จำนวนบทความของคำ "หลอดเลือดอัณฑะขอด" : 5 หลอดเลือดอัณฑะขอด เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (2) |
![]() | Word Info ID : 1805 Word INFO : เส้นเลือดขอดที่ถุงอัณฑะ หมายถึง ภาวะหลอดเลือดดำขอด ซึ่งเกิดที่บริเวณถุงอัณฑะ (คล้ายกับที่พบในบริเวณขา หรือริดสีดวงทวาร) เป็นผลจากลิ้นปิดเปิดในหลอดเลือดดำบกพร่อง หรือหย่อนสมรรถภาพ ทำให้เลือดไหลย้อนกลับ ส่วนมากเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ พบบ่อยในเด็กวัยรุ่น (ประมาณ 16% ของเด็กอายุ 10-19 ปี) และชายสูงอายุ ส่วนมาก (ประมาณ 85%) จะพบเป็นที่อัณฑะข้างซ้าย เนื่องจากลักษณะทางกายวิภาคของหลอดเลือดดำ แตกต่างจากข้างขวา มักไม่มีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย แต่ถ้าเป็นข้างขวา อาจมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 3898 Word INFO : โรคเหน็บชา ยังพบได้บ่อยในท้องที่ชนบทบางแห่ง (เช่น ทางภาคอีสาน ภาคเหนือ) เนื่องมาจากการกินข้าวโรงสี (ข้าวที่ขัดสีแล้ว) และกิจเนื้อสัตว์น้อยทำให้ร่างกายได้รับวิตามินบีหนึ่ง (หรือที่เรียกว่า ไทอามีน) ไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากการกินอาหารที่มีสารทำลายวิตามินบีหนึ่ง เช่น ชา เมี่ยง หมากพลู สีเสียด ปลาร้า เป็นต้น โรคนี้ยังอาจเกิดจากภาวะที่ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น จึงมีความต้องการวิตามินบีหนึ่งสูงขึ้นด้วย เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงที่ให้นมลูก เด็กในวัยเจริญเติบโต คนที่ทำงานหนัก (เช่น กรรมกร ชาวนา) ผู้ป่วยที่มีไข้สูง หรือเป็นโรคติดเชื้อหรือคอพอกเป็นพิษ (1212) เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับเรื้อรัง (เช่นตับแข็ง) ก็อาจเป็นโรคนี้ได้ เพราะตับไม่สามารถนำวิตามินบีหนึ่งไปใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้คนที่ติดสุราเรื้อรังก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ง่าย เนื่องจากกินวิตามินบีหนึ่งไม่เพียงพอ ร่วมกับการดูดซึมของลำไส้ไม่ดี และตับทำงานได้ไม่ดี (ตับแข็ง) โรคนี้จึงมักพบในหญิงตั้งครรภ์, หญิงแม่ลูกอ่อน, ทารกที่มีแม่เป็นโรคเหน็บชาและกินนมแม่เพียงอย่างเดียว, คนวัยฉกรรจ์ที่ทำงานหนัก ร่างกายบึกบึน (เช่น กรรมกร ชาวนา) ที่กินอาหารพวกแป้งและน้ำตาลมาก แต่กินอาหารที่มีวิตามินบีหนึ่งน้อย, คนที่นิยมกินอาหารที่มีสารทำลายวิตามินบีหนึ่ง, คนที่เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น Ref. Link : http://www.clinic.worldmedic.com/disease/endo16.html |
![]() | อาการของโรค (2) |
![]() | Word Info ID : 1808 Word INFO : ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นถุงอัณฑะโตข้างหนึ่ง คลำดูมีลักษณะหยุ่น ๆ นุ่ม ๆ และมีสีคล้ำแบบหลอดเลือดดำ เมื่อนอนลงอาจยุบลงได้ อาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นไส้เลื่อน ส่วนมากจะไม่มีอาการอะไร บางคนอาจรู้สึกปวดหน่วง ๆ โดยเฉพาะเวลาอากาศร้อน หรือหลังออกกำลังกาย Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 3902 Word INFO : ในทารก มักจะมีอาการระหว่างอายุ 2-6 เดือน (พบในทารกที่กินนมแม่ และแม่กินอาหารที่ขาดวิตามินบีหนึ่ง หรืออดของแสลงหรือแม่เป็นโรคเหน็บชา) เด็กจะมีอาการร้องเสียงแหบหรือไม่มีเสียง ซึม หอบ เหนื่อย ตัวเขียว ขาบวม บางคนอาจมีอาการตากระตุก (nystagmus) หนังตาตก ชัก หรือหมดสติ การตรวจร่างกายมักจะพบรีเฟลกซ์ของข้อ (tendon reflex) น้อยกว่าปกติ หรือไม่มี และจะพบภาวะหัวใจวาย เช่น ตับโต ชีพจรเร็ว (มากกว่า 130 ครั้งต่อนาที) บวม เป็นต้น ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจตายได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในเด็กโตและผู้ใหญ่ ในระยะเริ่มแรกหรืออาการขนาดอ่อน ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อง่าย เบื่ออาหาร ท้องผูก ท้องอืดเฟ้อ ความจำเสื่อม รู้สึกชา แต่ตรวจร่างกายไม่พบสิ่งผิดปกติ ถ้าเป็นมากขึ้น จะรู้สึกชาตามมือและเท้า อาจมีอาการปวดแสบและเสียวเหมือนถูกมดกัน โดยมากจะเป็นพร้อมกันทั้งสองข้าง ผู้ป่วยจะเป็นตะคริว ปวดเจ็บที่กล้ามเนื้อน่อง แขนขาไม่มีแรง (ทดสอบโดยให้ผู้ป่วยนั่งยอง ๆ ผู้ป่วยจะลุกขึ้นไม่ได้) ถ้าเป็นมาก ๆ อาจมีอาการเป็นอัมพาต รีเฟลกซ์ของข้อในระยะแรกอาจไวกว่าปกติ แต่ในระยะหลังจะช้ากว่าปกติหรือไม่มี ในรายที่เป็นรุนแรง จะมีภาวะหัวใจวายร่วมด้วย เช่น เท้าบวม หอบเหนื่อย นอนรายไม่ได้ ชีพจรเต้นเร็ว ตับโต ปอดมีเสียงกรอบแกรบ (crepitation) เป็นต้น ในรายที่เกิดจากโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยจะมีอาการตาเหล่ตาเข (เนื่องจากกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตาเป็นอัมพาต) เดินเซ (ataxia) มีความผิดปกติทางจิต อาจหมดสติ ถึงตายได้ Ref. Link : http://www.clinic.worldmedic.com/disease/endo16.html |
![]() | วิธีการรักษา (1) |
![]() | Word Info ID : 1812 Word INFO : ถ้าไม่มีอาการอะไร ก็ไม่ต้องให้การรักษาแต่อย่างไร บางคนอาจหายได้เอง เมื่ออายุมากขึ้น ถ้ามีอาการปวดหน่วง แนะนำให้ผู้ป่วยใส่กางเกงใน รัด ๆ แต่ถ้าเป็นถุงอัณฑะข้างขวา หรือทำให้เป็นหมัน (ซึ่งอาจพบได้น้อยมาก) ควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องผ่าตัด เอาเส้นเลือดขอดออกไป แต่ผลการรักษาในการช่วยให้มีบุตร ไม่สู้จะได้ผลดีนัก Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |