จำนวนบทความของคำ "ยาขับเสมหะ" : 8 ยาขับเสมหะ เป็น ยาและสารเคมี |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | คำอธิบายเกี่ยวกับยา (4) |
![]() | Word Info ID : 2118 Word INFO : ยานี้เหมาะสำหรับรักษาอาการไอมีเสลด เช่น หลอดลมอักเสบ หลอดลมพอง ถุงลมพอง ปอดอักเสบ วัณโรค ปอด หืด เป็นต้น Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 4514 Word INFO : ไกวเฟนิซิน Guaifenesin ชื่อการค้าที่มีจำหน่าย โรบิทัสซิน (Robitussin) รูปแบบยาที่มีจำหน่าย ยาน้ำเชื่อม ความแรง 100 มิลลิกรัมต่อ 5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา) ยานี้ใช้รักษาโรค / อาการอะไร ยานี้ช่วยทำให้เสมหะเหลวลง ขับออกได้ง่ายด้วยการไอ และบรรเทาอาการไอมีเสมหะเนื่องจากหวัด ยานี้มีวิธีการใช้อย่างไร ขนาดใช้ยาในเด็ก อายุ 2-6 ปี : รับประทานครั้งละครึ่ง (1/2) ช้อนชา ( 50 มิลลิกรัม) วันละ 4-6 ครั้ง ตามอาการที่เป็น อายุ 6-12 ปี : รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา (100 มิลลิกรัม) วันละ 4-6 ครั้ง ตามอาการที่เป็น ขนาดใช้ยาในเด็กอายุมากกว่า 12 ปีและผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา (200 มิลลิกรัม) วันละ 4-6 ครั้ง ตามอาการที่เป็น ถ้าลืมรับประทานยานี้ควรทำอย่างไร ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ ถ้าใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ไม่ต้องรับประทานยาที่ลืมนั้น ให้รับประทานยาตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยานี้มีอะไรบ้าง อาการข้างเคียงของยานี้มักไม่ค่อยพบ อาจมีอาการง่วงนอน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนหรือปวดท้อง และอาจมีผื่นแดงตามผิวหนัง หากมีอาการอาเจียน ไม่ควรรับประทานยามากหรือบ่อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก ถ้ามีอาการนี้นานเกิน 2 วัน ควรปรึกษาแพทย์ ยานี้มีข้อควรระวังอย่างไร ไม่ควรใช้ยานี้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไอเรื้อรังเนื่องจากการสูบบุหรี่ เป็นโรคหอบหืด มีเสมหะมาก ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนใช้ยาอื่นที่มีส่วนผสมของตัวยานี้อีก สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนใช้ยาอื่นที่มีส่วนผสมของตัวยานี้อีก ควรเก็บยานี้อย่างไร เก็บยาให้พ้นมือเด็ก ไม่เก็บยาในที่ที่ถูกความร้อนหรือแสงโดยตรง ไม่เก็บยาในที่ที่มีความชื้น ไม่เก็บยาน้ำเชื่อมในตู้เย็น ไม่ควรเก็บยาที่หมดอายุหรือเก็บยาที่ไม่ได้ใช้แล้ว คำแนะนำพิเศษในการใช้ยานี้ ควรดื่มน้ำอุ่นเพื่อช่วยให้เสมหะเหลวลงและสามารถขับออกได้ง่าย ไกวเฟนิซิน / แอมโมเนียมคลอไรด์ Guaifenesin / Ammonium chloride ชื่อการค้าที่มีจำหน่าย ซิลทูสซิน (Siltussin) รูปแบบยาที่มีจำหน่าย ยาน้ำ ใน 5 มิลลิลิตร (1 ช้อนชา) ประกอบด้วยไกวเฟนิซิน 50 มิลลิกรัม, แอมโมเนียมคลอไรด์ 50 มิลลิกรัมและเมนทอล 250 ไมโครกรัม ยานี้ใช้รักษาโรค / อาการอะไร ยานี้ช่วยบรรเทาอาการไอและมีเสมหะเนื่องจากหวัด ยานี้มีวิธีการใช้อย่างไร ขนาดใช้ยาในเด็ก รับประทานครั้งละครึ่ง (1/2) ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมงตามอาการที่เป็น ขนาดใช้ยาในผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา ทุก 4 ชั่วโมงตามอาการที่เป็น ถ้าลืมรับประทานยานี้ควรทำอย่างไร ให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้ ถ้าใกล้กับเวลารับประทานครั้งต่อไป ไม่ต้องรับประทานยาที่ลืมนั้น ให้รับประทานยาตามปกติโดยไม่ต้องเพิ่มเป็น 2 เท่า ผลข้างเคียงที่พบบ่อยของยานี้มีอะไรบ้าง อาการข้างเคียงของยานี้มักไม่ค่อยพบ อาจมีอาการง่วงนอน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนหรือปวดท้อง และอาจมีผื่นแดงตามผิวหนัง หากมีอาการอาเจียน ไม่ควรรับประทานยามากหรือบ่อยกว่าที่ระบุไว้บนฉลาก ถ้ามีอาการนี้นานเกิน 2 วัน ควรปรึกษาแพทย์ ยานี้มีข้อควรระวังอย่างไร ผู้ป่วยโรคตับ โรคไต ควรระมัดระวังในการใช้ อาจปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้ หลังจากใช้ยานี้ไปแล้ว 7 วัน หากพบว่ายังมีอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน มีไข้สูง ผิวหนังมีผื่นแดงเกิดขึ้น ปวดศีรษะต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือมีอาการเจ็บคอปรากฏขึ้น ควรไปพบแพทย์ ควรเก็บยานี้อย่างไร เก็บยาให้พ้นมือเด็ก ไม่เก็บยาในที่ที่ถูกความร้อนหรือแสงโดยตรง ไม่เก็บยาในที่ที่มีความชื้น ไม่ควรเก็บยาที่หมดอายุหรือเก็บยาที่ไม่ได้ใช้แล้ว คำแนะนำพิเศษในการใช้ยานี้ ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆระหว่างใช้ยานี้ หากรับประทานยานี้แล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์หรือมีไข้ ผื่น ปวดศีรษะเรื้อรัง ควรไปพบแพทย์ Ref. Link : http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/otcproject/58.html |
![]() | Word Info ID : 4520 Word INFO : ยาขับเสมหะ มิสต์สกิลแอมมอน (Mist. Scill ammon) ปริมาณขวดละ 180 มล. สรรพคุณ : ใช้ขับเสมหะในคนที่มีเสมหะ หรือเสลดเหนียว วิธีใช้ : รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เด็กรับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา Ref. Link : http://www.thaigoodview.com/library/iam/m46-43/26-ok/yakubsemha01.html |
![]() | Word Info ID : 4522 Word INFO : ยาขับเสมหะ ( EXPECTORANTS ) ยาขับเสมหะ เป็นยาที่จะช่วยให้เสมหะมีความเหลวมากขึ้น โดยกระตุ้นให้มีน้ำหลั่งจากทางเดินหายใจมากขึ้น และเมื่อมีอาการไอจะถูกขับออกมาได้ง่ายขึ้น ยาขับเสมหะที่นิยมใช้กันมีดังนี้ 1. Ammonium chloride ammonium chloride ออกฤทธิ์โดย ammonium ion ไปทำให้เกิดระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร แล้วเกิด reflex ไปกระตุ้นให้มีการหลั่งน้ำเมือกในทางเดินหายใจมากขึ้น ฤทธิ์ข้างเคียงที่พบ คือ ระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และ ถ้าได้รับยาขนาดสูงถึง 6 - 8 กรัม/วัน จะทำให้เกิด metabolic acidosis, mental confusion, hypokalemia ขนาดที่ใช้รับประทานเพื่อขับเสมหะคือ 300 มก. ทุก 2 - 4 ชั่วโมง โดยมากมักใช้ผสมร่วมกับยาตัวอื่นเพื่อระงับอาการไอ ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคตับ และไต 2. Guaifenesin (glyceryl guaiacolate) Guaifenesin ออกฤทธิ์กระตุ้นทำให้น้ำหลั่งจากทางเดินหายใจมากขึ้น ทำให้เสมหะอ่อนตัวและถูกขับออกไปได้ มักใช้ผสมกับตัวยาอื่นในยาเตรียมแก้ไอเพื่อช่วยขับเสมหะ Guaifenesin ถูกดูดซึมได้ดีจากทางเดินอาหาร และถูกขับออกทางปัสสาวะอย่างรวดเร็วในรูปของ b - (2-methoxyphenoxy) lactic acid ฤทธิ์ข้างเคียงพบได้น้อย ที่พบได้แก่ ปวดท้อง มึนงง ขนาดที่ใช้ขับเสมหะคือ 100 - 200 มก. ทุก 3 - 4 ชั่วโมง ข้อบ่งใช้คือ ใช้เป็นยาขับเสมหะ 3. Ipecacuanha ออกฤทธิ์กระตุ้นการหลั่งของน้ำเมือกของทางเดินหายใจ โดยทำให้เกิดระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาการพิษที่เกิดขึ้น คือ ระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และถ้าใช้ยาขนาดมากจะทำให้เกิดการอาเจียนรุนแรง ท้องร่วงและอุจจาระเป็นเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตต่ำ มักใช้ผสมร่วมกับตัวยาอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นยาแก้ไอ รูปแบบที่นำมาใช้เพื่อขับเสมหะจะใช้อยู่ในรูปของยาน้ำเชื่อม (syrup) ขนาดที่ใช้รับประทานคือ 1 - 8 มล. พร้อมกับดื่มน้ำ 1 ถ้วย ถ้าไปใช้ในรูปของน้ำสกัด (fluid extract) จะมีตัวยามากกว่าใน syrup จะทำให้เกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรงได้ ดังนั้น นอกจากจะใช้ ipecacuanha ในขนาดน้อยในการขับเสมหะแล้ว ยังสามารถใช้เป็นยาทำให้อาเจียนได้ในรายที่ได้รับสารพิษ บางอย่างเข้าไป Ref. Link : http://www.yala.ac.th/subject/respira1.html |
![]() | ลักษณะของยา (1) |
![]() | Word Info ID : 2119 Word INFO : ชนิดน้ำ เช่น มิสต์แอมมอนคาร์บ (Mist. Ammon. Carb.), มิสต์โพแทสเซียมไอโอไดด์ (Mist. Potassium Iodide), มิสต์สกิลแอมมอน (Mist. Scill. Ammon.) Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | ตัวอย่างชื่อการค้า (1) |
![]() | Word Info ID : 4506 Word INFO : โรบิทัสซิน (Robitussin) ซิลทูสซิน (Siltussin) Ref. Link : http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/otcproject/58.html#ชื่อการค้า... |
![]() | ขนาดและวิธีใช้ (1) |
![]() | Word Info ID : 2120 Word INFO : ผู้ใหญ่ให้ครั้งละ 1/2 - 1 ช้อนโต๊ะ เด็ก 1/2-1 ช้อนชา ทุก 4-6 ชม. Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | อื่นๆ (1) |
![]() | Word Info ID : 2121 Word INFO : คนที่ไอมีเสลดเหนียว ควรดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ และไม่ควรกินยาระงับการไอ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |