จำนวนบทความของคำ "สายตาผิดปกติ ตาเข" : 13 สายตาผิดปกติ ตาเข เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (4) |
![]() | Word Info ID : 817 Word INFO : ปกติ คนเราสามารถมองเห็นภาพวัตถุต่าง ๆ โดยแสงจากวัตถุเดินทางผ่านกระจกตา (ตาดำ) และแก้วตา (เลนส์ตา) แล้วแสงจะหักเหมารวมเป็นจุดรวมแสง (โฟกัส) บนจอตา (เรตินา) ซึ่งเป็นเซลส์ประสาท ส่งสัญญาณไปที่สมอง แล้วสมองก็จะแปลผลออกมาเป็นภาพวัตถุต่างๆ กระจกตา และแก้วตา มีหน้าที่คอยปรับการหักเหของแสงให้เกิดเป็นจุดรวมแสง (คล้ายการปรับโฟกัสของเลนส์ถ่ายรูป) ถ้าจุดรวมแสง (จุดโฟกัส) ตกลงบนจอตาพอดี ก็จะทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจน ในคนบางคนจุดรวมแสงอาจตกอยู่หลังจอตา ทำให้มองเห็นภาพมัว ๆ ไม่ชัดเจน เรียกว่า สายตาผิดปกติ ที่พบบ่อยมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ สายตาสั้น สายตายาว สายตาคนสูงอายุ และสายตาเอียง ทั้ง 4 ชนิดนี้เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมากในคนทั่วไป ในที่นี้จะขอกล่าวแยกเป็นแต่ละชนิด และในตอนท้ายจะกล่าวถึง ตาเข (ตาเหล่) เพิ่มอีกโรคหนึ่ง ซึ่งบางครั้ง อาจมีสาเหตุจากสายตาผิดปกติได้ สายตาสั้น (Myopia) สายตาสั้น เป็นภาวะที่พบได้บ่อย (พบได้ประมาณ 25% ของเด็กในวัยเรียน) อาจเป็นเพียงตาข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ และสายตาทั้งสองข้าง อาจจะสั้นไม่เท่ากันก็ได้ โรคนี้ มักพบเป็นกันหลายคนในหมู่ญาติพี่น้องในครอบครัว เดียวกัน สายตาสั้น แบ่งออก 2 ชนิด ได้แก่ สายตาสั้นชนิดธรรมดา (ซึ่งพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง) และ สายตาสั้นชนิดร้าย ซึ่งพบได้น้อย แต่ร้ายแรงและเป็นตั้งแต่เกิด สายตายาว (Hypermetropia) สายตายาว พบมากในเด็กเล็กและคนสูงอายุ มักพบว่าเป็นกันหลายคนในครอบครัวเดียวกัน ในบ้านเราพบว่าเด็กประมาณ 15-20% เป็นสายตายาว คนที่สายตายาว มักจะมีความผิดปกติมาตั้งแต่เกิด แต่จะแสดงอาการเมื่อโตขึ้น เพราะมักจะเพ่งตามองเกือบตลอดเวลา เพื่อช่วยให้เห็นชัดขึ้น จนบางครั้งมีอาการปวดเมื่อยตา ในรายที่เป็นน้อย ๆ อาจไม่มีอาการแสดงอะไรเลยก็ได้ ในเด็กเล็ก อาจมีอาการตาเขร่วมด้วย และถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ตาข้างหนึ่งเสีย จนแก้ไขไม่ค่อยได้ผล สายตาคนสูงอายุ (Presbyopia) เป็นภาวะเสื่อมตามอายุ ภาวะดังกล่าวมักจะเกิดในคนแทบทุกคนเมื่ออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป สายตาเอียง (Astigmatism) สายตาเอียง หมายถึงภาวะที่แสงจากวัตถุผ่านเข้าสู่ตา ไม่รวมเป็นจุดเดียวเช่นคนปกติ แต่แสงในแนวต่างๆ เช่น แนวตั้ง แนวนอน แนวทะแยงต่างก็แยกกันรวมกันเป็นจุดในแนวของตัวเอง โดยแนวตั้งก็รวมกันที่จุดหนึ่ง แนวนอนก็รวมกันที่อีกจุดหนึ่ง ซึ่งแต่ละแนวอาจมีจุดรวมแสงตกข้างหน้าจอตา ตรงจอตา หรือหลังจอตาก็ได้ ทั้งนี้เนื่องจากกระจกตามีความโค้งในแนวต่าง ๆ ไม่เท่ากันจึงทำให้มีการหักเหของแสงต่างๆ กันไป ส่วนใหญ่มักเกิดร่วมกับสายตาสั้นหรือสายตายาว ตาเข (Strabismus) ตาเข (ตาเหล่ ตาเอก ก็เรียก) คือ อาการที่ตาสองข้างไม่อยู่แนวตรง ตาดำข้างใดข้างหนึ่งมีการเข (เฉียง) เข้าด้านใน (ทางหัวตา) เขออกด้านนอก (ทางหางตา) เฉียงขึ้น หรือเฉียงลง เนื่องจากมีภาวะผิดปกติที่ทำให้การเคลื่อนไหวลูกตาทั้งสองข้าง ขาดการประสานงานเช่นคนปกติ (คนปกติจะเคลื่อนไหวลูกตาในลักษณะที่ประสานสอดคล้องกัน เพื่อให้มองเห็นภาพเป็น 3 มิติ โดยมีสมองเป็นตัวสั่งการมาที่กล้ามเนื้อกลอกลูกตาทั้งสองข้าง) โรคนี้พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก แต่ก็อาจพบในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 6235 Word INFO : ตาส่อนเกิดจากการที่ตาข้างหนึ่งทำงานได้ไม่ดีเท่ากับตาอีกข้างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น รูปทรงของลูกตา อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับตา สายตาที่ผิดปกติ และตาเหล่ ซึ่งทำให้การมองเห็นของตาสองข้างนั้นไม่สอดคล้องกัน ทำให้สมองที่มีหน้าที่ประมวลภาพให้เป็นสามมิติเกิดความสับสน ไม่สามารถปรับการมองเห็นให้เป็นปกติอย่างที่ควรจะเป็น ก็จะมีกลไกของสมองที่จะทำให้การมองเห็นภาพที่ได้จากตาข้างที่ผิดปกติไปนี้ถูกปิดไป ไม่ยอมรับภาพจากตาข้างที่ผิดปกตินั้น โดยจะเปลี่ยนไปรับภาพจากตาข้างที่ดีเข้าไปประมวลภาพในสมองเพียงข้างเดียว ซึ่งถ้าเป็นไปนานๆ ก็จะทำให้สูญเสียการมองเห็นของตาข้างที่ผิดปกติไปอย่างถาวร ดังนั้น จึงควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ เพื่อจะได้ทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งแนวทางการรักษาก็ขึ้นกับปัญหาที่พบ เช่น ถ้าเป็นจากกล้ามเนื้อตาทำงานผิดปกติ (ตาเหล่) ก็อาจจะต้องทำการผ่าตัดแก้ไข หรือในกรณีที่เกิดจากสายตาสั้นหรือสายตายาวผิดปกติก็จำเป็นต้องใส่แว่นสายตา เพื่อช่วยให้ตาที่ผิดปกติสามารถทำงานได้ดีเป็นปกติ ก็จะแก้ไขตาส่อนได้ มักพบว่าปัญหา ตาส่อน ตาเหล่ จะเกิดร่วมกัน เพราะตาเหล่อนั้นเกิดจากการที่กล้ามเนื้อต่างๆ ที่ควบคุมการกลอกตานั้นทำงานไม่สมดุลกัน ก็จะทำให้ลูกตาข้างนั้นอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ที่ผิดไปจากตำแหน่งปกติที่ควรจะเป็น ทำให้การมองเห็นภาพเกิดเป็นภาพซ้อนขึ้น พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กที่มีปัญหาตาเหล่ จะตรวจพบได้ตั้งแต่แรกเกิดหรือตอนอายุยังน้อยๆ และอีกประมาณครึ่งหนึ่งจะเกิดขึ้นภายหลังในช่วงก่อนอายุ 5 ขวบ ซึ่งการรักษาก็จะมีตั้งแต่การปิดตาข้างหนึ่ง เพื่อเป็นการฝึกให้ตาอีกข้างหนึ่งได้ทำงาน การใส่แว่นสายตาช่วยปรับ หรือการผ่าตัด ซึ่งจักษุแพทย์ที่ดูแลจะช่วยแนะนำและเลือกวิธีการรักษาให้กับเด็กที่มีปัญหาเหล่านี้ให้เหมาะสมกับอายุ และความผิดปกติที่พบ Ref. Link : http://www.elib-online.com/doctors46/eye_child001.html |
![]() | Word Info ID : 6239 Word INFO : โรคตาเขหรือตาขี้เกียจ (ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับความขยันของเด็กนะครับ) เป็นโรคที่ทำให้ตาของเด็กมัวลง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัย และการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงที อาจทำให้ตามัวแบบถาวร และไม่สามารถแก้ไขได้เมื่อโตแล้ว Ref. Link : http://www.msu.ac.th/satit/studentProj/2546/M104/HEALTHTY/data11.html |
![]() | Word Info ID : 6245 Word INFO : ตาเขหรือตาเหล่ เป็นความผิดปกติของการมองที่มีแนวของตาไม่ขนานกัน คือตาข้างหนึ่งมองตรงไปเบื้องหน้า ในขณะที่ตาอีกข้างหนึ่งหันเข้าด้านใน,ออกนอก, ขึ้นบน หรือลงล่าง ตาอาจเขตลอดเวลา หรือเป็นบางครั้งบางคราวก็ได้ และบางครั้งตาข้างที่เขกลับตรง แต่ตาข้างที่ตรงกลับเข เรียกว่าตาเขสลับข้าง ตาเขพบได้ค่อนข้างบ่อยในเด็ก (4%) หรือเกิดเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้ อาจพบในครอบครัวเดียวกันได้หลาย ๆ คน แต่ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมาก่อน Ref. Link : http://www.thaioptometry.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic... |
![]() | สาเหตุของโรค (3) |
![]() | Word Info ID : 821 Word INFO : สายตาสั้นชนิดธรรดา มีสาเหตุจากกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ จึงมีกำลังในการหักเหแสงมากขึ้น ทำให้จุดรวมแสงของภาพของวัตถุที่อยู่ไกลตกอยู่ข้างหน้าจอตา จึงมีอาการมองไกล ๆ ไม่ชัด เชื่อว่าความผิดปกติของกระจกตา เป็นสิ่งที่เป็นมาตั้งแต่เกิด โดยเป็นธรรมชาติของคน ๆ นั้น เช่นเดียวกับความสูงเตี้ย ความสวยงามของร่างกาย อาจมีความสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์และเชื้อชาติ สายตาสั้นชนิดร้ายแรง (malignant myopia) เกิดจากความผิดปกติ ทางกรรมพันธุ์ ซึ่งสืบทอดถึงลูกหลานทำให้เกิดมามีกระบอกตา (ระยะทางจากกระจกตาถึงจอตา) ยาวกว่าปกติ จุดรวมแสงของภาพวัตถุที่อยู่ไกล ๆ จึงตกอยู่ข้างหน้าจอตา สายตายาว เนื่องจากกระบอกตาสั้นไป หรือไม่เป็นเพราะกระจกตา หรือแก้วตามีกำลังในการหักเหแสงน้อยไป ทำให้จุดรวมแสงของภาพไม่ว่าวัตถุนั้นจะอยู่ใกล้ไกลขนาดไหน ตกไปอยู่ข้างหลังของจอตา ทำให้มองเห็นไม่ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามองวัตถุที่อยู่ใกล้ จะมัวมากกว่ามองวัตถุที่อยู่ไกล สายตาคนสูงอายุ ตา คนปกติจะมองดูวัตถุไกลๆ ได้สบาย ๆ แต่ถ้าต้องดูวัตถุที่อยู่ใกล้ กล้ามเนื้อปรับสายตาจะหดตัว เพื่อปรับให้แก้วตาหนาตัว (มีความโค้ง) มากขึ้น จะได้หักเหแสงได้ดีขึ้น แต่ในคนสูงอายุ เนื่องจากความเสื่อมตามอายุ ทำให้เลนส์ตาขาดความยืดหยุ่น จึงทำให้ความสามารถในการปรับสายตาดังกล่าวลดน้อยลง จึงมีความลำบากในการมองดูวัตถุที่อยู่ใกล้ สายตาเอียง ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของกระจกตา ซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด และไม่เป็นมากขึ้นตามอายุ นอกจากนี้อาจเกิดจากแผลเป็นที่กระจกตา ทำให้ความราบเรียบของกระจกตาเปลี่ยนแปลงไป และทำให้มีการหักเหของแสงในแต่ละแนวแตกต่างกันไป ตาเข 1. ในทารกแรกเกิด สายตายังเจริญไม่เต็มที่ อาจมีอาการตาเขได้บ้าง แต่ถ้าอายุเลย 6 เดือนไปแล้ว ยังมีอาการตาเขอยู่อีก ก็ถือว่าผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากสายตาผิดปกติ (เช่น สายตาสั้น สายตายาว) หรือมีความพิการของกล้ามเนื้อที่ใช้กลอกลูกตา ซึ่งอาจเป็นมาแต่กำเนิด หรือมีเนื้องอกของลูกตา (ReTINoblastoma) 2. ถ้าอาการตาเขเกิดขึ้นในภายหลังเมื่อพ้นวัยเด็กเล็ก ก็มักจะเกิดจากกล้ามเนื้อกลอกลูกตาเป็นอัมพาตจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุ, ศีรษะได้รับบาดเจ็บ (81), เนื้องอกในสมอง (83), เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (66), เบาหวาน (117), ไมแอสทีเนียเกรวิส (79), ทริคิโนซิส (235) , อาหารเป็นพิษจากเชื้อคลอสตริเดียม (34.4) เป็นต้น Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 6240 Word INFO : สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจนี้ จะแบ่งเป็น 2 กลุ่มครับ 1. กลุ่มที่เกิดจากความบกพร่องของอวัยวะรับภาพ และแปลผลภาพ (Organic causes) ? กลุ่มนี้แย่หน่อยครับ อาจจะได้แค่วินิจฉัย แต่รักษาได้น้อยมาก หรือไม่ได้เลย ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ เช่น โรคเส้นประสาทตาฝ่อ(Optic atrophy), รอยแผลเป็นที่จุดรับภาพในจอประสาทตา(macular scar), การเสียหายของสมองส่วนที่แปลภาพจากการขาดออกซิเจน (Anoxic occipital brain damage) เป็นต้น อย่างไรก็ดี กลุ่มนี้พบได้น้อยครับ 2. กลุ่มที่เกิดจากการบดบังภาพที่เข้าสู่จอประสาทตา ? กลุ่มนี้พอรักษากันได้ไหวครับ และเป็นกลุ่มที่พบได้บ่อยกว่ากลุ่มแรกมาก ตัวอย่างเช่น โรคตาเข หรือตาเหล่ (Strabismus) : เมื่อเด็กมีตาเข หากมีปริมาณน้อย เด็กอาจจะสามารถใช้กำลังกล้ามเนื้อในการปรับตาให้ตรง และใช้ตาสองข้างในการมองเท่าๆกันได้ โรคตาขี้เกียจก็ไม่เกิดแทรกซ้อน แต่ถ้าตาเขมากๆจนเกินกำลังในการปรับ เด็กอาจใช้ตาข้างใดข้างหนึ่ง ในการมองมากกว่าตาอีกข้าง ทำให้ตาข้างที่ไม่ค่อยได้ใช้ไม่เจริญเต็มที่ และมัวในที่สุด โรคสายตาสั้น ? ยาว ?เอียง แบบไม่สมมาตร (Anisometropia) : ในเด็กบางคน อาจมีสายตาสองข้างไม่เท่ากัน เช่น ข้างขวาสั้น 100 แต่ข้างซ้ายสั้น 600 เป็นต้น ถ้าสายตาทั้งสองข้างแตกต่างกันมากพอ เด็กจะใช้ตาข้างเดียวที่ชัดกว่ามองภาพเป็นหลัก ในขณะที่ตาอีกข้างได้ใช้มองน้อย หรือไม่ได้ใช้เลย โรคที่ทำให้แสงผ่านเข้าในตาไม่ดี เช่น โรคติดเชื้อในครรภ์มารดาบางชนิดทำให้กระจกตาดำขุ่น (มักขุ่นสองข้าง แต่อาจขุ่นไม่เท่ากันได้), โรคต้อกระจกแต่แรกเกิด, โรคเลือดออกในน้ำวุ้นลูกตา, หนังตาตก ซึ่งอาจเกิดกับตาข้างเดียว หรือเกิดกับทั้งสองข้าง แต่ปริมาณไม่เท่ากัน ก็ทำให้เกิดโรคตาขี้เกียจแทรกซ้อนตามมาได้ครับ การรักษา Ref. Link : http://www.msu.ac.th/satit/studentProj/2546/M104/HEALTHTY/data11.html |
![]() | Word Info ID : 6246 Word INFO : สาเหตุที่แท้จริงยังไม่เข้าใจกันแจ่มแจ้ง เมื่อคนเรามองไปยังวัตถุอันหนึ่ง ตาทั้งสองต้องอยู่ในแนวเดียวกัน นั่นคือกล้ามเนื้อทุกมัดในตาแต่ละข้างต้องอยู่ในสมดุลและทำงานร่วมกัน และเพื่อให้ตาทั้งสองกลอกไปด้วยกัน กล้ามเนื้อในตาทั้งสองข้างจะต้องประสานกันอย่างดี สมองทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อในการกลอกตา ดังนั้นเด็กที่มีความผิดปกติทางสมองจึงพบภาวะตาเขได้บ่อย เช่น สมองพิการ, กลุ่มอาการดาวน์, น้ำคั่งในกะโหลกศีรษะ) หรือแม้แต่มีเนื้องอกในสมอง นอกจากนี้ ต้อกระจก หรือภยันตรายต่อลูกตา ซึ่งรบกวนการมองเห็น ก็เป็นสาเหตุของภาวะตาเขได้เช่นกัน Ref. Link : http://www.thaioptometry.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic... |
![]() | อาการของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 823 Word INFO : สายตาสั้น สายตาสั้นชนิดธรรมดา จะมีอาการมองไกล ๆ (เช่น มองกระดานดำ ดูโทรทัศน์) ไม่ชัด ต้องคอยหยีตา แต่มองใกล้หรืออ่านหนังสือได้ชัดเจน โดยทั่วไปจะเริ่มมีอาการแสดงในระยะที่เริ่มเข้าโรงเรียน และจะค่อย ๆ เป็นมากขึ้น เรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 25 ปี จึงอยู่ตัวไม่สั้นมากขึ้น สายตาสั้นชนิดนี้ จะไม่สั้นมาก และไม่มีภาวะแทรกซ้อนแต่อย่างใด สายตาสั้นชนิดร้าย จะมีอาการสายตาสั้นขนาดมาก ๆ มาตั้งแต่เกิด จะสังเกตเห็นเมื่อเด็กเริ่มหัดเดิน มักจะเดินชนถูกสิ่งกีดขวาง หกล้มบ่อยๆ หรือเวลามองดูอะไรต้องเข้าไปใกล้ ๆ จนตาแทบชิดกับวัตถุที่มอง ต้องสวมแว่นหนา ๆ อาจต้องเปลี่ยนแว่นแรงขึ้นเรื่อย ๆ และอาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น มีเลือดออกที่จอตา จอตาฉีกขาด หรือหลุดลอย เป็นต้น ซึ่งทำให้ตาบอดได้ ในเด็กเล็ก ถ้าสายตาสั้นมาก ๆ อาจมีอาการตาเขร่วมด้วย สายตายาว จะมองวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่ชัด แต่มองวัตถุที่อยู่ไกลชัด บางครั้งอาจมีอาการปวดเมื่อยตา เพราะต้องเพ่งตามองวัตถุที่อยู่ใกล้จนกล้ามเนื้อตาล้า สายตาคนสูงอายุ จะมีอาการมองใกล้ไม่ชัด แต่มองไกลชัด เวลาอ่านหนังสือต้องถือหนังสือออกไปไกลตา จนบางครั้งยื่นออกไปจนสุดแขน และอาจมีอาการปวดเมื่อยตา มักทำงานระยะใกล้ ๆ (เช่น เย็บผ้า สนเข็ม) ไม่ได้ คนที่เป็นสายตาสั้นอยู่ก่อน อาจสังเกตว่าต้องถอดแว่นสายตาสั้นออก เมื่อต้องอ่านหนังสือในระยะใกล้ตา โดยสามารถถือหนังสือให้ห่างจากตาเท่ากับคนอายุน้อยที่สายตาปกติ สายตาเอียง คนที่สายตาเอียงจะมีอาการสายตามัว มองเห็นไม่ชัดอาจเป็นลักษณะสายตาสั้น หรือสายตายาวก็ได้ ต้องหยีตา อาจมีอาการคอเอียงเพื่อให้การเห็นดีขึ้น บางคนอาจต้องเพ่งสายตาจนรู้สึกปวดเมื่อยตา ตาเข ถ้าเป็นมาตั้งแต่กำเนิด เด็กมักจะไม่มีอาการอะไรนอกจากตาเข แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ไม่รีบแก้ไข ตาข้างที่เขจะมีสายตาพิการได้ ทั้งนี้เพราะเด็กจะไม่ใช้ตาข้างนั้นในการมอง (เพื่อหลีกเลี่ยงการเห็นภาพซ้อน โดยใช้ตาข้างที่ดีเพียงข้างเดียว) เมื่อไม่ใช้ตาข้างนั้นนาน ๆ เข้า สายตาก็จะลดลงไปเรื่อย ๆ จนตาบอดในที่สุด เราเรียกภาวะนี้ว่า ตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในรายที่เป็นตาเขตอนโต มักจะมีอาการเห็นภาพสองภาพ (ภาพซ้อน) ร่วมด้วย และอาจมีอาการของโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน เป็นต้น Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | วิธีการรักษา (4) |
![]() | Word Info ID : 826 Word INFO : สายตาสั้น หากสงสัย ควรแนะนำไปตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาล ถ้าเป็นสายตาสั้น ต้องแก้ไขด้วยการใส่แว่นชนิดเลนส์เว้า ในรายที่เป็นสายตาสั้นชนิดร้าย ควรตรวจวัดสายตา และปรับเปลี่ยนแว่นเป็นระยะ ๆ สายตายาว หากสงสัย ควรไปตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาลและตัดแว่นชนิดเลนส์นูนใส่ จะช่วยให้เห็นชัด และหายปวดตา เมื่ออายุมากขึ้น อาจต้องเปลี่ยนแว่นทุก 2-3 ปี เนื่องจากกำลังในการหักเหแสงของตาจะอ่อนลงตามอายุ สายตาคนสูงอายุ หากสงสัย ควรไปตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาล และตัดแว่นชนิดเลนส์นูนใส่ เพื่อช่วยให้มองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ดีขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น อาจต้องเปลี่ยนแว่นให้หนาขึ้นทุก 2-3 ปี เนื่องจากกำลังในการหักเหแสงของตาจะอ่อนลงตามอายุ ในคนที่เป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงอยู่ก่อน อาจต้องใช้แว่นสายตา 2 อัน เพื่อใช้มองไกลอันหนึ่งและมองใกล้อันหนึ่ง หรืออาจใช้แว่นชนิด 2 ชั้นเพียงอันเดียว ซึ่งชั้นบนใช้มองไกล และชั้นล่างใช้มองใกล้ สายตาเอียง หากสงสัย ควรแนะนำไปตรวจวัดสายตาที่โรงพยาบาล ถ้าเป็นสายตาเอียง ต้องแก้ไขด้วยการใส่แว่นชนิดเลนส์ทรงกระบอก ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นได้ชัดขึ้น สายตาเข 1. ถ้าพบอาการตาเขเป็นครั้งคราวในทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน ควรเฝ้าติดตามดูอาการไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีสาเหตุที่ผิดปกติ ก็มักจะหายได้เองเมื่ออายุได้ 6 เดือน ถ้าอายุพ้น 6 เดือนแล้วยังไม่หาย ควรปรึกษาจักษุแพทย์ 2. ถ้าทารกมีอาการตาเขตลอดเวลา หรือพบในเด็กอายุมากกว่า 6 เดือน ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาลโดยเร็ว หากปล่อยทิ้งไว้ ตาข้างที่เขอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจจนถึงตาบอดได้ การรักษา อาจฝึกการใช้ตาข้างที่เข โดยการปิดตาข้างที่ดี วันละหลายชั่วโมง เพื่อให้ตาข้างที่เขได้ทำหน้าที่บ้าง ถ้ามีภาวะสายตาสั้น หรือสายตายาว ควรตัดแว่นตาใส่ การรักษาโดยวิธีดังกล่าวอาจช่วยให้เด็กบางคนหายตาเขได้ภายในไม่กี่เดือน ถ้าตาเขมาก อาจต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัด การรักษาจะได้ผล เมื่อกระทำก่อนเด็กอายุได้ 7 ปีเพราะหลังวัยนี้ไปแล้ว ตาข้างที่เข อาจมีสายตาพิการอย่างถาวรจนยากที่จะแก้ไขได้ 3. ถ้าพบอาการตาเขในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ที่สงสัยว่าอาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ควรส่งปรึกษาจักษุแพทย์ ซึ่งจะได้ทำการตรวจหาสาเหตุ และให้การรักษาตามสาเหตุที่พบ ส่วนใหญ่ภายหลังการรักษาโรคที่เป็นสาเหตุให้หายแล้ว อาการตาเขมักจะหายได้ แต่ถ้าไม่หาย อาจต้องใส่แว่นหรือทำผ่าตัดแก้ไข Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 6241 Word INFO : 1. ถ้าพบว่ามีสาเหตุ ก็แก้ที่สาเหตุ เช่น ถ้าตาขี้เกียจเกิดจากต้อกระจกในตาข้างใดข้างหนึ่ง (เราอาจมองเห็นว่าตรงกลางตาดำของเด็กดูขาวๆกว่าปกติ) ก็อาจพิจารณาผ่าตัดลอกต้อกระจกนั้นออกได้ เพื่อให้เด็กได้ใช้ตาข้างนั้นมอง, ถ้าเด็กมีปัญหาสายตาสั้นยาวไม่เท่ากันมากๆ ก็อาจแก้ไขด้วยการใช้แว่น เพื่อให้ทั้งสองตาเห็นชัดเท่าๆหรือใกล้เคียงกัน เด็กจะได้ใช้ตาทั้งสองข้าง เป็นต้น 2. กระตุ้นให้เด็กใช้ตาข้างที่เป็นโรคตาขี้เกียจมองมากขึ้น มีหลายวิธีครับ - ที่นิยมที่สุดเป็นวิธีที่อาจจะฟังแล้วทะแม่งๆนิดหน่อย คือ การปิดตาข้างที่เห็นดีกว่าเสียเลย จะได้ให้เด็กใช้ตาข้างที่ขี้เกียจมาทำงานบ้าง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของคุณพ่อคุณแม่มากหน่อย - หยอดยาให้ตาข้างที่เห็นชัดมัวลง (มัวแบบชั่วคราวตามระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ไม่ใช่มัวแบบถาวรแทนอีกข้างนะครับ) โรคนี้ ถ้าวินิจฉัยถูก และให้การรักษาได้ทันท่วงที ก็มีโอกาสที่เด็กจะมองเห็นได้เป็นปกติครับ ซึ่งก็มักต้องอาศัยความร่วมมือจากคุณพ่อคุณแม่ของน้องเค้ามากๆหน่อย แต่ถ้ารักษาช้า หรือพ่อแม่ให้ความร่วมมือน้อย เช่น ขอให้ปิดตาข้างที่ดีกว่า ก็ปิดบ้างไม่ปิดบ้าง ก็อาจได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลเลยครับ หรือในบางกรณี ถ้าโรคที่เป็นมีความรุนแรงมาก การรักษาที่สาเหตุได้ผลน้อย เช่น ต้อกระจกแต่กำเนิด หรือโรคติดเชื้อในครรภ์ ก็อาจได้ผลไม่เต็มร้อย แม้จะรักษาเร็วและถูกต้องก็ตามครับ เอาเป็นว่า - ถ้ามีอะไรผิดปกติ หรือสงสัยว่าจะมีปัญหาเรื่องนี้ ให้ลองปรึกษาหมอเด็ก หรือไม่ก็พาไปหาหมอตาเลยนะครับ อย่ารอ บางครั้งกว่าจะรอให้โตเสียหน่อยแล้วค่อยพาไปก็สายเกินแก้ครับผม - ถ้ามีอะไรแปลกๆ เช่น น้องเห็นแต่ของเล่นที่ใกล้มากๆ, ดูตาเหล่ๆตลอดเวลา หรือดูเหล่ๆเป็นบางครั้ง, จำหน้าพ่อแม่ไม่ได้, ชนโน่นชนนี่บ่อยเกินไป, เห็นตาดำดูผิดปกติ ตาดูโตไม่เท่ากัน, หนังตาข้างใดข้างหนึ่งตาๆลงมา ทำให้เห็นตาเปิดกว้างไม่เท่ากัน เป็นต้น ก็ไปหาหมอเลยครับ Ref. Link : http://www.msu.ac.th/satit/studentProj/2546/M104/HEALTHTY/data11.html |
![]() | Word Info ID : 6247 Word INFO : การรักษาภาวะตาเขในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีเป้าหมายเพื่อ 1. รักษาสายตาให้มองเห็นชัดเป็นปกติ 2. ทำให้ตาตรง 3. ฟื้นฟูการใช้สายตาสองข้างร่วมกัน (เห็นภาพสามมิติ) นอกจากนี้ในผู้ใหญ่ ยังช่วยแก้ไขอาการปวดล้าตา ขจัดภาพซ้อน และสร้างความมั่นใจกับตนเองในการเข้าสังคม เพิ่มโอกาสในการดำเนินชีวิต อาชีพการงาน ส่งผลให้เศรษฐฐานะของตนเองและครอบครัวดีขึ้น หลังจากที่ตรวจตาเสร็จสมบูรณ์แล้ว จักษุแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยได้ วิธีรักษาแบ่งเป็นสามวิธีที่สำคัญคือ 1. สวมแว่นสายตา 2. ปิดตาเพื่อรักษาตาขี้เกียจ 3. ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา ส่วนวิธีอื่น ๆ ได้แก่การสวมแว่นที่มีปริซึม หรือการฝึกกล้ามเนื้อตา เป็นต้น บางรายอาจต้องใช้มากกว่า 1 วิธีเพื่อการรักษาที่ดีที่สุด การเลือกวิธีการรักษา แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย _________________ Ref. Link : http://www.thaioptometry.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic... |
![]() | Word Info ID : 10421 Word INFO : เลเซอร์คือลำแสงที่ได้รับการกระตุ้นให้มีพลังงานเพิ่มมากขึ้นจนสามารถนำมาใช้งาน ด้านต่างๆได้ ในทางจักษุวิทยาใช้แสงเลเซอร์ในการรักษาเบาหวานขึ้นตา ต้อกระจกหลังผ่าตัด แล้ว ต้อหินและสามารถนำมาใช้รักษาสายตาผิดปกติได้ สายตาผิดปกติได้แก่สายตาสั้นซึ่งพบบ่อยที่สุด รองลงมาคือสายตายาวและสายตาเอียง ซึ่งสาเหตุของความผิดปกตินี้ส่วนใหญ่เกิดจากพันธุกรรมทำให้มีความผิดปกติของความโค้ง ของกระจกตา เลนส์แก้วตาและความยาวของลูกตาทำให้เห็นภาพได้ไม่ชัดเจน ความผิดปกติของสายตานี้สามารถแก้ไขให้เห็นชัดได้โดยการใช้แว่นสายตาหรือเลนส์ สัมผัส แต่อาจไม่เป็นที่พอใจของผู้ใช้บางรายได้ในขณะนี้ได้มีการนำเอาแสงเลเซอร์มาใช้เพื่อ แก้ไขสายตาผิดปกติแล้ว ซึ่งผู้ป่วยควรได้รับทราบถึงข้อดีข้อเสีย และการเตรียมตัวรักษาด้วย แสงเลเซอร์ไว้คร่าวๆ ในขณะนี้การรักษาสายตาผิดปกติด้วยเลเซอร์นี้นิยมใช้วิธีที่เรียกว่า LASIK ซึ่งทำโดย หลังจากได้รับการหยอดยาชาแล้วขั้นแรกจะใช้เครื่องมือฝานแยกกระจกตาชั้นผิวออกพับไว้ ด้านข้างแล้วใช้แสงเลเซอร์มาเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาตามที่ได้คำนวณไว้โดยคอมพิว เตอร์ แล้วจึงปิดชั้นผิวของกระจกตากลับไว้ตามเดิมโดยไม่ต้องเย็บ ซึ่งทั้งหมดจะใช้เวลา ประมาณ 15 นาที หลังจากนั้นจะหยอดยาปฏิชีวนะแล้วใส่ที่ครอบตาไว้เพื่อกันการขยี้ตา และ นัด มาตรวจในวันรุ่งขึ้น และเป็นระยะๆเพื่อดูผลข้างเคียงและวัดระดับสายตาที่เปลี่ยนไป ผู้ป่วยที่เหมาะสมในการรักษาด้วยวิธี LASIK นี้ได้แก่ 1.ควรมีอายุอย่างน้อย 18 ปีขึ้นไป โดยมีระดับสายตาคงที่มาอย่างน้อย 1 ปี โดยไม่มีโรคของกระจกตา และโรคตาอย่างอื่นที่รุนแรง เช่น ต้อหิน ประสาทตาเสื่อม ตาติดเชื้อ ตาแห้ง ผิวตาเสื่อม และไม่เป็นโรคเบาหวาน 2.