จำนวนบทความของคำ "ทริคิโนซิส" : 6 ทริคิโนซิส เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (1) |
![]() | Word Info ID : 2229 Word INFO : ทริคิโนซิส เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิชนิดหนึ่งที่มี ชื่อว่า ทริคิเนลลา สไปราลิส (Trichinella spiralis) ซึ่งมีอยู่ในเนื้อหมู หรือหนู คนที่จะเป็นโรคนี้ จะต้องกินเนื้อหมู หรือหนูที่มีซิสด์ของพยาธิและไม่ได้ทำให้สุก เช่น ลาบ แหนม เป็นต้น มักพบเป็นพร้อมกันหลายคน ในบ้านเราเคยพบเป็นโรคระบาดทางภาคเหนือหลายครั้ง วงจรชีวิตของพยาธิ พยาธิทริคิเนลลา สไปราลิส ตัวผู้มีขนาดยาวประมาณ 1.4-1.6 มม. และตัวเมียยาวประมาณ 3-4 มม. ปกติอาศัยอยู่ในเนื้อหมูหรือหนู เมื่อคน หมูหรือหนู กินเนื้อหมูหรือหนูที่มีซิสต์ของพยาธิ เมื่อตกถึงสำไส้ พยาธิตัวอ่อนจะฟักตัวออกมาจากซิสต์ เจริญเป็นตัวแก่ภายใน 2-3 วัน และภายใน 5-7 วันพยาธิตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์กัน แล้วตัวเมียจะไชและฝังตัวอยู่ในเยื่อบุลำไส้เล็กส่วนต้น แล้วออกลูกเป็นตัวอ่อน ซึ่งจะไชเข้าหลอดเลือดและท่อน้ำเหลืองเข้าไปในกระแสเลือด เข้าไปขดตัวอยู่ในกล้ามเนื้อประมาณวันที่ 9-23 หลังจากกินซิสต์ เจริญเติบโตจนเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อ แล้วเกิดมีซิสต์หุ้ม ถ้าซิสต์ไม่ได้ถูกกิน ตัวอ่อนในซิสต์จะตายและมีหินปูนมาจับ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | สาเหตุของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 2232 Word INFO : เกิดจากการกินเนื้อหมูหรือหนูดิบ ๆ หรือ สุก ๆ ดิบ ๆ ซึ่งมีซิสต์ของพยาธิปนเปื้อน Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | อาการของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 2236 Word INFO : แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระยะพยาธิอยู่ในลำไส้ผสมพันธุ์กันแล้วตัวเมียฝังตัวในลำไส้ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดินหลังกินเนื้อหมูที่มีซิสต์ของพยาธิประมาณ 24-72 ชั่วโมง และจะมีอาการอยู่นาน 1-7 วัน ระยะที่ 2 ระยะที่พยาธิตัวเมียออกลูก และพยาธิตัวอ่อนเข้าไปในกระแสเลือด แล้วไชเข้ากล้ามเนื้อ เริ่มประมาณวันที่ 5-7 หลังกินซิสต์ของพยาธิ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง (ซึ่งอาจเป็นอยู่นาน 1-2 สัปดาห์) เจ็บปวดตามกล้ามเนื้อมากจนไม่อยากกระดุกกระดิก อาจหายใจ เคี้ยว กลืนหรือพูดลำบาก เพราะเจ็บกล้ามเนื้อ อาจมีอาการบวมที่หนังตา (ประมาณวันที่ 12-14 ของโรค) อาจมีผื่นแดงขึ้นหรือมีเลือดออกใต้เล็บ บางรายอาจมีอาการปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ถ้าเป็นรุนแรงอาจตายหลังเกิดโรค 4-6 สัปดาห์ ระยะที่ 3 ระยะที่พยาธิตัวอ่อนมีซิลต์หุ้ม ผู้ป่วยจะค่อยๆ ดีขึ้น ไข้ลดลงและอาการเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อค่อย ๆ ทุเลาลง ซิสต์จะยังคงอยู่ในกล้ามเนื้อตลอดไป โดยพยาธิในซิสต์จะตายและมีหินปูนมาจับ ซึ่งสามารถตรวจพบโดยการเอกซเรย์ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | โรคแทรกซ้อน (1) |
![]() | Word Info ID : 2239 Word INFO : ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | วิธีการรักษา (1) |
![]() | Word Info ID : 2241 Word INFO : หากสงสัย ควรส่งโรงพยาบาลด่วน การตรวจเลือด จะพบจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติและมีจำนวนอีโอซิโนฟิล (eosinophil) สูงถึง 10%-90% อาจทำการทดสอบทางน้ำเหลือง (serologic test) อาจตัดชิ้นเนื้อจากกล้ามเนื้อ (เช่น ที่น่อง) หรือลำไส้ไปตรวจหาตัวพยาธิ หรืออาจเจาะหลัง เอาน้ำไขสันหลังไปตรวจ (ถ้าสงสัยมีพยาธิในสมอง) เมื่อพบว่าเป็นโรคนี้จริง จะให้การรักษาดังนี้ 1. ในระยะพยาธิอยู่ในลำไส้ นอกจากให้การรักษาตามอาการ เช่น นอนพัก, ให้ยาแก้ปวดลดไข้ (ย1) ให้น้ำเกลือแล้ว ควรให้ยาถ่ายพยาธิ เช่น มีเบนดาโซล (ย6.4) ครั้งละ 200-400 มก. วันละ 3 ครั้ง นาน 3 วัน แล้วเพิ่มเป็นครั้งละ 400-500 มก. วันละ 3 ครั้ง อีก 10 วัน, หรือไทอาเบนดาโซล (Thiabendazole) ขนาดครั้งละ 25 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (สูงสุด 1.5 กรัม) วันละ 2 ครั้ง นาน 3-7 วัน 2. ในระยะพยาธิอยู่ในกล้ามเนื้อ ถ้ามีการอักเสบรุนแรง ให้เพร็ดนิโซโลน (ย12) ขนาดวันละ 1 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม นาน 5 วัน แล้วค่อย ๆ ลดขนาดลงทีละน้อย จนหยุดยาภายใน 1-2 สัปดาห์ พร้อมกับให้ยาถ่ายพยาธิดังกล่าว (ซึ่งอาจได้ผลสู้ระยะพยาธิอยู่ในลำไส้ไม่ได้) Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | การป้องกัน (1) |
![]() | Word Info ID : 2244 Word INFO : โรคนี้สามารถป้องกันโดยการไม่กินเนื้อหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ลาบ แหนม เป็นต้น และควบคุมโรงฆ่าสัตว์ไม่ให้นำหมูที่เป็นโรคนี้มาทำเป็นอาหาร Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |