จำนวนบทความของคำ "แอสไพริน" : 16 แอสไพริน เป็น ยาและสารเคมี |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | คำอธิบายเกี่ยวกับยา (2) |
![]() | Word Info ID : 1711 Word INFO : 1. ลดไข้ แก้ตัวร้อน 2. แก้อาการปวดทุกชนิด เช่น ปวดหัว ปวดหู ปวดตา ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดข้อ ประจำเดือน ปวดแผล เป็นต้น (ยกเว้น ปวดโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก ห้ามใช้) 3. มีฤทธิ์เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ใช้แก้อาการปวดข้อ ข้ออักเสบ 4. ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดสมอง (76) และหัวใจ (96) Ref. Link : http://www.doctordiag.com/medical/Drug.aspx |
![]() | Word Info ID : 4751 Word INFO : ใช้แก้ไข้ (ตัวร้อน), ปวดหัว, ปวดตา, ปวดหู, ปวดฟัน, ปวดหลัง, ปวดข้อ, ปวดกล้ามเนื้อ, ปวดแผล, ปวดประจำเดือน, ปวดเมื่อย. Ref. Link : http://www.thaigoodview.com/library/iam/m46-43/26-ok/yalodkhai01.htm |
![]() | ลักษณะของยา (1) |
![]() | Word Info ID : 1712 Word INFO : ชนิดเม็ด 75 มก. และ 325 มก. Ref. Link : http://www.doctordiag.com/medical/Drug.aspx |
![]() | ตัวอย่างชื่อการค้า (1) |
![]() | Word Info ID : 1714 Word INFO : แอสไพริน, แอสโปร, เบบี้แอสไพริน (75 มก.) Ref. Link : http://www.doctordiag.com/medical/Drug.aspx |
![]() | ขนาดและวิธีใช้ (3) |
![]() | Word Info ID : 1716 Word INFO : 1. แก้ปวดลดไข้ 0-1 ปี ห้ามใช้ เด็กอายุ 1-5 ปี ให้เบบี้แอสไพริน (75 มก.) ครั้งละ 1 เม็ดต่ออายุ 1 ปี (เช่น อายุ 1 ปีให้ 1 เม็ด , 2 ปีให้ 2 เม็ด) หรือแอสไพริน (325 มก.) ขนาด 1/4 เม็ด (หนึ่งเสี้ยว) ต่ออายุ 1 ปี (ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ) เด็กอายุ 5-10 ปี ให้แอสไพรินครั้งละ 1 - 1 1/2 เม็ด เด็กอายุมากกว่า 10 ปี และผู้ใหญ่ ให้แอสไพรินครั้งละ 2 เม็ด กินเวลามีอาการ ถ้าไม่หาย ซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรกินหลังอาหารหรือพร้อมนม และดื่มน้ำตามมาก ๆ 2. แก้ข้ออักเสบ ให้ขนาด 1 1/2 เท่า ของขนาดที่ใช้แก้ปวดลดไข้ เช่น ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3 เม็ด วันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน 3. ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดสมอง และหัวใจ ให้แอสไพรินครั้งละ 75-325 มก. วันละครั้งหลังอาหารเช้าเป็นประจำทุกวัน Ref. Link : http://www.doctordiag.com/medical/Drug.aspx |
![]() | Word Info ID : 4666 Word INFO : ผู้ใหญ่ 325 ?650 mg ทูก 4 ช.ม. หรือ 500 mg ทุก 3 ช.ม. หรือ 1000 mg ทุก 6 ช.ม. เด็กจะแบ่งตามอายุ Ref. Link : http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/Respiratory/fever-pain.htm |
![]() | Word Info ID : 4752 Word INFO : รับประทานหลังอาหารทันที ถ้ารับประทานเวลาท้องว่าง ก่อนรับประทานยาควรดื่มนมก่อน หรือหลังรับประทานยาควรดื่มน้ำตามมากๆ ควรรับประทานยาเฉพาะเมื่อมีอาการ และรับประทานซ้ำได้ทุก 4 ถึง 6 ชั่วโมง ถ้ายังไม่ทุเลา. ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เด็กอายุ 5-10 ปี รับประทานครั้งละ 1 เม็ด เด็กอายุ 3-5 ปี รับประทานครั้งละ ½ เม็ด เด็กอายุ 1-3 ปี รับประทานครั้งละ ¼ เม็ด Ref. Link : http://www.thaigoodview.com/library/iam/m46-43/26-ok/yalodkhai01.htm |
![]() | ผลข้างเคียง (2) |
![]() | Word Info ID : 1717 Word INFO : อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะ เลือดออกง่าย และแพ้ยาได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/medical/Drug.aspx |
![]() | Word Info ID : 4671 Word INFO : อาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ปวดแสบบริเวณยอดอก ให้แก้โดยรับประทานอาหารทันที และควรปรึกษาแพทย์ หากมีอาการ อุจจาระเป็นสีดำ หรือ มีเลือด หายใจมีเสียงหวีด หายใจขัด วิงเวียน จิตใจสับสน ง่วงซึม ให้หยุดยาแล้วรีบไปหาหมอ Ref. Link : http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/Respiratory/fever-pain.htm |
![]() | ข้อควรระวัง (4) |
![]() | Word Info ID : 1720 Word INFO : 1. ที่สำคัญและพบบ่อย คือ การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก กระเพาะอาหารอักเสบ ถ้ารุนแรงอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ควรกินหลังอาหาร หรือพร้อมนม และควรดื่มน้ำตามมาก ๆ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก 2. อาจเกิดอาการแพ้ เป็นลมพิษ ผื่นคัน หอบหืดได้ 3. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่เคยมีประวัติแพ้ยานี้ และผู้ป่วยโรคหืด ลมพิษ หวัดจากการแพ้ ที่เคยมีอาการกำเริบจากการใช้แอสไพริน หรือยาในกลุ่มต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (ย2) 4. ถ้าใช้ขนาดสูง อาจทำให้หูอื้อ มีเสียงดังในหูได้ 5. ถ้ากินเกินขนาดมาก ๆ อาจเกิดพิษต่อร่างกาย เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) เป็นอันตรายได้ 6. ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติซีดเหลืองบ่อยจากโรคโลหิตจาง จากเม็ดเลือดแดงแตก (101) เพราะจะทำให้เกิดอาการซีดเหลืองได้ 7. ทำให้เลือดออกง่าย เพราะยานี้จะยับยั้งการเกาะตัวของเกล็ดเลือด (platelets aggregation) จึงห้ามใช้ในผู้ป่วยที่สงสัยจะมีเลือดออก เช่น ไข้เลือดออก โรคเลือดต่าง ๆ ( เช่น ไอทีพี, ฮีโมฟิเลีย) ขณะเดียวกัน ก็นำมาใช้ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ในหลอดเลือดหัวใจ และสมอง 8. ไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 1 ขวบ อาจทำให้เลือดออกง่าย และไม่ควรใช้ในเด็กต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส อาจทำให้เป็นโรคเรย์ซินโดรม (Reye 's syndrome) ซึ่งมีอันตรายร้ายแรงถึงตายได้ 9. ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนคลอด อาจทำให้คลอดยาก และตกเลือดได้ง่าย และอาจทำให้ทารกมีภาวะเลือดออกง่าย Ref. Link : http://www.doctordiag.com/medical/Drug.aspx |
![]() | Word Info ID : 4673 Word INFO : ถ้ากำลังตั้งครรภ์ หรือระหว่างให้นมบุตร ควรปรึกาาแพทย์ก่อนใช้ยานี้ ไม่ควรใช้ Aspirin ในช่วง 3 เดือนหลังคลอด ไม่ควรใช้ยานี้ในคนที่แพ้ ไม่ควรใช้ยานี้ในคนที่เป็นโรค หรือมีประวัติเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร บอกแพทย์ก่อนใช้ยานี้ ถ้คุณเป็นโรคไต ไม่ควรทานเหล้า ในระหว่างที่ใช้ยานี้ เนื่องจากจะไปเพิ่มการระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร และไปมีผลต่อการทำงานของตับ ไม่ควรใช้ยานี้ในคนที่เป็นโรคตับขั้นรุนแรง หรือกำลังใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว Ref. Link : http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/Respiratory/fever-pain.htm |
![]() | Word Info ID : 4755 Word INFO : ห้ามใช้ในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหาร, หืด, ไข้เลือดออก, โรคเลือด (มีอาการเลือดออก แล้วหยุดยาก), คนที่แพ้ยานี้, คนท้องใกล้คลอด, เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี, เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ที่เป็นไข้หวัดใหญ่ หรืออีสุกอีใส ถ้าจำเป็นต้องใช้ ควรใช้ยาพาราเซตามอลแทน ซึ่งอาจมีอาการแพ้ได้ โดยมีผื่นคันหรือลมพิษขึ้น ถ้ามีอาการแพ้ ควรหยุดยาทันที Ref. Link : http://www.thaigoodview.com/library/iam/m46-43/26-ok/yalodkhai01.htm |
![]() | Word Info ID : 4758 Word INFO : ถ้ากินขนาดมากๆ ทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (acidosos) จะมีอาการหายใจหอบลึกหน้าแดง ไข้สูง ปวดท้อง อาเจียน มีภาวะขาดน้ำ มีเลือดออกตามที่ต่างๆ ชัก และหมดสติ ถึงตายได้ Ref. Link : http://www.healthnet.in.th/text/forum1/toxic/index.html |
![]() | ข้อห้ามใช้ (1) |
![]() | Word Info ID : 1721 Word INFO : ห้ามใช้ในคนที่แพ้ยานี้ คนที่เป็นโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติก, โรคโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก, ไข้เลือดออก, หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 1-2 สัปดาห์ก่อนตลอด, เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี, เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่หรืออีสุกอีใส Ref. Link : http://www.doctordiag.com/medical/Drug.aspx |
![]() | อื่นๆ (2) |
![]() | Word Info ID : 1723 Word INFO : ยาแก้ปวดลดไข้ชนิดซองที่มีจำหน่ายในท้องตลาด เช่น ทัมใจ, บวดหาย, ประสะบอแรด, เอเอ็นที, ยาแก้เด็กตัวร้อนตราหัวสิงห์ เป็นต้น ก็ล้วนเป็นยาแอสไพริน Ref. Link : http://www.doctordiag.com/medical/Drug.aspx |
![]() | Word Info ID : 4662 Word INFO : การใช้ Aspirin ในการรักษาหรือป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด Aspirin ในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Heart Attack) เป็นหัวข้อที่มีการศึกษากันมากที่สุด ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน เกิดจากลิ่มเลือดอุดตัน หลอดเลือด พบว่าการให้ Aspirin ขนาด 162.5 มก. ภายใน 6 ชม.หลังมีอาการเจ็บหน้าอก พบว่า เมื่อติดตามไป 35 วัน Aspirin ได้ประโยชน์ในการลดอัตราตายจากจากหัวใจและหลอดเลือดลงจาก 11.8% เหลือ 9.4% ลดการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำ (ที่ไม่เสียชีวิต) ลงจาก 2% เหลือ 1% ลดการ เกิดอัมพฤกษ์จาก 0.6% เป็น 0.3% (อ้างอิง : ISIS-II Lancet1988;349-360) Aspirin ในผู้ป่วยที่กำลังเจ็บหน้าอกอยู่ กำลังจะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Impending Heart Attack) การใช้ Aspirin ขนาด 75 มก.ต่อวัน สามารถลดการเกิด Heart Attack (ใน 30 วันแรก) ลงจาก 13.4% เป็น 4.3% (อ้างอิง : RISC Lancet1990:336;827) Aspirin ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเรื้อรังที่อาการคงที่ (Stable Angina) การใช้ Aspirin ขนาด 75 มก.ต่อวันในผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถลดอัตราตาย หรือ การเกิด Heart Attack ลง จาก 12.4% เป็น 8% ลดอัตราการเกิด Heart Attack ที่ไม่เสียชีวิตลง 39 % แต่ไม่ลดอัตราตาย จาก Heart Attack โดยไม่ทำให้เกิดเลือดออกมากขึ้น (อ้างอิง : SAPAT Lancet1992:340;1421) Aspirin ในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจแต่มีความเสี่ยงสูง เช่น ความดันโลหิตสูง การใช้ Aspirin ขนาด 75 มก.ต่อวัน สามารถลดผลแทรกซ้อนทางหลอดเลือด(สมอง หัวใจ)ลงได้ 15 % ลดการเกิด Heart Attack ลง 36 % แต่ไม่ลดอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ไม่ลดอัตราตาย รวมจากทุกสาเหตุ และ ยังพบว่ามีเลือดออกมาก (แต่ไม่ทำให้เสียชีวิต) เพิ่มขึ้น 2 เท่า (อ้างอิง : HOT Lancet1998:351;1755) Aspirin ในผู้ที่แข็งแรงไม่เป็นโรคหัวใจ ใช้เพื่อหวังผลป้องกันโรคหัวใจ มีการศึกษาที่ขัดแย้งกัน อันแรกคือการศึกษาในแพทย์ชาวอเมริกัน (US Physician's Health Study) พบว่า Aspirin ขนาด 325 มก.วันเว้นวัน ได้ประโยชน์ในการลดการเกิด Heart Attack ลงถึง 44 % แต่การศึกษาจากสหราชอณาจักร (UK) ซึ่งก็ศึกษาในแพทย์เช่นกัน กลับพบว่าไม่ได้ ประโยชน์ในการ ป้องกัน Heart Attack เลย แถมมีเลือดออกในสมองเพิ่มมากขึ้นด้วย ข้อมูลของ ทั้งสองรายงานก็ไม่หนัก แน่นพอที่จะแนะนำให้ประชาชนทั่วไป (ที่ไม่ใช่แพทย์) รับประทาน Aspirin เพื่อ "ป้องกัน" โรคหัวใจ ขาดเลือด ปัจจุบัน American Heart Association ก็ไม่ได้แนะนำให้ใช้ Aspirin ในการป้องกันโรคนี้ ในผู้ที่ยังไม่ได้เป็นโรค บทสรุป Aspirin เป็นยาราคาถูก และ ดีมากในการรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดแบบต่างๆ แม้จะใช้ในขนาดต่ำ เช่น 75-100 มก.ต่อวันก็ยังอาจพบผลข้างเคียงจากยาได้เสมอๆ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร เลือดออกในทางเดินอาหาร จึงไม่ใช่ยาที่ปลอดภัย 100 % การนำ Aspirin ไปใช้ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจนั้น ยังไม่มีข้อมูลสนับสนุน มากพอ ผลดีที่ได้อาจน้อยกว่าผลเสียที่เกิดจากยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนไทยซึ่งมีความชุกของโรคนี้ น้อยกว่าชาติตะวันตกมาก ยิ่งอาจไม่มีประโยชน์เลย ไม่นานมานี้บริษัท Bayer ผู้ผลิต Aspirin รายใหญ่ ต้องพิมพ์คำเตือนที่ฉลากยาให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะอาจเกิดอันตรายจากยาได้ Ref. Link : http://www.thaiheartweb.com/aspirin.htm |