จำนวนบทความของคำ "วัณโรคปอด" : 50 วัณโรคปอด เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (8) |
![]() | Word Info ID : 678 Word INFO : วัณโรค เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งคนในเมือง และชนบทโดยเฉพาะตามแหล่งสลัม หรือในที่ ๆ ผู้คนอยู่กันแออัด ชาวบ้าน เรียกว่า ฝีในท้อง มักจะพบในเด็ก, คนแก่, คนที่เป็นโรคเอดส์ หรือเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคไต หรือโรคเอสแอลอี ที่ต้องกินยาเพร็ดนิโซโลนอยู่นาน ๆ, พวกที่ติดยาเสพติด, คนที่ร่างกายอ่อนแอจากการเป็นโรคอื่น ๆ มาก่อน (เช่น หัด ไอกรน ไข้หวัดใหญ่), คนที่ตรากตรำงานหนักพักผ่อนไม่เพียงพอ, ดื่มเหล้าจัด, ขาดอาหาร ปัจจุบัน พบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นวัณโรคแทรกซ้อนกันมาก และทำให้วัณโรคปอดที่เคยลดลง มีการแพร่กระจายมากขึ้น Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 5392 Word INFO : เป็นโรคที่พบบ่อยในคนที่มีร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานโรคต่ำ Ref. Link : http://72.14.235.104/search?q=cache:oNA_BsP1QlUJ:www.thaiabc.com/da... |
![]() | Word Info ID : 5397 Word INFO : วัณโรคปอด จะพบได้บ่อยในผู้ที่มีภูมิต้านทานในร่างกายต่ำ(โดยเฉพาะคนไข้ติดเชื้อเอดส์) คนไข้เบาหวาน ตับแข็ง โรคไต ผู้ที่ติดยาเสพติด ดื่มเหล้าจัด หรือพบได้มากในบริเวณที่มีคนอยู่กันอย่างแออัด แต่เราๆ ท่านๆ ที่คิดว่าตนเองมีสุขภาพดีไม่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็สามารถเป็นได้ จึงไม่ควรประมาท การรู้เท่าทันเพื่อป้องกันเอาไว้ก่อนจะปลอดภัยกว่า วัณโรคปอด(มีบางท่านอาจคุ้นเคยในชื่อเรียกย่อๆ ว่า ทีบี(T.B.)เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กมากชื่อ ไมโครแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซีส(Mycobacterium tyberculosis) จริงๆ แล้วเชื้อตัวนี้สามารถก่อให้เกิดโรคได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย มิใช่เฉพาะที่ปอดอย่างที่บางท่านเข้าใจ Ref. Link : http://www.bcnlp.ac.th/stu/mycobacterium.htm |
![]() | Word Info ID : 5403 Word INFO : วัณโรค เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งคนในเมือง และชนบทโดยเฉพาะตามแหล่งสลัมหรือในที่ ๆ ผู้คนอยู่กันแออัด ชาวบ้าน เรียกว่า ฝีในท้อง มักจะพบในเด็ก, คนแก่, คนที่เป็นโรคเอดส์ หรือเบาหวาน, ผู้ป่วยโรคไต หรือ โรคเอสแอลอี ที่ต้องกินยาเพร็ดนิโซโลนอยู่นาน ๆ, พวกที่ติดยาเสพติด, คนที่ร่างกายอ่อนแอจากการเป็นโรค อื่น ๆ มาก่อน (เช่น หัด ไอกรน ไข้หวัดใหญ่), คนที่ตรากตรำงานหนักพักผ่อนไม่เพียงพอ, ดื่มเหล้าจัด, ขาด อาหาร ปัจจุบัน พบว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ เป็นวัณโรคแทรกซ้อนกันมาก และทำให้วัณโรคปอดที่เคยลดลง มีการ แพร่กระจายมากขึ้น ที่สำคัญเมื่อเข้ารับการรักษาควรต้องรับการรักษาให้จบขั้นตอนตามที่แพทย์กำหนด โดยเคร่งครัด มิฉะนั้นจะทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยาเพิ่มมากขึ้น ทำให้เป็นปัญหาลำบากในการรักษาต่อไป Ref. Link : http://www.thailabonline.com/respirat-tb.htm |
![]() | Word Info ID : 5411 Word INFO : วัณโรคปอด เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เล็กมาก ชื่อ Mycobacterium tuberculosis complex สามารถทำให้เกิดวัณโรคได้กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกาย แต่ที่พบและเป็นปัญหามากในปัจจุบัน คือ "วัณโรคปอด" หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากติดต่อได้ง่าย โดยระบบทางเดินหายใจและมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ Ref. Link : http://www.yanhee.co.th/yhh/th/gnr/gnr_gen_mtc.asp |
![]() | Word Info ID : 5418 Word INFO : วัณโรค เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งคนในเมืองและชนบทโดยเฉพาะตามแหล่งสลัม หรือในที่ๆ ผู้คนอยู่กันแออัด ชาวบ้านเรียกว่า ฝีในท้องมักจะพบในเด็ก,คนแก่,คนที่เป็นโรคเบาหวาน,ผู้ป่วยโรคไตหรือโรคเอสแอสอีที่ต้องกินยาเพร็ดนิโซโลนอยู่นานๆ ,พวกที่ติดยาเสพติด,คนที่ร่างกายอ่อนแอจากการเป็นโรคอื่นๆมาก่อน(เช่น หัด ไอกรน ไข้หวัดใหญ่)คนที่ตรากตรำงานหนักพักผ่อนไม่พอ,ดื่มเหล้าจัด,ขาดอาหาร Ref. Link : http://www.geocities.com/rtatfet/rosmary3.html |
![]() | Word Info ID : 5426 Word INFO : วัณโรคในคน เกิดจากเชื้อมัยโคแบคทีเรีย ที่เข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางเดินหายใจ ในรูปละอองเสมหะ บุคคลที่มีโอกาสติดเชื้อง่าย ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน, ติดเหล้า, และภูมิคุ้มกันบกพร่อง นอกจาก การเกิดโรคที่ปอดแล้ว ยังสามารถกระจาย ไปก่อโรค ยังอวัยวะต่างๆ ได้ทั่วร่างกาย เช่น ต่อมน้ำเหลือง, เยื่อหุ้มสมอง, กระดูก ฯลฯ ปัจจุบัน คนไทยป่วย เป็นวัณโรครายใหม่ ประมาณปีละ 5 หมื่นคน โดยที่ 1 ใน 20 จะเสียชีวิตจากโรคนี้ Ref. Link : http://www.thaichest.org/nuke/modules.php?name=News&file=article&si... |
![]() | Word Info ID : 5430 Word INFO : วัณโรคเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Mycobacterium tuberculosis เชื้อวัณโรคมีความคงทนต่อความแห้งได้ และสามารถแขวนอยู่กับฝุ่นละอองได้นาน เมื่อพูดถึงวัณโรคชาวบ้านทั่วไปมักจะนึกถึงโรคปอด คือ วัณโรคปอด เพียงอย่างเดียว ความจริงวัณโรคอาจเป็นได้ในทุก ๆ อวัยวะของร่างกาย เช่น ลำไส้ ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ผิวหนังและเยื่อหุ้มสมอง แต่วัณโรคมักเป็นที่ปอด มากกว่าอวัยวะอื่น Ref. Link : http://medinfo.psu.ac.th/departments/pathology/Education/Mc/index.htm |
![]() | สาเหตุของโรค (4) |
![]() | Word Info ID : 683 Word INFO : เกิดจากเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) บางครั้งเรียกว่า เชื้อเอเอฟบี (AFB/Acid Fast Bacilli) วัณโรคปอดมักจะติดต่อโดยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ไอจาม หรือหายใจรด ซึ่งจะสูดเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอดโดยตรง ดังนั้น จึงมักมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด (เช่น นอนห้องเดียวกัน หรืออยู่บ้านเดียวกัน ) กับคนที่เป็นโรค ส่วนการติดต่อโดยทางอื่นนับว่ามีโอกาสน้อยมาก ที่อาจพบได้ก็โดยการดื่มนมวัวดิบ ๆ ที่ได้จากวัวที่เป็นวัณโรค หรือโดยการกลืนเอาเชื้อที่ติดมากับอาหารหรือภาชนะ เชื้อจะเข้าทางต่อมทอนซิลหรือลำไส้ แล้วเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งบางครั้งอาจลุกลามเข้ากระแสเลือดไปยังปอด สมอง กระดูก ไต หรืออวัยวะอื่น ๆ ได้ ผู้ป่วยมักจะได้รับเชื้อวัณโรคเข้าไปในร่างกายครั้งแรกในระยะที่เป็นเด็ก (บางคนอาจได้รับเชื้อตอนโตก็ได้) โดยไม่มีอาการแสดงแต่อย่างไร ยกเว้นบางคนอาจมีอาการของปอดอักเสบเล็กน้อยอยู่สักระยะหนึ่งแล้วหายไปได้เอง ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นกำจัดเชื้อวัณโรค คนส่วนมากที่ได้รับเชื้อวัณโรคครั้งแรก จึงมักจะแข็งแรงเป็นปกติดี แต่อย่างไรก็ตาม เชื้อวัณโรคที่ยังอาจหลงเหลืออยู่บ้าง ก็จะหลบซ่อนอยู่ในปอดและอวัยวะอื่น ๆ อย่างสงบนานเป็นแรมปี ตราบใดที่ร่างกายแข็งแรงดี ก็จะไม่เกิดโรคแต่อย่างไร แต่ถ้าต่อมา (อาจเป็นเวลาหลายปีหรือสิบ ๆ ปี) เมื่อร่างกาย เกิดอ่อนแอด้วยสาเหตุใดก็ตาม เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะแบ่งตัวเจริญงอกงามจนทำให้เกิดเป็นวัณโรคขึ้นได้ โดยไม่ต้องรับเชื้อมาจากภายนอก ส่วนมากจะเกิดเป็นวัณโรคของปอด ซึ่งจะแสดงอาการดังจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนี้ คนบางคนที่รับเชื้อวัณโรคเข้าร่างกายครั้งแรก เชื้ออาจจะลุกลามจนกลายเป็นวัณโรคในทันทีได้ ซึ่งอาจกลายเป็นวัณโรคร้ายแรงได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 5393 Word INFO : สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis) Ref. Link : http://72.14.235.104/search?q=cache:oNA_BsP1QlUJ:www.thaiabc.com/da... |
![]() | Word Info ID : 5404 Word INFO : เกิดจากเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis) บางครั้งเรียกว่า เชื้อเอเอฟบี (AFB/AcidFast Bacilli) วัณโรคปอดมักจะติดต่อโดยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ไอจามหรือหายใจรด ซึ่งจะสูดเอาเชื้อ วัณโรคเข้าไปในปอดโดยตรง ดังนั้นจึงมักมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด (เช่น นอนห้องเดียวกัน หรืออยู่บ้านเดียวกัน ) กับคนที่เป็นโรค ส่วนการติดต่อโดยทางอื่นนับว่ามีโอกาสน้อยมาก ที่อาจพบได้ก็โดยการดื่มนมวัวดิบๆ ที่ได้จากวัวที่เป็นวัณโรค หรือโดยการกลืนเอาเชื้อที่ติดมากับอาหารหรือภาชนะเชื้อจะเข้าทางต่อมทอนซิล หรือลำไส้ แล้วเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งบางครั้งอาจลุกลามเข้ากระแสเลือดไปยังปอด สมอง กระดูก ไต หรืออวัยวะอื่น ๆ ได้ ผู้ป่วยมักจะได้รับเชื้อวัณโรคเข้าไปในร่างกายครั้งแรกในระยะที่เป็นเด็ก (บางคนอาจ ได้รับเชื้อตอนโตก็ได้) โดยไม่มีอาการแสดงแต่อย่างไร ยกเว้นบางคนอาจมีอาการของปอดอักเสบเล็กน้อยอยู่สักระยะหนึ่งแล้วหายไปได้เอง ร่างกายจะสร้างภูมิต้าน ทาน ขึ้นกำจัดเชื้อวัณโรค คนส่วนมากที่ได้รับเชื้อวัณโรคครั้งแรก จึงมักจะแข็งแรงเป็นปกติดี แต่อย่างไรก็ ตาม เชื้อวัณโรคที่ยังอาจหลงเหลืออยู่บ้าง ก็จะหลบซ่อนอยู่ในปอดและอวัยวะอื่น ๆ อย่างสงบนานเป็นแรมปี ตราบใดที่ร่างกายแข็งแรงดี ก็จะไม่เกิดโรคแต่อย่างไร แต่ถ้าต่อมา (อาจเป็นเวลาหลายปีหรือสิบ ๆปี) เมื่อ ร่างกาย เกิดอ่อนแอด้วยสาเหตุใดก็ตาม เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะแบ่งตัวเจริญงอกงามจนทำให้เกิดเป็นวัณโรค ขึ้นได้ โดยไม่ต้องรับเชื้อมาจากภายนอกส่วนมากจะเกิดเป็นวัณโรคของปอด ซึ่งจะแสดงอาการดังจะได้กล่าว ต่อไป นอกจากนี้ คนบางคนที่รับเชื้อวัณโรคเข้าร่างกายครั้งแรก เชื้ออาจจะลุกลามจนกลายเป็นวัณโรคในทันทีได้ ซึ่งอาจกลายเป็นวัณโรคร้ายแรงได้ Ref. Link : http://www.thailabonline.com/respirat-tb.htm |
![]() | Word Info ID : 5419 Word INFO : เกิดจากเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (mycrobacterrium tuberculosis) บางครั้งเรียกว่า เชื้อเอเอฟบี (AFB/Acid Fast Bacilli) วัณโรคปอดมักจะติดต่อโดยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ไอจามหรือหายใจรด ซึ่งจะสูดเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอดโดยตรง ดังนั้น จึงมักมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด(เช่น นอนห้องเดียวกัน หรืออยู่บ้านเดียวกัน)กับคนที่เป็นโรค ส่วนการติดต่อโดยทางอื่นนับว่ามีโอกาสน้อยมากที่อาจพบได้ก็โดยการดื่มนมวัวดิบๆ ที่ได้จากวัวที่เป็นวัณโรค หรือโดยการกลืนเอาเชื้อที่ติดมากับอาหารหรือภาชนะ เชื้อจะเข้าทางต่อมทอนซิลหรือลำใส้ แล้วเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งบางครั้งอาจลุกลามเข้ากระแสเลือดไปยังปอด สมอง กระดูก ไต หรืออวัยวะอื่นๆ ได้ ผู้ป่วยมักจะได้รับเชื้อวัณโรคเข้าไปในร่างกายครั้งแรกในระยะที่เป็นเด็ก(บางคนอาจได้รับเชื้อตอนโตก็ได้)โดยไม่มีอาการแสดงแต่อย่างไร ยกเวันบางคนอาจมีอาการของปอดอักเสบเล็กน้อยอยู่สักระยะหนึ่งแล้วหายไปได้เองร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นกำจัดเชื้อวัณโรค คนส่วนมากที่ได้รับเชื้อวัณโรคครั้งแรก จึงมักจะแข็งแรงเป็นปกติดีแต่อย่างไรก็ตาม เชื้อวัณโรคที่ยังอาจหลงเหลืออยู่บ้างก็จะหลบซ่อนอยู่ในปอดและอวัยวะอื่นๆ อย่างสงบนานเป็นแรมปี ตราบใดที่ร่างกายแข็งแรงดีก็จะไม่เกิดโรคแต่อย่างไร แต่ถ้าต่อมา(อาจเป็นเวลาหลายปีหรือสิบๆปีต่อมา)เมื่อร่างกายเกิดอ่อนแอด้วยสาเหตุใดก็ตาม เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะแบ่งตัวเจริญงอกงามจนทำให้เกิดเป็นวัณโรคของปอด ซึ่งจะแสดงอาการดังจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนี้ คนบางคนที่รับเชื้อวัณโรคเข้าร่างกายครั้งแรก เชื้ออาจลุกลามจนกลายเป็นวัณโรคในทันทีได้ซึ่งอาจกลายเป็นวัณโรคชนิดร้ายแรงได้ Ref. Link : http://www.geocities.com/rtatfet/rosmary3.html |
![]() | การติดต่อ (2) |
![]() | Word Info ID : 5399 Word INFO : การติดต่อของโรค มักจะเป็นการรับเอาเชื้อเข้าไปในปอดโดยตรงจากการหายใจ การไอ การจามหรือการพูดคุยกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง นอกจากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของตนเองแล้ว ยังอาจแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกด้วย ที่สำคัญการแพร่กระจายเชื้อมักเป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากติดต่อได้ง่ายโดยระบบทางเดินหายใจ Ref. Link : http://www.bcnlp.ac.th/stu/mycobacterium.htm |
![]() | Word Info ID : 5413 Word INFO : การติดต่อของเชื้อ โดยการหายใจเอาเชื้อวัณโรค จากการไอ จาม พูด ของผู้ป่วยที่เป็นวัณโรค Ref. Link : http://www.yanhee.co.th/yhh/th/gnr/gnr_gen_mtc.asp |
![]() | อาการของโรค (9) |
![]() | Word Info ID : 686 Word INFO : มักจะค่อย ๆ เป็นด้วยอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว หรือเป็นไข้ต่ำ ๆ ตอนบ่าย ๆ มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ต่อมาจึงมีอาการไอ ระยะแรก ๆ ไอแห้ง ๆ ต่อมาจะมีเสมหะ ไอมากเวลาเข้านอน หรือตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังอาหาร อาการไอจะเรื้อรังเป็นแรมเดือน แต่บางคนอาจไม่มีอาการไอเลยก็ได้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีอาการไอ ในรายที่เป็นมาก จะหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดง ๆ หรือดำ ๆ แต่น้อยรายที่จะมีเลือดออกมากถึงกับช็อก ในรายที่เป็นน้อย ๆ อาจไม่มีอาการอะไรเลย และมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเห็น "จุด" ในปอด ในฟิล์มเอกซเรย์ บางคนอาจมีอาการเป็นไข้นานเป็นแรมเดือน โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ถ้าเกิดในเด็ก อาการมักจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ เพราะมีภูมิคุ้มกันน้อย อาจแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (66) หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูก ไต ลำไส้ ฯลฯ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 5394 Word INFO : อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว หรือมีไข้ต่ำ ๆ ตอนบ่าย มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ต่อมาจึงมีอาการไข้ ระยะแรกจะไอแห้งๆ ต่อมาจึงมีเสหะไอมากเวลาเข้านอน หรือตื่นนอนตอนเช้า อาการไออาจเรื้อรังเป็นแรมเดือน Ref. Link : http://72.14.235.104/search?q=cache:oNA_BsP1QlUJ:www.thaiabc.com/da... |
![]() | Word Info ID : 5398 Word INFO : ไอเรื้อรัง 3 สัปดาห์ขึ้นไป หรือไอมีเลือดออก มีไข้ตอนบ่าย ๆ เหงื่อออกมากเวลากลางคืน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บหน้าอก และเหนื่อยหอบกรณีที่โรคลุกลามไปมาก Ref. Link : http://www.bcnlp.ac.th/stu/mycobacterium.htm |
![]() | Word Info ID : 5405 Word INFO : มักจะค่อย ๆ เป็นด้วยอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว หรือเป็นไข้ต่ำ ๆ ตอนบ่าย ๆ มีเหงื่อออกตอนกลางคืนต่อมาจึงมีอาการไอ ระยะแรก ๆ ไอแห้ง ๆ ต่อมาจะมีเสมหะไอมากเวลา เข้านอน หรือตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังอาหาร อาการไอจะเรื้อรังเป็นแรมเดือน แต่บางคนอาจไม่มีอาการไอเลย ก็ได้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีอาการไอ ในรายที่เป็นมาก จะหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดง ๆ หรือดำ ๆ แต่น้อยรายที่จะมีเลือดออกมากถึงกับช็อก ในรายที่เป็นน้อย ๆ อาจไม่มีอาการอะไรเลย และมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเห็น "จุด" ในปอดในฟิล์ม เอกซเรย์ บางคนอาจมีอาการเป็นไข้นานเป็นแรมเดือน โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ถ้าเกิดในเด็กอาการมักจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ เพราะมีภูมิคุ้มกันน้อย อาจแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เกิด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ เช่น กระดูกไต ลำไส้ ฯลฯ Ref. Link : http://www.thailabonline.com/respirat-tb.htm |
![]() | Word Info ID : 5412 Word INFO : อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร, น้ำหนักลด มีไข้ต่ำ ๆ ตอนบ่ายหรือเย็น, เหงื่อ ออกตอนกลางคืน มีอาการเจ็บหน้าอก อาการไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอมีเสมหะมีเลือดปน Ref. Link : http://www.yanhee.co.th/yhh/th/gnr/gnr_gen_mtc.asp |
![]() | Word Info ID : 5415 Word INFO : มีอาการไข้, ไอเรื้อรัง, เบื่ออาหาร, น้ำหนักลด, บางครั้งไอเป็นเลือด Ref. Link : http://www.doctor.or.th/zone_handbook/01_firstaid/FA46110.HTM |
![]() | Word Info ID : 5420 Word INFO : มักจะค่อยๆเป็นด้วยอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอาการครั้นเนื้อครั่นตัว หรือเป็นไข้ต่ำๆ ตอนบ่าย มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ต่อมาจึงมีอาการไอ ระยะแรกๆไอแห้งๆ ต่อมาจึงมีเสมหะ ไอมากเวลาเข้านอน หรือตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังอาหาร อาการไอจะเรื้อรังเป็นแรมเดือน แต่บางคนอาจไม่มีอาการไอเลยก็ได้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีอาการไอ ในรายที่เป็นมาก จะหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดงๆ หรือดำๆ แต่น้อยรายที่จะมีเลือดออกมากถึงกับช็อก ในรายที่เป็นน้อยๆอาจไม่มีอาการอะไรเลย และมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเห็น "จุด" ในปอด ในฟิล์มเอกซเรย์ บางคนอาจมีอาการเป็นไข้นานเป็นแรมเดือน โดยไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด ถ้าเกิดในเด็ก อาการมักจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ เพราะมีภูมิคุ้มกันน้อย อาจแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น กระดูก ไต ลำใส้ ฯลฯ Ref. Link : http://www.geocities.com/rtatfet/rosmary3.html |
![]() | Word Info ID : 5427 Word INFO : อาการที่พบได้บ่อยคือ ไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์หรือ ไอเป็นเลือด สำหรับอาการที่พบร่วม ได้แก่ อ่อนเพลีย, เบื่ออาหาร, น้ำหนักลด, มีไข้ หรือเจ็บหน้าอก ฯลฯ การวินิจฉัยอาศัย ประวัติ, การตรวจร่างกาย, การถ่ายภาพรังสีทรวงอก, และ การตรวจเสมหะ หาเชื้อวัณโรค หรือการทดสอบปฏิกิริยาที่ผิวหนังในเด็ก การเก็บเสมหะ จะให้เก็บทันทีตอนเช้า หลังตื่นนอนเป็นเวลา 3 วัน Ref. Link : http://www.thaichest.org/nuke/modules.php?name=News&file=article&si... |
![]() | Word Info ID : 5432 Word INFO : อาการ เกิดจากเชื้อวัณโรคซึ่งมักได้รับตั้งแต่สมัยเด็กและแฝงตัวอยู่เมื่อร่างกาย อ่อนแอ เชื้อก็จะแบ่งตัวทำให้เกิดโรคขึ้น อาการจะค่อยๆ เป็นผู้ป่วย รู้สึก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำตอนบ่าย น้ำหนักตัวลดลง ไอแห้งๆ ต่อมาจึงมี เสมหะ เหงื่อออกมาก เจ็บหน้าอก ในรายที่เป็นน้อยอาจไม่มีอาการ ผิดปกติ อะไรเลย บังเอิญเอกซเรย์พบรอยโรคที่ปอดจึงทราบ ในรายที่เป็นมาก จะมีไอเป็นเลือด ปริมาณตั้งแต่น้อยจนกระทั่งช็อคหมดสติไป วัณโรคไม่จำกัด อยู่ที่ปอดเท่านั้น สามารถแพร่กระจายไปที่ลำไส้ กล่องเสียง ไต สมอง กระดูก ฯลฯ วัณโรคปอดติดต่อกันโดยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ไอจาม ออกมาเข้าสู่ปอดโดยตรง Ref. Link : http://golferonline.co.th/formhealth.asp?topic=54 |
![]() | สิ่งที่ตรวจพบ (4) |
![]() | Word Info ID : 688 Word INFO : ซูบผอม อาจมีอาการซีด หายใจหอบ หรือมีไข้ การใช้เครื่องฟังตรวจปอดส่วนใหญ่จะไม่มีเสียงผิดปกติ บางคนอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ซึ่งมักจะได้ยินตรงบริเวณยอดปอดทั้ง 2 ข้าง ถ้าได้ยินไปทั่วปอดทั้ง 2 ข้าง แสดงว่าอาการลุกลามไปมาก ถ้าปอดข้างหนึ่งเคาะทึบ และไม่ได้ยินเสียงหายใจ ก็แสดงว่ามีภาวะมีน้ำในช่องหุ้มปอด (20) ในรายที่มีอาการหอบเหนื่อยมานาน ๆ อาจมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of fingers) ในรายที่เป็นน้อย ๆ อาจตรวจไม่พบอะไรชัดเจน ก็ได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 5395 Word INFO : มีไข้ ซีด หายใจหอบ อาจคลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอได้ Ref. Link : http://72.14.235.104/search?q=cache:oNA_BsP1QlUJ:www.thaiabc.com/da... |
![]() | Word Info ID : 5406 Word INFO : ซูบผอม อาจมีอาการซีด หายใจหอบ หรือมีไข้ การใช้เครื่องฟังตรวจปอดส่วนใหญ่จะไม่มีเสียงผิดปกติ บางคนอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ซึ่งมักจะได้ยินตรงบริเวณยอดปอดทั้ง 2 ข้าง ถ้าได้ ยินไปทั่วปอดทั้ง 2 ข้าง แสดงว่าอาการลุกลามไปมากถ้าปอดข้างหนึ่งเคาะทึบ และไม่ได้ยินเสียงหายใจ ก็แสดงว่ามีภาวะมีน้ำในช่องหุ้มปอด ในรายที่มีอาการหอบเหนื่อยมานาน ๆ อาจมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of fingers) ในรายที่เป็นน้อย ๆ อาจตรวจไม่พบอะไรชัดเจน ก็ได้ Ref. Link : http://www.thailabonline.com/respirat-tb.htm |
![]() | Word Info ID : 5421 Word INFO : ซูบผอม อาจมีอาการซีด หายใจหอบ หรือมีไข้ การใช้เครื่องฟังตรวจปอดส่วนใหญ่จะไม่มีเสียงผิดปกติ บางคนอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ซึ่งมักจะได้ยินตรงบริเวณยอดปอดทั้ง 2 ข้าง ถ้าได้ยินไปทั่วปอดทั้ง 2 ข้าง แสดงว่าอาการลุกลามไปมาก ถ้าปอดข้างหนึ่งเคาะทึบและไม่ได้ยินเสียงหายใจก็แสดงว่ามีน้ำในช่องหุ้มปอด ในรายที่มีอาการหอบเหนื่อยมานานๆ อาจมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of fingers) ในรายที่เป็นน้อยๆอาจตรวจไม่พบอะไรชัดเจนก็ได้ Ref. Link : http://www.geocities.com/rtatfet/rosmary3.html |
![]() | โรคแทรกซ้อน (3) |
![]() | Word Info ID : 691 Word INFO : ที่สำคัญคือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (66), ฝีในปอด, ภาวะมีน้ำในช่องหุ้มปอด (20), วัณโรคต่อมน้ำเหลือง (พบบ่อยที่ข้างคอ อาจโตเป็นก้อนร่วมกับไข้เรื้อรัง หรือโตต่อกันเป็นสายเรียกว่า ฝีประคำร้อย), ไอออกเป็นเลือดถึงช็อก ที่พบได้น้อยลงไป ได้แก่ วัณโรคกระดูก (มักพบที่กระดูกสันหลัง มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังคดโก่ง และกดเจ็บ) วัณโรคลำไส้ (มีอาการไข้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดินเรื้อรัง ซูบผอม ถ้าลุกลามไปที่เยื่อบุช่องท้องที่ทำให้ท้องมานได้) วัณโรคไต วัณโรคกล่องเสียง (เสียงแหบ) เป็นต้น Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 5407 Word INFO : ที่สำคัญคือ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ฝีในปอด, ภาวะมีน้ำในช่องหุ้มปอด , วัณโรคต่อมน้ำเหลือง (พบบ่อยที่ ข้างคอ อาจโตเป็นก้อนร่วมกับไข้เรื้อรัง หรือโตต่อกันเป็นสายเรียกว่า ฝีประคำร้อย), ไอออกเป็นเลือดถึงช็อก ที่พบได้น้อยลงไป ได้แก่ วัณโรคกระดูก (มักพบที่กระดูกสันหลัง มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังคดโก่ง และกดเจ็บ) วัณโรคลำไส้ (มีอาการไข้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดินเรื้อรัง ซูบผอม ถ้าลุกลามไปที่เยื่อบุช่องท้องที่ทำให้ ท้องมานได้) วัณโรคไต วัณโรคกล่องเสียง (เสียงแหบ) เป็นต้น Ref. Link : http://www.thailabonline.com/respirat-tb.htm |
![]() | Word Info ID : 5422 Word INFO : ที่สำคัญ คือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ , ฝีในปอด , น้ำในช่องหุ้มปอด , วัณโรคต่อมน้ำเหลือง (พบบ่อยที่ข้างคอ อาจโตเป็นก้อนร่วมกับไข้เรื้อรังหรือโตต่อกันเป็นสายเรียกว่า ฝีประคำร้อย) ไอออกเป็นเลือดถึงช็อก ที่พบได้น้อยลงไปได้แก่วัณโรคกระดูก (มักพบที่กระดูกสันหลัง มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังคดโก่งและกดเจ็บ) วัณโรคลำไส้ (มีอาการไข้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดินเรื้อรัง ซูบผอม ถ้าลุกลามไปที่เยื่อบุช่องท้องทำให้ท้องมานได้) ,วัณโรคไต , วัณโรคกล่องเสียง (เสียงแหบ)เป็นต้น Ref. Link : http://www.geocities.com/rtatfet/rosmary3.html |
![]() | วิธีการรักษา (8) |
![]() | Word Info ID : 692 Word INFO : 1. หากสงสัย ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อทำการวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะโดยวิธีย้อมสีแอซิดฟาสต์ (Acid fast stain) เพื่อค้นหาเชื้อวัณโรค (AFB) หรือทำการทดสอบทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test) การรักษา จะต้องให้ยารักษาวัณโรค (ย4.12-ย4.16) อย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป โดยมีไอเอ็นเอช (ย4.13) เป็นยาหลัก 1 ชนิด แล้วให้ยาอื่นร่วมด้วยอีก 1-3 ชนิด การใช้ยาเพียงชนิดเดียวมักจะรักษาไม่ได้ผล ยาที่ใช้รักษาวัณโรค จึงมีสูตรให้เลือกอยู่หลายแบบ เช่น สูตรยา 6 เดือน - ไอเอ็นเอช (ย4.13) + ไรแฟมพิซิน (ย4.14) + ไพราซินาไมด์ (ย4.16) + สเตรปโตไมซิน (ย4.12) นาน 2 เดือนตามด้วย ไอเอ็นเอช (ย4.13) + ไรแฟมพิซิน (ย4.14) อีก 4 เดือน หรือ - ไอเอ็นเอช (ย4.13) + ไรแฟมพิซิน (ย4.14) + ไพราซินาไมด์ (ย4.16) + อีแทมบูทอล (ย4.15) นาน 2 เดือน ตามด้วย ไอเอ็นเอช (ย4.13) + ไรแฟมพิซิน (ย4.14) อีก 4 เดือน สูตรยา 8 เดือน - ไอเอ็นเอช + ไรแฟมพิซิน + ไพราซินาไมด์ + สเตรปโตไมซิน นาน 2 เดือน ตามด้วย ไอเอ็นเอช + อีแทมบูทอล อีก 6 เดือน หรือ - ไอเอ็นเอช + ไรแฟมพิซิน + ไพราซินาไมด์ + อีแทมบูทอล นาน 2 เดือน ตามด้วย ไอเอ็นเอช + อีแทมบูทอลอีก 6 เดือน สูตรยาข้างบนนี้ ใช้สำหรับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ และผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่มีอาการรุนแรง หรือเป็นวัณโรคที่อวัยวะอื่น ๆ นอกจากปอด ส่วนผู้ป่วยรายเก่าที่กำเริบใหม่ หรือภาวะอื่น ๆ จะมีสูตรยาที่แตกต่างกันไป ซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้ รายละเอียดเกี่ยวกับ ขนาด วิธีใช้ และข้อควรระวัง ของยาเหล่านี้ ขอให้ดูในภาค 3 นอกจากนี้ให้รักษาตามอาการ เช่น ซีด หรือเบื่ออาหารก็ให้ยาเม็ดเฟอร์รัสซัลเฟต (ย24.11) และวิตามินรวม (ย24.10) อย่างละ 2-3 เม็ดต่อวัน ถ้าไอมีเสลดให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ และอาจให้ยาขับเสมหะ (ย9.2) เช่น มิสต์แอมมอนคาร์บ 1/2 - 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรให้บำรุงร่างกายด้วยอาหารโดยเฉพาะพวกโปรตีน (เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ) 2. ในรายที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น ไอออกเป็นเลือดมาก ๆ หรือหอบให้ส่งโรงพยาบาลด่วน 3. เมื่อได้ยารักษาสักระยะหนึ่ง (2-4 สัปดาห์) อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ไข้ลดลง ไอน้อยลง กินข้าวได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่ม ควรให้ยาต่อไปทุกวันจนครบกำหนด จึงจะหายขาดได้ 4. ถ้าสงสัยมีโรคเอดส์ (238) ร่วมด้วย ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวี Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 5396 Word INFO : หากสังสัย ควรรีบส่งพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค Ref. Link : http://72.14.235.104/search?q=cache:oNA_BsP1QlUJ:www.thaiabc.com/da... |
![]() | Word Info ID : 5401 Word INFO : ปัจจุบันมียารักษาวัณโรคที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลา 6 เดือน โดยกินยาทุกชนิดที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วนสม่ำเสมอทุกวัน ถ้ากินยาไม่ครบ หรือหยุดยาก่อนกำหนด อาจทำให้เชื้อวัณโรคดื้อยายากต่อการรักษา และอาจรักษาไม่หายได้ หากมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขหรือคนในครอบครัวเดียวกันเฝ้าสังเกตการกินยาต่อหน้าทุกครั้งจะมีผลดี คือ สามารถรักษาให้หายได้ตามกำหนด และหยุดยั้งการแพร่เชื้อได้เร็ว วิธีนี้เรียกว่า การรักษาด้วยระบบยาระยะสั้นแบบควบคุมหรือสังเกตโดนตรง Ref. Link : http://www.bcnlp.ac.th/stu/mycobacterium.htm |
![]() | Word Info ID : 5408 Word INFO : 1. หากสงสัย ควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาล เพื่อทำการวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ปอด ตรวจเสมหะโดยวิธี ย้อมสีแอซิดฟาสต์ (Acid fast stain) เพื่อค้นหาเชื้อวัณโรค (AFB) หรือทำการทดสอบทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test) การรักษา จะต้องให้ยารักษาวัณโรค อย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป โดยมีไอเอ็นเอช เป็นยาหลัก 1 ชนิด แล้วให้ยาอื่น ร่วมด้วยอีก 1-3 ชนิด การใช้ยาเพียงชนิดเดียวมักจะรักษาไม่ได้ผลยาที่ใช้รักษาวัณโรค จึงมีสูตรให้เลือกอยู่ หลายแบบ เช่น สูตรยา 6 เดือน - ไอเอ็นเอช + ไรแฟมพิซิน + ไพราซินาไมด์ + สเตรปโตไมซิน นาน 2 เดือนตามด้วย ไอเอ็นเอช + ไรแฟมพิซิน อีก 4 เดือน หรือ - ไอเอ็นเอช + ไรแฟมพิซิน + ไพราซินาไมด์ + อีแทมบูทอล นาน 2 เดือนตามด้วย ไอเอ็นเอช + ไรแฟมพิซิน อีก 4 เดือน สูตรยา 8 เดือน - ไอเอ็นเอช + ไรแฟมพิซิน + ไพราซินาไมด์ + สเตรปโตไมซิน นาน 2 เดือน ตามด้วย ไอเอ็นเอช + อีแทมบูทอล อีก 6 เดือน หรือ - ไอเอ็นเอช + ไรแฟมพิซิน +ไพราซินาไมด์ + อีแทมบูทอล นาน 2 เดือนตามด้วย ไอเอ็นเอช + อีแทมบูทอลอีก 6 เดือน สูตรยาข้างบนนี้ ใช้สำหรับผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ที่ตรวจพบเชื้อในเสมหะ และผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ที่มี อาการรุนแรง หรือเป็นวัณโรคที่อวัยวะอื่น ๆ นอกจากปอด ส่วนผู้ป่วยรายเก่าที่กำเริบใหม่ หรือภาวะอื่น ๆ จะมีสูตรยาที่แตกต่างกันไปซึ่งไม่ขอกล่าวในที่นี้ นอกจากนี้ให้รักษาตามอาการ เช่น ซีด หรือเบื่ออาหารก็ให้ยาเม็ดเฟอร์รัสซัลเฟตและวิตามินรวม อย่างละ 2-3 เม็ดต่อวัน ถ้าไอมีเสลดให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ และอาจให้ยาขับเสมหะ เช่น มิสต์แอมมอนคาร์บ 1/2 - 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4-6 ชั่วโมง ควรให้บำรุงร่างกายด้วยอาหารโดยเฉพาะพวกโปรตีน (เนื้อ นม ไข่ ถั่วต่าง ๆ) 2. ในรายที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น ไอออกเป็นเลือดมาก ๆ หรือหอบให้ส่งโรงพยาบาลด่วน 3. เมื่อได้ยารักษาสักระยะหนึ่ง (2-4 สัปดาห์) อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ไข้ลดลง ไอน้อยลง กินข้าวได้มากขึ้น น้ำหนักเพิ่ม ควรให้ยาต่อไปทุกวันจนครบกำหนด จึงจะหายขาดได้ 4. ถ้าสงสัยมีโรคเอดส์ ร่วมด้วย ควรตรวจหาเชื้อเอชไอวี Ref. Link : http://www.thailabonline.com/respirat-tb.htm |
![]() | Word Info ID : 5414 Word INFO : ในปัจจุบัน วัณโรคปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น แต่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และมา X-ray ตามกำหนดนัดของแพทย์ Ref. Link : http://www.yanhee.co.th/yhh/th/gnr/gnr_gen_mtc.asp |
![]() | Word Info ID : 5423 Word INFO : หากสงสัยควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อทำการวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ปอด, ตรวจเสมหะโดยวิธีย้อมสีแอซิดฟาสต์ (Acid fast stian) เพื่อค้นหาเชื้อวัณโรค (AFB) หรือทำการทดสอบทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test) การรักษาจะต้องให้ยาวัณโรคอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป โดยมีไอเอ็นเอช เป็นยาหลัก 1 ชนิด แล้วให้ยาอื่นร่วมด้วยอีก 1 - 2 ชนิด การใช้ยาเพียงชนิดเดียว มักจะรักษาไม่ได้ผล ยาที่ใช้รักษาวัณโรค จึงมีสูตรให้เลือกใช้อยู่หลายแบบ เช่น สเตรปโตมัยซิน + ไอเอ็นเอช + พีเอเอส หรือ อีแทมบูทอล หรือ ไออาเซตาโซน , ไอเอ็นเอช + อีแทมบูทอล , ไอเอ็นเอช + ไทอาเซตาโซน สำหรับสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขจะมียาเม็ดที่มีตัวยา 2 ชนิดผสมกันมีชื่อว่า ไอโซไนอาโซน (Isoniazone) จ่ายให้ผู้ป่วยฟรี รายละเอียดเกี่ยวกับ ขนาด วิธีใช้ ถ้าท่านไม่มีความรู้เพียงพอไม่ควรรักษาด้วยตัวเองให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพราะอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้ นอกจากนี้ให้รักษาตามอาการ เช่น ซีดหรือเบื่ออาหารก็ให้ยาเม็ดเฟอร์รัสซัลเฟต และวิตามินรวมอย่างละ 2 - 3 เม็ดต่อวัน ถ้าไอมีเสลดให้ยาขับเสมหะ เช่น มิสต์แอมมอนคาร์บอเนต 0.5 - 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4 - 6 ชั่วโมง ควรให้บำรุงร่างกายด้วยอาหารโดยเฉพาะพวกโปรตีน(เนื้อนมไข่) ในรายที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น ไอออกเป็นเลือดมากๆ หรือหอบให้ส่งโรงพยาบาลด่วน เมื่อได้ยารักษาสักระยะหนึ่ง (2- 4 สัปดาห์)อาการจะค่อยๆดีขึ้นควรให้ยาต่อไปทุกวันจนครบ 1.5 - 2 ปี จึงจะหายขาดได้ Ref. Link : http://www.geocities.com/rtatfet/rosmary3.html |
![]() | Word Info ID : 5428 Word INFO : ในช่วง 2 เดือนแรก จะใช้ยาร่วมกัน 3-4 ชนิด หลังจากนั้น จึงลดยาเหลือ 2 ชนิด เป็นเวลาต่อไปทั้งหมด รวม 6-9 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพของผู้ป่วยแต่ละราย ในบางกรณี เช่น ผู้ป่วยที่แพ้ยาหรือไม่ สามารถใช้ยาบางชนิดได้ ทำให้ การรักษาอาจจะต้องนานไป เป็น 12-18 เดือน นิยมให้ ยารับประทานรวมกัน เวลาเดียวก่อนนอน ภายหลังให้การรักษา อาการต่างๆ ของผู้ป่วยจะค่อยๆดีขึ้น ใน 2 สัปดาห์ และจะดีขึ้น จนเห็นได้ชัดเจน ใกล้เคียงปกติ ภายในระยะ 2 เดือน ยกเว้น ผู้ป่วยที่เชื้อดื้อยา วัณโรคเป็นรุนแรง หรือเป็นโรคมานาน และได้รับการรักษาช้า Ref. Link : http://www.thaichest.org/nuke/modules.php?name=News&file=article&si... |
![]() | Word Info ID : 5431 Word INFO : การป้องกัน วัณโรคปอด ทำได้โดยการฉีดวัคซีน บีซีจีแก่เด็กวัยแรกเกิด ถึง 1 ปีจากการศึกษาพบว่า ถ้าเด็กในวัยดังกล่าวได้รับวัคซีนในช่วง 1 ขวบปีแรกและได้รับซ้ำอีก 1 ครั้งในช่วงอายุ 6-8 ปี ในรายที่ไม่พบแผลเป็นจากการฉีดวัคซีนในครั้งแรก เด็กผู้นั้นจะมีภูมิคุ้มกันโรคไปได้เป็นระยะเวลานาน เนื่องจากเด็กโตขึ้น จะได้ภูมิคุ้มกันโรคเสริมจากภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วย แต่ในรายที่ตรวจพบเชื้อในร่างกายจะต้องรักษาให้หายขาดด้วยยาเพื่อให้เชื้อหมดไป การรักษาในปัจจุบันใช้ระบบการให้ยาระยะสั้น 4 เดือน ซึ่งมีประสิทธิภาพมาก เพราะพบว่าหลังจากผู้ป่วยได้ยาครบตามกำหนด มักตรวจไม่พบเชื้อในเสมหะอีก อย่างไรก็ตาม ปัญหาจากการใช้ยาก็ยังมีอยู่ เช่น การดื้อยา และ การรับประทานยาไม่สม่ำเสมอ จึงจำเป็นต้องมีการชี้แจงทำความเข้าใจให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงผลข้างเคียงในการใช้ยารักษาโรคนี้ รวมทั้งการปฏิบัติตัวไม่ให้โรคนี้แพร่กระจายและติดต่อไปสู่ผู้อื่น การทำลายเสมหะด้วยวิธีที่ถูกต้อง หรือขณะไอ-จาม ต้องปิดจมูกและปาก เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายและควรรับการตรวจรักษาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น Ref. Link : http://www.sko.moph.go.th/pu_content.asp?ContentId=1359 |
![]() | คำแนะนำ (6) |
![]() | Word Info ID : 693 Word INFO : 1. วัณโรคไม่ใช่โรคที่น่ากลัว หรือน่ารังเกียจ และเป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินยารักษาวัณโรคอย่างน้อย 2 ชนิด ติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลานาน 6-8 เดือน ผู้ป่วยมักเข้าใจผิดว่า เมื่อกินยาได้สัก 2-3 เดือนแล้วอาการดีขึ้นก็นึกว่าหายแล้ว จึงไม่ยอมกินยาต่อ การกินยาบ้างไม่กินยาบ้าง หรือกินไม่ได้ตามกำหนด มีแต่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อโรคดื้อยา ทำให้กลายเป็นวัณโรคเรื้อรังรักษายาก และสิ้นเปลืองเงินทองและเวลา ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้ ควรไปรับยารักษาตามแพทย์นัด อย่าได้ขาด บางครั้งอาจต้องเอกซเรย์ หรือตรวจเสมหะซ้ำ ทุก 3-6 เดือน ผู้ป่วยที่อยู่ในเขตชนบท อาจไปรับยาได้ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในเมือง อาจไปรับยาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัด และสะดวก (สำหรับผู้ที่ยากจน ไม่มีเงินเสียค่ายา ก็สามารถรับยาได้ฟรีจากสถานบริการของรัฐ) 2. ผู้ป่วยควรงดบุหรี่และเหล้า ควรกินอาหารพวกโปรตีนให้มาก ๆ ควรอยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก ควรบ้วนเสมหะลงในกระโถนหรือกระป๋องที่มีน้ำยาทำลายเชื้อ เช่น ไลซอล (Lysol) แล้วนำไปทิ้งในส้วมหรือขุดหลุมฝังเสีย 3. ในระยะก่อนการรักษา หรือกินยาได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรนอนแยกต่างหาก อย่านอนรวมหรืออยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น ๆ อย่าไอ จามหรือหายใจรดหน้าคนอื่น (แม่ที่เป็นวัณโรคอย่ากอดจูบลูกหรือ ไอ หรือหายใจรดหน้าลูก ทางที่ดีอย่าให้ลูกดูดนมตัวเอง) เมื่อกินยาได้ 2 สัปดาห์ไปแล้ว เชื้อจะถูกทำลายและไม่มีการแพร่ให้คนอื่นต่อไป จึงไม่ต้องแยกผู้ป่วยออกอย่างเคร่งครัดเหมือนระยะก่อนการรักษา (เช่น ไม่จำเป็นต้องแยกถ้วย ชาม สำรับอาหาร หรือเครื่องใช้ออกต่างหาก) เมื่อรู้สึกแข็งแรงดีแล้ว ผู้ป่วยสามารถทำงาน เรียนหนังสือ หรือออกกำลังได้เช่นปกติ 4. ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย (โดยเฉพาะเด็กเล็ก) ควรไปให้แพทย์ตรวจ หรือเอกซเรย์ปอดให้แน่ใจว่า ติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยหรือไม่ แพทย์อาจให้ยารักษา หรือให้ยาป้องกัน ตามแต่จะพิจารณาเห็นสมควร 5. ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค (เช่น เป็นไข้เรื้อรัง, เบื่ออาหารและน้ำหนักลด, ไอเป็นเลือดหรือไอนานกว่า 3 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ, อ่อนเพลียเหนื่อยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น) ควรให้แพทย์ตรวจเช็กร่างกาย ถ้าเป็นโรคนี้จะได้รักษาเสียแต่เนิ่น ๆ เป็นการป้องกันมิให้โรคลุกลาม และมิให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นต่อไป 6. โรคนี้ติดต่อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่ผู้ป่วยไอ จาม หรือหายใจรด (เพราะความใกล้ชิด หรืออยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกร่วมกับผู้ป่วย) เป็นสำคัญ ดังนั้น พยายามอย่าเข้าไปในที่ ๆ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น ห้องที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิด 7. คนที่ได้รับเชื้อวัณโรค หากร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคดี จะไม่ป่วยเป็นโรคนี้ (ในบ้านเราในผู้ใหญ่เกือบทุกคน เคยได้รับเชื้อวัณโรคกันแล้ว) แต่เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ภายในร่างกาย เมื่อร่างกายทรุดโทรม เชื้อก็จะกำเริบ และกลายเป็นวัณโรคได้ โดยไม่ต้องได้รับเชื้อจากภายนอกมาใหม่ ดังนั้น จึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การละเว้นจากการสูบบุหรี่ หรือดื่มสุราจัด อย่าตรากตรำทำงานหนักเกินควร พักผ่อนให้เพียงพอและอยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 5402 Word INFO : การปฏิบัติตนเมื่อป่วยเป็นวัณโรค 1. กินยาให้ครบถ้วนทุกชนิดตามที่แพทย์สั่ง และกินติดต่อกันสม่ำเสมอทุกวันจนครบตามกำหนด 2. ไปพบแพทย์ตามนัด และเก็บเสมหะส่งตรวจทุกครั้งตามแพทย์สั่ง 3. กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ ผัก ผลไม้ เพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง 4. ปิดปาก จมูก เวลาไอหรือจามทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น 5. จัดบ้านให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 6. ให้บุคคลในบ้านไปรับการตรวจ ถ้าพบว่าป่วยเป็นวัณโรคแพทย์จะได้ให้การักษาทันที โดยทั่วไป การตรวจวินิจฉัยโรคนี้ แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งเอกซเรย์ปอด เก็บเสมหะตรวจ และเพาะเชื้อ ถ้าผลตรวจว่าเป็นโรคนี้จริง ก็ควรรีบรักษาทันที อยากเรียนว่า แนวทางการรักษาในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปมาก วัณโรคปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูง โดยใช้เวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น ที่เคยฝังใจว่าต้องใช้เวลากันเป็นปีๆ หรือหลายปีจึงไม่เป็นความจริง (ส่วนใหญ่หลังรักษาไปแล้ว 2 สัปดาห์ โอกาสแพร่เชื้อจะต่ำลงมาก คนไข้สามารถทำงานได้ตามปกติ) อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่อยากเน้นย้ำ ก็คือหากมุ่งหวังผลการรักษาที่สมบูรณ์ คนไข้จะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอตามชนิดและขนาดที่แพทย์สั่งจนครบ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด มาเอกซเรย์และตรวจเสมหะตามกำหนดนัดของแพทย์ สามประการดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญของการรักษาเลยทีเดียว Ref. Link : http://www.bcnlp.ac.th/stu/mycobacterium.htm |
![]() | Word Info ID : 5409 Word INFO : 1. วัณโรคไม่ใช่โรคที่น่ากลัว หรือน่ารังเกียจ และเป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินยารักษา วัณโรคอย่างน้อย 2 ชนิด ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานาน 6-8 เดือน ผู้ป่วยมักเข้าใจผิดว่า เมื่อกินยาได้สัก 2-3 เดือนแล้วอาการดีขึ้นก็นึกว่าหายแล้ว จึงไม่ยอมกินยาต่อ การกินยาบ้างไม่กินยาบ้าง หรือกินไม่ได้ตาม กำหนด มีแต่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อโรคดื้อยาทำให้กลายเป็นวัณโรคเรื้อรังรักษายาก และสิ้นเปลืองเงินทอง และเวลา ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้ ควรไปรับยารักษาตามแพทย์นัด อย่าได้ขาด บางครั้งอาจต้องเอกซเรย์ หรือ ตรวจเสมหะซ้ำ ทุก 3-6เดือน ผู้ป่วยที่อยู่ในเขตชนบท อาจไปรับยาได้ที่สถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในเมือง อาจไปรับยาที่ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัด และสะดวก (สำหรับ ผู้ที่ยากจน ไม่มีเงินเสียค่ายา ก็สามารถรับยาได้ฟรีจากสถานบริการของรัฐ) 2. ผู้ป่วยควรงดบุหรี่และเหล้า ควรกินอาหารพวกโปรตีนให้มาก ๆ ควรอยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก เวลาไอหรือจาม ควรใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก ควรบ้วนเสมหะลงในกระโถนหรือกระป๋องที่มีน้ำยาทำลาย เชื้อ เช่น ไลซอล (Lysol) แล้วนำไปทิ้งในส้วมหรือขุดหลุมฝังเสีย 3. ในระยะก่อนการรักษา หรือกินยาได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยควรนอนแยกต่างหาก อย่านอนรวมหรืออยู่ใกล้ ชิดกับคนอื่น ๆ อย่าไอ จามหรือหายใจรดหน้าคนอื่น(แม่ที่เป็นวัณโรคอย่ากอดจูบลูกหรือ ไอ หรือหายใจรด หน้าลูก ทางที่ดีอย่าให้ลูกดูดนมตัวเอง)เมื่อกินยาได้ 2 สัปดาห์ไปแล้ว เชื้อจะถูกทำลายและไม่มีการแพร่ให้คนอื่น ต่อไป จึงไม่ต้องแยกผู้ป่วยออกอย่างเคร่งครัดเหมือนระยะก่อนการรักษา (เช่น ไม่จำเป็นต้องแยกถ้วย ชาม สำรับอาหาร หรือเครื่องใช้ออกต่างหาก) เมื่อรู้สึกแข็งแรงดีแล้ว ผู้ป่วยสามารถทำงาน เรียนหนังสือ หรือ ออกกำลังได้เช่นปกติ 4. ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย (โดยเฉพาะเด็กเล็ก) ควรไปให้แพทย์ตรวจ หรือ เอกซเรย์ปอดให้แน่ใจว่า ติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยหรือไม่ แพทย์อาจให้ยารักษา หรือให้ยาป้องกัน ตามแต่ จะพิจารณาเห็นสมควร 5. ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค (เช่น เป็นไข้เรื้อรัง, เบื่ออาหารและน้ำหนักลด, ไอเป็นเลือดหรือไอนาน กว่า 3 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ, อ่อนเพลียเหนื่อยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น) ควรให้แพทย์ ตรวจเช็กร่างกาย ถ้าเป็นโรคนี้จะได้รักษาเสียแต่เนิ่น ๆ เป็นการป้องกันมิให้โรคลุกลามและมิให้แพร่เชื้อ ให้ผู้อื่นต่อไป 6. โรคนี้ติดต่อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่ผู้ป่วยไอ จาม หรือหายใจรด(เพราะความใกล้ชิด หรืออยู่ในห้อง ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกร่วมกับผู้ป่วย) เป็นสำคัญดังนั้น พยายามอย่าเข้าไปในที่ ๆ อากาศถ่ายเทไม่ สะดวก เช่น ห้องที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิด 7. คนที่ได้รับเชื้อวัณโรค หากร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคดี จะไม่ป่วยเป็นโรคนี้ (ในบ้านเราใน ผู้ใหญ่เกือบทุกคน เคยได้รับเชื้อวัณโรคกันแล้ว) แต่เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ภายในร่างกาย เมื่อร่างกายทรุดโทรม เชื้อก็จะกำเริบและกลายเป็นวัณโรคได้ โดยไม่ต้องได้รับเชื้อจากภายนอกมาใหม่ ดังนั้น จึงควรรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกายการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การละเว้นจากการสูบบุหรี่ หรือดื่ม สุราจัด อย่าตรากตรำทำงานหนักเกินควร พักผ่อนให้เพียงพอและอยู่ในที่ ๆ อากาศถ่ายเทได้สะดวก Ref. Link : http://www.thailabonline.com/respirat-tb.htm |
![]() | Word Info ID : 5417 Word INFO : ถ้าเป็นวัณโรคปอด ควรปฏิบัติดังนี้ 1. ใช้ยารักษาวัณโรคตามหมอสั่ง. ยาบางอย่างต้องกินนาน 6 - 9 เดือน, อย่าหยุดยาเอง แม้ว่า จะรู้สึกสบายดีแล้วก็ตาม มิฉะนั้นโรคจะกำเริบและเชื้อจะดื้อยา รักษายาก 2. ไปหาหมอตามนัด, อาจต้องตรวจเสมหะหรือเอกซเรย์ปอดเป็นระยะ 3. ก่อนการรักษา หรือกินยาได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ ควรนอนแยกต่างหาก อย่านอนรวม หรืออยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น อย่าไอ, จาม, หรือหายใจรดหน้าคนอื่น อย่ากอดจูบหรือหายใจรดหน้าลูก อย่าให้ลูกดูดนมถ้าแม่เป็นวัณโรค 4. เวลาไอหรือจาม ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก, ควรบ้วนเสมหะในกระโถนที่มียาทำลายเชื้อ แล้วนำไปทิ้งในส้วมหรือขุดหลุมฝังเสีย. 5. บำรุงร่างกายด้วยอาหารพวกโปรตีน (เนื้อ, นม, ไข่) มากๆ 6. งดเหล้า และบุหรี่ Ref. Link : http://www.doctor.or.th/zone_handbook/01_firstaid/FA46110.HTM |
![]() | Word Info ID : 5424 Word INFO : วัณโรคไม่ใช่โรคที่น่ากลัว หรือน่ารังเกียจและเป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินยารักษาวัณโรคอย่างน้อย 2 ชนิด ติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลานาน 18 - 24 เดือน ในปัจจุบันมียาใหม่ เช่น ไรแฟมพิซิน (rifampicin) สามารถใช้รักษาวัณโรคให้หายขาดในเวลา 6 - 9 เดือน แต่ยานี้มีราคาแพงและมีฤทธิ์ข้างเคียงมาก จึงควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งใช้ ชาวบ้านมักเข้าใจผิดว่า เมื่อกินยาได้สัก 2 - 3 เดือนแล้วอาการดีขึ้นก็นึกว่าหายแล้วจึงไม่ยอมกินยาต่อ การกินยาบ้างไม่กินยาบ้างหรือกินไม่ได้ตามกำหนด มีแต่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้กลายเป็นวัณโรคเรื้อรังรักษายากและสิ้นเปลืองเงินทองและเวลา ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้ควรไปรับยารักษาตามแพทย์นัดอย่าได้ขาด บางครั้งอาจต้องเอกซเรย์ หรือตรวจเสมหะซ้ำทุก 3 - 6 เดือน ผู้ป่วยที่อยู่ในชนบท อาจไปรับยาได้ที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในเมืองอาจไปรับยาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดและสะดวก(สำหรับผู้ที่ยากจน ไม่มีเงินเสียค่ายา ก็สามารถรับยาได้ฟรีจากสถานบริการของรัฐ) ผู้ป่วยควรงดบุหรี่และเหล้า ควรกินอาหารพวกโปรตีนมากๆ ควรอยู่ในที่ๆอากาศถ่ายเทได้สะดวกเวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก ควรบ้วนเสหะลงในกระโถนหรือกระป๋องที่มีน้ำยาทำลายเชื้อ เช่น ไลซอล (lysol) แล้วนำไปทิ้งในส้วมหรือขุดหลุมฝังเสีย ในระยะก่อนการรักษา หรือกินยาได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ผู้ป่วยควรนอนแยกต่างหาก อย่านอนรวมหรือยู่ใกล้ชิดกับคนอื่นๆ อย่าไอ จามหรือหายใจรดหน้าคนอื่น(แม่ที่เป็นวัณโรคอย่ากอดจูบลูก หรือไอ หรือหายใจรดหน้าลูก ทางที่ดีอย่าให้ลูกดูดนมตัวเอง) เมื่อกินยาได้ 2 สัปดาห์ไปแล้ว เชื้อจะถูกทำลายและไม่มีการแพร่ให้คนอื่นต่อไป จึงไม่ต้องแยกผู้ป่วยออกอย่างเคร่งครัดเหมือนระยะก่อนการรักษา (เช่น ไม่จำเป็นต้องแยกถ้วยชามสำรับอาหาร หรือเครื่องใช้ออกต่างหาก เมื่อรู้สึกแข็งแรงดีแล้ว ผู้ป่วยสามารถทำงานเรียนหนังสือ หรือ ออกกำลังได้ เช่นปกติ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย(โดยเฉพาะเด็กเล็ก)ควรไปให้แพทย์ตรวจหรือฉายเอกซเรย์ปอดให้แน่ใจว่า ติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยหรือไม่ แพทย์อาจให้ยารักษาหรือให้ยาป้องกัน ตามแต่จะพิจารณาเห็นสมควร ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค(เช่น เป็นไข้เรื้อรัง,เบื่ออาหารและน้ำหนักลด,ไอเป็นเลือดหรือไอนานกว่า 3 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ,อ่อนเพลียเหนื่อยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นต้น) ควรให้แพทย์ตรวจเช็คร่างกาย ถ้าเป็นโรคนี้จะได้รักษาเสียแต่เนิ่นๆ เป็นการป้องกันมิให้โรคลุกลามและมิให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นต่อไปโรคนี้ติดต่อโดยการสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่ผู้ป่วยไอ จาม หรือหายใจรด(เพราะความใกล้ชิด หรือยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกร่วมกับผู้ป่วย) เป็นสำคัญดังนั้น พยายามอย่าเข้าไปในที่ๆอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่นห้องที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิดคนที่ได้รับเชื้อวัณโรค หากร่างกายเข็งแรงและมีภูมิต้านทานดี จะไม่ป่วยเป็นโรคนี้(ในบ้านเรา ในผู้ใหญ่เกือบทุกคนเคยได้รับเชื้อวัณโรคกันแล้ว)แต่เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ภายในร่างกาย เมื่อร่างกายทรุดโทรม เชื้อก็จะกำเริบ และกลายเป็นวัณโรคได้ โดยไม่ต้องได้รับเชื้อจากภายนอกมาใหม่ ดังนั้นจึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การละเว้นจากการสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าจัด อย่าตรากตรำทำงานหนักเกินควร พักผ่อนให้เพียงพอและอยู่ในที่ๆอากาศถ่ายเทได้สะดวก Ref. Link : http://www.geocities.com/rtatfet/rosmary3.html |
![]() | Word Info ID : 5429 Word INFO : 1.รับประทานยาสม่ำเสมอ และมาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อให้ผลการรักษา หายขาดและป้องกันเชื้อดื้อยา 2.ใช้ผ้าหรือกระดาษ ปิดจมูกและปากขณะไอหรือจาม 3.เสมหะใส่ขวด หรือกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิด แล้วเททิ้งให้เรียบร้อย 4.ไม่จำเป็นต้องแยก เรื่องการกินอยู่จากสมาชิกในครอบครัว เพียงแต่ใน 2 สัปดาห์แรก ที่รักษา พยายามหลีกเลี่ยง ไม่คลุกคลีกับคนรอบข้าง โดยเฉพาะเด็กและคนชรา 5.แนะนำให้ สมาชิกในครอบครัว และผู้ใกล้ชิด มารับการตรวจ ที่โรงพยาบาล เพื่อให้การป้องกัน สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ หรือให้การรักษา สำหรับผู้ที่เริ่มเป็นโรค 6.งดดื่มสุรา เนื่องจาก จะทำให้เกิด ตับอักเสบจากยา ที่ใช้รักษาได้ง่ายขึ้น 7.หลีกเลี่ยง การใช้ยาคุมกำเนิด ชนิดรับประทาน เนื่องจาก จะได้ผลไม่แน่นอน เมื่อใช้ร่วมกับ ยารักษาวัณโรคบางชนิด 8.แจ้งให้แพทย์ทราบ ในกรณีจะต้องย้ายที่อยู่ เพื่อทำการ ส่งไปรักษาต่อ ใกล้บ้าน จะทำให้ได้รับการรักษา ที่ต่อเนื่อง Ref. Link : http://www.thaichest.org/nuke/modules.php?name=News&file=article&si... |
![]() | การป้องกัน (6) |
![]() | Word Info ID : 694 Word INFO : การป้องกัน สามารถทำได้โดย 1. ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ในเด็กและบุคคลที่แสดงผลลบต่อการทดสอบทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test) เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันวัณโรค ในปัจจุบันตามโรงพยาบาลต่าง ๆ จะทำการฉีดวัคซีนนี้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยทั่วไปมักจะฉีดให้เพียงเข็มเดียว 2. ในคนที่สัมผัสโรค โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือทารก แพทย์อาจให้ ไอเอ็นเอช (ย4.13) กินป้องกันเป็นเวลา 1 ปี 3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 5400 Word INFO : 1. รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายกินอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ 2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค 3. ถ้ามีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้าน ควรเอาใจใส่ดูแลให้กินยาครบถ้วนสม่ำเสมอทุกวัน 4. ควรตรวจร่างกาย โดยการเอกซเรย์ปอดอย่างน้อยปีละครั้งฃ พาบุตร หลาน ไปรับการฉีดวัคซีน บี ซี จี 5. หากมีอาการผิดปกติ น่าสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ โดยการเอกซเรย์ปอด และตรวจเสมหะ 6. ทราบข้อมูลเบื้องต้นคร่าวๆ ของโรคนี้แล้ว จึงอยากเตือนว่าใครที่มีอาการน่าสงสัยดังต่อไปนี้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือเย็น เหงื่อออกตอนกลางคืน มีอาการเจ็บหน้าอก อาการไอเรื้อรังเกิน 3 สัปดาห์ หรือไอมีเสมหะปนเลือด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจโดยเร็ว Ref. Link : http://www.bcnlp.ac.th/stu/mycobacterium.htm |
![]() | Word Info ID : 5410 Word INFO : การป้องกัน สามารถทำได้โดย 1. ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ในเด็กและบุคคลที่แสดงผลลบต่อการทดสอบทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test) เพื่อ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันวัณโรค ในปัจจุบันตามโรงพยาบาลต่าง ๆ จะทำการฉีดวัคซีนนี้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยทั่วไปมักจะฉีดให้เพียงเข็มเดียว 2. ในคนที่สัมผัสโรค โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือทารก แพทย์อาจให้ ไอเอ็นเอชกินป้องกันเป็นเวลา 1 ปี 3. รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ Ref. Link : http://www.thailabonline.com/respirat-tb.htm |
![]() | Word Info ID : 5416 Word INFO : โรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนบีซีจีตั้งแต่แรกเกิด Ref. Link : http://www.doctor.or.th/zone_handbook/01_firstaid/FA46110.HTM |
![]() | Word Info ID : 5425 Word INFO : ฉีดวัคซีน บีซีจี (BCG) ในเด็กและบุคคลที่แสดงผลลบต่อการทดสอบทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test)เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันวัณโรค ในปัจจุบันตามโรงพยาบาลต่างๆ จะทำการฉีดวัคซีนนี้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยทั่วไปมักฉีดให้เพียงเข็มเดียว ในคนที่สัมผัสโรค โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือทารก แพทย์อาจให้ ไอเอ็นเอช กินป้องกันเป็นเวลา 1 ปี รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ(ดังในข้อ 7) Ref. Link : http://www.geocities.com/rtatfet/rosmary3.html |
![]() | Word Info ID : 5433 Word INFO : เริ่มตั้งแต่ให้เด็กแรกเกิดได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรค รักษา สุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หมั่นออกกำลังกาย ละเว้นจากสุราและบุหรี่ พักผ่อน ให้เพียงพอ อย่าตรากตรำทำงานหนักเกินควร เนื่องจากโรคนี้สามารถติดต่อได้ จึงควรป้องกันการแพร่ กระจายของ เชื้อโรคในระยะที่ติดต่อ คือก่อนที่ผู้ป่วยจะได้รับยารักษา หรือรับประทานยายังไม่ถึง 2 สัปดาห์ ด้วยการแยกผู้ป่วยนอนต่างหาก ปิดปากขณะไอหรือจาม ไม่ขากเสมหะเรี่ยราด หลังจากได้รับยา แล้วเชื้อจะถูกทำลายไม่แพร่ให้กับผู้อื่นอีก ปัจจุบันการรักษาวัณโรคปอดสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานหลายเดือนจนกระทั่งเป็น ปี ผู้ป่วยควรอดทนไปพบแพทย์ ตามนัดเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในอากาศ ที่ถ่ายเทสะดวก เมื่ออาการดีขึ้นก็สามารถเรียนหรือทำงาน Ref. Link : http://golferonline.co.th/formhealth.asp?topic=54 |