ในรายที่ใส่เลนส์สัมผัสอยู่ ควรหยุดการใส่มาอย่างน้อย 2 สัปดาห์สำหรับเลนส์สัมผัสชนิดนิ่ม และอย่างน้อย 1 เดือนสำหรับเลนส์สัมผัสชนิดแข็ง ผู้ที่ไม่เหมาะสมที่จะรับการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรค SLE โรคปวดข้อ เบาหวาน และผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ก่อนการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการตรวจตาอย่างละเอียด วัดสายตาอย่างถูกต้องวัดความ หนาของกระจกตา ตรวจดูสภาพความโค้งของกระจกตา ตลอดจนตรวจดูจอรับภาพและ ประสาทตา การใช้แสงเลเซอร์รักษาด้วยวิธี LASIK นี้ ขณะที่ยิงเลเซอร์อาจมีความรู้สึกเจ็บปวดเล็ก น้อยหรือไม่มีเลย เมื่อยาชาหมดฤทธิ์อาจมีการเคืองตาน้ำตาไหลบ้างในวันแรก ซึ่งจะลดลง ในวันรุ่งขึ้น การรักษาด้วยวิธี LASIK นี้จะได้ผลดี 85-90% ในผู้ที่มีสายตาสั้นน้อยกว่า ?6.00 D สำหรับสายตาสั้น ?6.00-10.00 D ได้ผลดีประมาณ 70% ผลข้างเคียงของการรักษาวิธีนี้คือ มีอาการเคืองตาน้ำตาไหลในวันแรก ระดับสายตามีการ เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ในเดือนแรก อาจเห็นแสงกระจายหรือสีรุ้งรอบดวงไฟในเวลากลางคืน ซึ่ง จะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น พบกระจกตามีฝ้าขาวได้ในบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายที่ใช้ การรักษาโดยแสงเลเซอร์อย่างเดียวโดยไม่ได้ทำการฝานกระจกตาก่อน ค่าใช้จ่ายในการรักษาสายตาผิดปกติด้วยแสงเลเซอร์นี้ประมาณครั้งละ 20,000-25,000 บาทต่อหนึ่งข้าง ซึ่งไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=59 |
![]() | คำแนะนำ (1) |
![]() | Word Info ID : 828 Word INFO : สายตาสั้น 1. ตามโรงเรียนต่างๆ ควรมีีแผ่นวัดสายตา (Snellen chart) ไว้ตรวจวัดสายตานักเรียนทุกคน ถ้าพบว่าผิดปกติ จะได้ส่งเด็กไปตรวจที่โรงพยาบาล และตัดแว่นใส่ 2. สายตาสั้นไม่ใช่เกิดจากการใช้สายตามากเกินไป (เช่น ดูหนังสือมาก) ดังที่เข้าใจกันทั่วไป แต่เป็นเพราะธรรมชาติของคน ๆ นั้น ที่เกิดมามีโครงสร้างของตา (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระจกตาดำ แก้วตา กระบอกตา) ที่ทำให้สายตาสั้น เช่นเดียวกับที่บางคนเกิดมาสูง บางคนเตี้ย ดังนั้น จึงไม่มีวิธีป้องกันและยารักษาที่ได้ผลแน่นอน นอกจากเมื่อเป็นแล้วค่อยใส่แว่นแก้ไข 3. คนที่สายตาสั้น จะใส่แว่นประจำหรือไม่ ก็ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของสายตา ความเชื่อที่ว่าใส่แว่นประจำ หรือเปลี่ยนแว่นบ่อย ๆ ทำให้ตาสั้นมากขึ้น จึงไม่เป็นความจริง ถ้าสายตาจะสั้นมากขึ้น ก็เพราะธรรมชาติของคน ๆ นั้น โดยทั่วไปเมื่ออายุประมาณ 25 ปี สายตามักจะอยู่ตัวไม่ต้องเปลี่ยนแว่นบ่อย 4. ในปัจจุบันนี้วิธีรักษาโรคนี้ด้วยการผ่าตัดกรีดกระจกตาเป็นแฉก ๆ บริเวณรอบนอกของกระจกตา (Radial keratotomy) ให้ลดความโค้งลง เพื่อให้จุดรวมแสงตกบนจอตาพอดี, หรือใช้แสงเลเซอร์ไปทำลายพื้นผิวตรงกลางกระจกตาให้แบนราบลง (Photorefractive keratectomy) วิธีเหล่านี้ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญโดยเฉพาะ สายตายายาว 1. สายตายาว บางครั้งอาจวินิจฉัยได้ยาก หรือวินิจฉัยผิดว่าเป็นสายตาสั้น ดังนั้น ทางที่ดีควรให้แพทย์ผู้ชำนาญเป็นผู้ตรวจวินิฉัย 2. คนที่สายตายาว ควรหมั่นตรวจเช็กสายตาเป็นประจำ เพราะอาจต้องเปลี่ยนแว่นบ่อยเมื่ออายุมากขึ้น สายตาเข อาการตาเขที่พบในทารกและเด็กเล็ก ควรนึกไว้เสมอว่า อาจมีสาเหตุผิดปกติซ่อนเร้นอยู่ อย่าเข้าใจผิดว่า โตขึ้นจะหายได้เอง มิเช่นนั้น เด็กอาจตาเขและตาบอดได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |