จำนวนบทความของคำ "เหงือกอัีกเสบ" : 11 เหงือกอัีกเสบ เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (2) |
![]() | Word Info ID : 2038 Word INFO : เหงือกอักเสบ (รำมะนาด, โรคปริทันต์) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่ง พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 3356 Word INFO : โรคปริทันต์ (Periodontal Disease) หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า โรคเหงือกอักเสบ แต่จริงๆแล้ว โรคปริทันต์ มิได้มีการอักเสบเกิดขึ้นแค่ที่เหงือกเท่านั้น แต่เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะรอบๆฟัน อันได้แก่ เหงือก, กระดูกเบ้าฟัน, เอ็นยึดปริทันต์ และ ผิวรากฟัน Ref. Link : http://www.silomdental.com/dental_thai/periodontics.html |
![]() | สาเหตุของโรค (2) |
![]() | Word Info ID : 2040 Word INFO : สาเหตุเกิดจากการรักษาความสะอาดในช่องปากไม่ดี เกิดการสะสมของแผ่นคราบฟัน (dental plaque) และหินปูน* ซึ่งจะมีเชื้อแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก เชื้อแบคทีเรียจะปล่อยสารพิษออกมาซึมอยู่บนผิวของเหงือกส่วนที่ติดกับฟัน ทำให้เหงือกเกิดการอักเสบและบวมได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้แผ่นคราบฟันและหินปูนจะค่อย ๆ เจาะลึกลงไปในซอกเหงือกและฟัน ในที่สุดจะมีการทำลายกระดูกเบ้ารากฟันทำให้ฟันโยก และเกิดถุงหนองในกระดูกเบ้ารากฟันได้ เรียกว่า ฝีรำมะนาด หรือ ฝีปริทันต์ (periodontal abscess) * หินปูน (dental calculus) คือ แผ่นคราบฟันที่แข็งตัวขึ้น เนื่องจากมีแร่ธาตุเข้าไปตกตะกอน Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 3381 Word INFO : สาเหตุเบื้องต้น คือ เชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในช่องปากซึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นในสภาวะที่เหมาะสม กล่าวคือการมีคราบอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน และจากการที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้คราบอาหารเหล่านี้กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นแผ่กระจายไปบนผิวฟัน ที่เราเรียกกันว่า แผ่นคราบจุลินทรีย์ แบคทีเรียพวกนี้เมื่อมีการบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไปจะปล่อยกรดและสารพิษออกมา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ผลคือทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบและมีเลือดออก ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ แผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีแค่ส่วนตัวฟันที่อยู่เหนือขอบเหงือกเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนใต้ขอบเหงือกที่เรามองไม่เห็น ส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ลงสู่กระดูกเบ้าฟัน ผลคือทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ทำให้ล่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือกและก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ ทำให้รู้สึกเจ็บเหงือกและอาจมีอาการปวดเมื่อเคาะที่ตัวฟันและฟันโยกได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายลงเรื่อยๆจนในที่สุดก็อาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป เนื่องจากสูญเสียอวัยวะรอบฟันที่ช่วยในการยึดเกาะฟันไว้กับขากรรไกร อธิบายอีกนัยหนึ่ง คือ คราบเชื้อโรคเมื่อเกาะบนผิวฟันนานๆกลายเป็นคราบหินปูน เมื่อมีคราบหินปูนก็เป็นที่สะสมของคราบเชื้อโรคมากยิ่งขึ้น เมื่อคราบหินปูนและแบคที่เรียสะสมมากขึ้นและนานขึ้น จะเพิ่มปริมาณลึกลงไปใต้ขอบเหงือก ทำให้การอักเสบลุกลามลงไปยังอวัยวะปริทันต์ทั้งหมด จึงเกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ตามมา Ref. Link : http://www.silomdental.com/dental_thai/periodontics.html |
![]() | อาการของโรค (2) |
![]() | Word Info ID : 2042 Word INFO : ขอบเหงือกส่วนที่ติดกับฟันจะมีอาการบวมแดงและมีเลือดออกง่าย เวลาแปรงฟัน โดยไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างไร เมื่ออาการลุกลามมากขึ้น จะพบว่าเหงือกร่นคล้ายกับฟันงอกยื่นยาวขึ้น และอาจมีกลิ่นปาก Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 3416 Word INFO : อาการบ่งชี้ว่าเป็นโรคปริทันต์ 1. มีเลือดออกตามไรฟันขณะแปรงฟัน 2. เหงือกบวมแดง 3. มีกลิ่นปาก 4. เหงือกร่น 5. อาจมีหนองออกตามร่องเหงือก 6. ฟันโยก Ref. Link : http://www.silomdental.com/dental_thai/periodontics.html |
![]() | สิ่งที่ตรวจพบ (1) |
![]() | Word Info ID : 2044 Word INFO : ขอบเหงือกบวมแดง เหงือกร่น Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | โรคแทรกซ้อน (1) |
![]() | Word Info ID : 2045 Word INFO : ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เหงือก และฟันเสีย ถ้าเป็นถึงขึ้นเกิดถุงหนองในกระดูกเบ้ารากฟัน อาจทำให้กลายเป็นโลหิตเป็นพิษ (228) ได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | วิธีการรักษา (1) |
![]() | Word Info ID : 2047 Word INFO : หากสงสัยควรส่งปรึกษาทันตแพทย์ ถ้าเป็นไม่มาก อาจรักษาด้วยการขูดเอาหินปูนออก และใช้ยาบ้วนปากที่ผสมยาฆ่าเชื้อโรค ถ้าเป็นมาก อาจต้องเจาะเอาหนองออก ผ่าตัดเหงือก หรือถอนฟันทิ้ง ระหว่างที่รอปรึกษาทันตแพทย์ ถ้าเหงือกบวมและปวด สงสัยมีหนองอยู่ข้างใน อาจให้ยาแก้ปวด (ย1) และยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี (ย4.1), อะม็อกซีซิลลิน (ย4.2) หรืออีริโทรไมซิน (ย4.4) รักษาเบื้องต้นไปก่อน Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | การป้องกัน (1) |
![]() | Word Info ID : 2050 Word INFO : 1. โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดไม่ให้มีการสะสมของแผ่นคราบฟัน (แผ่นคราบจุลินทรีย์) ด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธีอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟัน หรือเดนทาสฟลอส (dental floss silk) ขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง 2. ถ้าเป็นไปได้ควรหมั่นให้ทันตแพทย์ตรวจเช็กฟัน ถ้าพบมีหินปูน จะได้ช่วยขูดหินปูนเป็นการป้องกันโรคเหงือกเสียแต่เนิ่น ๆ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | อื่นๆ (1) |
![]() | Word Info ID : 2052 Word INFO : ป้องกันรำมะนาดด้วยการแปรงฟันให้ถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟัน Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |