มีความก้าวหน้าและผลดีขึ้นเรื่อย ๆ การใช้รังสีรักษาก็ยังมีความจำเป็นอยู่เสมอ Ref. Link : การรักษามะเร็งของต่อมลูกหมากนั้น จำเป็นต้องอาศัยการผ่าตัดเป็นหลัก โ... |
![]() | Word Info ID : 9968 Word INFO : เพื่อจะให้ทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย แบ่งการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากออกเป็น 2 ระยะ คือ 1. ในระยะแรก 2. ในระยะที่มะเร็งมีการลุกลามออกนอกต่อมลูกหมากไปแล้ว Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=248 |
![]() | Word Info ID : 9969 Word INFO : การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ในกลุ่มนี้มะเร็งจะมีขนาดไม่โตมาก และจะยังอยู่ในต่อมลูกหมาก ไม่กระจายออกไปนอกต่อมลูกหมาก การรักษาจะมุ่งหวังเพื่อรักษาให้หายขาด ซึ่งอาจทำการรักษาได้ 2 วิธีคือ 1. การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออกทั้งหมด (Radical Prostatectomy) ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรก ๆ สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการผ่าตัดวิธีนี้ แต่อย่างไรก็ตามการผาตัดก็จะต้องคำนึงถึงอายุและสภาพความแข็งแรงของผู้ป่วยอีกด้วย โดยปกติแพทย์จะทำการผ่าตัดโดยวิธีนี้ในผู้ป่วยที่มีอายุไม่เกิน 70 ปี ซึ่งจะให้ผลการรักษาที่ดีมาก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป แพทย์จะต้องใช้ดุลยพินิจในการเลือกวิธีกรรักษาให้เหมาะสมกับวัยและสภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย ผลเสียของการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด คือ พบว่าผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 80 จะสูญเสียสมรรถภาพทางเพศหลังผ่าตัด ซึ่งโดยทั่วไปมักจะไม่ใช่ปัญหาของผู้ป่วยในประเทศไทย เนื่องจากผู้ป่วยมักจะมีอายุมาก และประเทศไทยเป็นเมืองพุทธผู้ป่วยโดยทั่วไป มักจะสามารถข่มใจใช้หลักทางพระพุทธศาสนาเข้ามาช่วยบำบัดได้ อีกปัญหาหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หลังจากการผ่าตัด โดยทั่วไปมักจะพบใน 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด ซึ่งหลังจากนั้นอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ก็จะค่อย ๆ น้อยลง หรือหมดไปได้ นอกจากนี้ผลเสียที่จะต้องคำนึงอีกก็คือ เนื่องจากวาการผ่าตัดต่อมลูกหากออกโดยทั้งหมด เป็นการผ่าตัดใหญ่จำเป็นต้องมีการวางยาสลบและก็จะมีการเสียเลือดได้ในจำนวนหนึ่งจึงจำเป็นจะต้องระวังในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป หรือมีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง ปัจจุบันการผ่าตัดต่อมลูกหมากออกทั้งหมด สามารถทำได้ได้โดยการผ่าตัดเปิดหรือผ่าตัดโดยการส่องกล้องผ่านหน้าท้อง ซึ่งปัจจุบันนิยมมากขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยจะเจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวไว ในขณะที่ผลของการควบคุมมะเร็งไม่แตกต่างจากการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง 2. การใช้รังสีรักษา (Radiation therapy) การรักษาโดยการใช้รังสีรักษามีได้ 2 แบบ 2.1 การฉายแสงรังสีภายนอก (External Beam Radio Therapy) ทำได้โดยการฉายแสงเข้าไปยังตำแหน่งที่เกิดมะเร็ง ซึ่งในประเทศอเมริกาและยุโรปที่มีเครื่องมือในการฉายรังสีที่ทันสมัย และมีแพทย์ที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการฉายรังสีรักษามะเร็งต่อมลูกหมากออกทั้งหมด การรักษาโดยการฉายรังสีนี้มีข้อดี เมื่อเทียบกับการผ่าตัดคือ จะสามารถลดอันตรายจากการผ่าตัด โดยทั่วไปคือการ ดมยาสลบ และการสูญเสียเลือด แต่ข้อเสียซึ่งอาจจะเกิดขึ้นมาก็คือ จะสูญเสียความสามารถในการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้, ปัญหาการอักเสบของอวัยวะใกล้เคียงต่อมลูกหมากตามมาได้ในระยะหลัง เช่น การอักเสบของกระเพาะปัสสาวะจากการฉายแสง, การอักเสบของทวารหนักจากการฉายแสง เป็นต้น ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้ป่วยอาจจะมีการปัสสาวะบ่อย อาจจะกลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้ หรืออาจจะมีอาการปัสสาวะเป็นเลือด ผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการอุจจาระเป็นเลือดหรืออุจจาระบ่อย มีอาการระคายเคืองที่ทวารหนัก ซึ่งผลต่างๆ เหล่านี้จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงได้ 2.2 การฝังสารกัมมันตรังสีเข้าไปในเนื้อต่อมลูกหมาก เป็นการรักษาซึ่งอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกาและประเทศทางยุโรปมาเป็นระยะเวลาประมาณ 10 ปี ปัจจุบันเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีข้อแทรกซ้อนที่ต่ำ ใช้ระยะเวลาในการรักษาในโรงพยาบาลที่สั้นเพียง 1 ? 2 วัน นิยมใช้ในผู้ป่วยที่สูงอายุเกิน 70 ปีขึ้นไป วิธีการคือฝังแท่งเข็มของสารกัมมันตรังสีขนาดเล็ก ๆ เข้าไปในเนื้อของต่อมลูกหมาก เข็มที่เป็นสารกัมมันตรังสีนี้จะค่อย ๆ แพร่รังสีออกมาเรื่อย ๆ ในเวลาที่ผ่านไปเพื่อไปทำลายเนื้อเยื่อของมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยหวังว่าในที่สุด มะเร็งต่อมลูกหมากจะถูกทำลายไป การใส่เข็มรังสีขนาดเท่าไรและจำนวนเท่าไร จำเป็นจะต้องใช้การคำนวณ โดยดูจากขนาดของมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นหลัก ต้องใช้เทคโนโลยีและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีประสบการณ์ในทางด้านนี้จริง ๆ จึงจะให้ผลสำเร็จที่สูง และประเทศไทยพึ่งจะมีการนำการรักษาชนิดนี้เข้ามาใช้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี และจำนวนผู้ป่วยที่ไปรับการรักษาโดยวิธีนี้ยังมีจำนวนน้อยอยู่มาก ในแง่ความเชี่ยวชาญจึงยังน้อยอยู่ ผลการรักษายังไม่ทราบแน่ชัด และเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก จึงทำให้ปัจจุบันยังไม่ได้รับความนิยมในประเทศไทย จะเห็นว่าการรักษามะเร็งระยะแรกของต่อมลูกหมากมีอยู่หลายวิธี การตัดสินใจจะเลือกใช้วิธีใดนั้นจึงควรที่จะอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินปัสสาวะจะเป็น ผู้พิจารณา Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=248 |
![]() | Word Info ID : 9970 Word INFO : การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลาม ระยะนี้คือ มะเร็งต่อมลูกหมากซึ่งมีการกระจายออกนอกต่อมลูกหมากไปแล้ว และจะไม่สามารถให้การรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาให้ดีขึ้นได้ วิธีการรักษามีอยู่หลายวิธี ที่นิยม คือ การรักษาโดยใช้วิธีฮอร์โมน โดยมีหลักการว่ามะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งได้แก่ เทสทอสเตอโรน (Testosterone) ซึ่งสร้างมาจากลูกอัณฑะและต่อมหมวกไต โดยฮอร์โมนเทสทอสเตอโรน จะไปกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ดังนั้นการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากจึงทำได้โดยกำจัดและป้องกันไม่ให้เทสทอสเตอโรน ไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งไม่ให้เจริญเติบโตได้ ซึ่งที่นิยมก็คือ การตัดเอาลูกอัณฑะออกทั้งสองข้าง (Bilateral orchiectomy) ซึ่งสามารถกำจัดเทสทอสเตอโรนส่วนที่สร้างจากลูกอัณฑะ ในคนไข้บางรายแพทย์อาจจะให้ยาต้าน Androgen ร่วมด้วยเพื่อยับยั้งเทสทอสเตอโรน ส่วนที่สร้างจากต่อมหมวกไต ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ผลการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลามโดยวิธีฮอร์โมนนี้จะดีมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการลุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมากว่ามากน้อยแค่ไหน ความรุนแรงของเนื้อเยื่อมะเร็งต่อมลูกหมากเองว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ในผู้ป่วยบางรายซึ่งการลุกลามของมะเร็งออกนอกต่อมลูกหมากเป็นเพียงเล็กน้อยความรุนแรงของเนื้อเยื่อมะเร็งไม่มากมักจะตอบสนองต่อการรักษาได้ดี อาจจะมีอายุยืนยาวหลังจากการรักษาเกิน 5 ปีเป็นต้น แต่ในผู้ป่วยบางรายซึ่งมะเร็งลุกลามออกนอกต่อมลูกหมากออกไปเป็นจำนวนมาก โดยกระจายไปที่กระดูกและต่อมน้ำเหลืองไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งความรุนแรงของเนื้อเยื่อมะเร็งร้ายแรงมาก อาจะตอบสนองต่อการรักษาโดยวิธีฮอร์โมนได้ดีในช่วง 1 ? 2 ปีแรก หลังจากนั้นมะเร็งต่อมลูกหมากก็จะมีการลุกลามมากขึ้นอีก มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคซึ่งพบได้ในชายสูงอายุ ในประเทศไทยอุบัติการณ์ของ ต่อมลูกมากน่าจะสูงขึ้น เนื่องจากคนไทยมีอายุยืนมากขึ้น มะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกมักไม่มีอาการแต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ตรงกันข้ามกับมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะลุกลามซึ่งมีอาการแต่ไม่สามารถให้การรักษาหายขาดได้ บทความชิ้นนี้จึงมุ่งหวังว่าชายที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรจะเข้ารับการตรวจต่อมลูกหมากจากแพทย์ทุกปี เพราะถ้าสามารถตรวจพบมะเร็ง ต่อมลูกหมากได้ในระยะแรก ๆ จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=249 |
![]() | Word Info ID : 9971 Word INFO : มะเร็งต่อมลูกหมากรักษาหายขาดได้ มะเร็งต่อมลูกหมากสามารถรักษาหายขาดได้ขึ้นกับระยะของโรค มะเร็งระยะต้นจะมีทางเลือกรักษาหลายทาง เช่น การผ่าตัดเอาต่อมลูกหมากออก การฉายรังสีรักษาและการให้ยา เป็นต้น แต่ในผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 70 ปี หรือยังมีสุขภาพแข็งแรง การผ่าตัดเพื่อเอาต่อมลูกหมากออกทั้งหมดถือเป็นวิธีการรักษาที่ดี มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสหายขาดจากมะเร็งได้สูงกว่าการรักษาอื่นๆ วิธีการผ่าตัดรักษาที่เป็นมาตรฐานคือการผ่าเปิดช่องท้อง เพื่อผ่าตัดเอาต่อมลูกหมาก รวมทั้งท่อน้ำเชื้อและถุงพักน้ำเชื้อออกทั้งหมด แต่สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือความเจ็บปวดของแผลผ่าตัด และใช้ระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดค่อนข้างนาน Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=291 |
![]() | คำแนะนำ (1) |
![]() | Word Info ID : 9458 Word INFO : ข้อเสนอแนะ ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจต่อมลูกหมากจากแพทย์ทุกปีเพราะถ้าสามารถตรวจมะเร็งได้ในระยะแรก ๆ สามารถ รักษาให้ หายขาดได้ Ref. Link : http://www.md.chula.ac.th/th/public/medinfo/prostate_cancer/prostat... |
![]() | การป้องกัน (2) |
![]() | Word Info ID : 4254 Word INFO : จากศึกษาส่วนใหญ่พบว่าผักและผลไม้มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหาร และมีไขมันต่ำซึ่งจะลดการเกิดโรคมะเร็งและป้องกันโรคอ้วน ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าในแต่ละวันควรจะรับผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 5 หน่วย โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสีเข็มเช่นเขียว (คะน้า ผักบุ้ง กวางตุ้ง) ส้ม แดง ธัญพืช ได้แก่ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี การรับประทานอาหารเหล่านี้จะทำให้ระบบขับถ่านทำงานดีขึ้นและยังลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถั่วต่างๆ ถั่วต่างๆจะให้สารอาหารโปรตีนสำหรับทดแทนเนื้อสัตว์และใยอาหาร นอกจากนั้นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งต่อต้านมะเร็ง การออกกำลังกาย การดื่มสุรา และการสูบบุหรี่ ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะสามารถลดอุบัติการณ์ของมะเร็ง Lycopene เป็นสารต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งพบได้มากในมะเขือเทศ มีการศึกษาว่าการรับประทานมะเขือเทศเป็นประจำสามารถลดขนาดของเนื้องอก แต่ต้องศึกษาเพิ่มเติม Silenium เป็นสารต้านอนุมูลอิสระพบได้มากในพวก ปลา อาหารทะเล ไก่ ธัญพืช ถั่วต่างๆ มีการวิจัยว่าสารนี้ลดอัตราการตายจากมะเร็งต่อมลูกหมาก ถั่วเหลือง การวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองจะลดอัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก vitamin E จาการวิจัยพบว่าการรับประทานวิตามิน อีเป็นประจำชะลออัตราการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากและลดอัตราการตายจากโรคนี้ มีการศึกษาว่า วิตามินอี selenium และน้ำมะเขือเทศสามารถลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ การลดอาหารไขมันและเพิ่มถั่ว ผัก ผลไม้สามารถป้องกันมะเร็งได้ Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Health/good_health_living/diet/diet_prost... |
![]() | Word Info ID : 4696 Word INFO : มีการศึกษาว่า วิตามินอี selenium และน้ำมะเขือเทศสามารถลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้ การลดอาหารไขมันและเพิ่มถั่ว ผัก ผลไม้สามารถป้องกันมะเร็งได้ Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.htm |
![]() | อื่นๆ (2) |
![]() | Word Info ID : 4258 Word INFO : เมื่อผู้ป่วยที่การตรวจเบื้องต้นสงสัยว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากแพทย์ทั่วไปจะปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อการวินิจฉัยต่อไปโดยทั่วไปนิยมตรวจ Transrectal ultrasonography การทำ ultrasound ต่อมลูกหมากทางทวารหนัก Intravenous pyelography คือการฉีดสีเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้สีขับออกทางไต ไปกระเพาะปัสสาวะ Cystoscope แพทย์จะส่องกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะ เมื่อสงสัยเป็นมะเร็งแพทย์จะใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากไปตรวจทางพยาธิถ้าเป็นต่อมลูกหมากโตก็จะรักษาตามขั้นตอน ระยะของโรค การวางแผนการรักษาจะต้องรู้ว่ามะเร็งต่อมลูกหมากแพร่กระจายหรือยังหรือยังอยู่เฉพาะที่ต่อมลูกหมากโดยจะต้องมีการตรวจเพิ่มเช่นการตัดชิ้นเนื้อจากทวารหนัก การ x-ray พิเศษ ที่นิยมแบ่งเป็น 4 ระยะได้แก่ 1-4 หรือ A-D Stage 1 หรือ A ระยะนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการไม่สามารถตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากทางทวารทราบว่าเป็นโดยการผ่าตัดต่อมลูกหมากโตระยะนี้มะเร็งอยู่เฉพาะในต่อมลูกหมาก Stage 2หรือ B สามารถตรวจได้จาการตรวจต่อมลูกหมากโดยการใช้เข็มเจาะชิ้นเนื้อต่อมลูกหมากเนื่องจากค่า PSA สูงมะเร็งยังอยู่ในต่อมลูกหมากไม่แพร่กระจาย Stage 3หรือC มะเร็งแพร่กระจายไปเนื้อเยื่ออยู่ใกล้ต่อมลูกหมาก Stage 4 หรือDมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่น Reccurent หมายถึงภาวะที่มะเร็งกลับเป็นใหม่หลังจากรักษาไปแล้ว Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/renal/prostate/cancer.htm |
![]() | Word Info ID : 9972 Word INFO : ทางเลือกใหม่ในการผ่าตัดรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะต้น ปัจจุบันวิวัฒนาการของการผ่าตัดได้มีความก้าวหน้ามาก การผ่าตัดด้วยกล้องโดยเจาะผ่านช่องท้อง (Laparoscopic surgery) หรือที่คนทั่วๆ ไป เรียกว่าการผ่าตัดเจาะรูได้เข้ามามีบทบาททดแทนการผ่าตัดเปิดหน้าท้องมากขึ้น การผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีและการผ่าตัดเนื้องอกของต่อมหมวกไตโดยการใช้กล้องได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่มาตรฐานแทนที่การผ่าตัดเปิดแล้ว การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยใช้กล้องก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน การผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยใช้กล้องมีรายงานครั้งแรก โดยศัลยแพทย์ชาวฝรั่งเศสชื่อ นายแพทย์ Guy Vallancien และนายแพทย์ Bertrand Guillonneau เมื่อปี พ.ศ.2541 หลังจากนั้นก็ได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันได้มีรายงานการผ่าตัดมะเร็งต่อมลูกหมากโดยวิธีการใช้กล้องมากกว่า 5,000 รายทั่วโลก และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีข้อได้เปรียบกว่าการผ่าตัดเปิดหน้าท้องที่ทำกันมาดั้งเดิมคือ ลดการเจ็บแผลหลังผ่าตัดลงไปมากเนื่องจากเป็นแผลเจาะรู ทำให้ระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัดสั้นลงด้วย (ยังไม่รวมถึงความสวยงามของแผลผ่าตัด ซึ่งอาจจะไม่ใช่ข้อสำคัญมากนัก เนื่องจากผู้ป่วยส่วนมากอายุมากกว่า 50 ปี) ประสิทธิภาพในการผ่าตัด ไม่แตกต่างกับการผ่าตัดเปิดเอามะเร็งออกได้หมด ในสถาบันที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดแบบนี้มากๆ จะสามารถเพิ่มผลสำเร็จในการทำให้ผู้ป่วยสามารถกลั้นปัสสาวะได้ดี และคงสมรรถภาพทางเพศไว้ได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เพราะสามารถเห็นภาพขยายทางกายวิภาคของท่อปัสสาวะและใยเส้นประสาทที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้ดีกว่าและชัดเจนกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเปิดช่องท้องที่ทำกันมาดั้งเดิม Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e%2Dpl/articledetail.asp?id=291 |