จำนวนบทความของคำ "โรคตาจากเบาหวาน" : 9 โรคตาจากเบาหวาน เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (1) |
![]() | Word Info ID : 10412 Word INFO : โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โนอินสุลิน หรือร่างกายสร้างอินสุลิน แต่ไม่สามารถนำไปใช้ได้ ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และมีความผิดปกติในการทำงานของเซลล์ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานจะมีน้ำตาลออกมากับปัสสาวะ ผู้ป่วยจะมีอาการปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก กินอาหารได้ แต่น้ำหนักลด การตรวจที่ทำให้ทราบว่าเป็นเบาหวาน คือ ตรวจพบมีน้ำตาลในปัสสาวะ ตรวจเลือดพบมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง มีค่า 126 มิลลิกรัม / เดซิลิตร หรือมากกว่า Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=441 |
![]() | สาเหตุของโรค (2) |
![]() | Word Info ID : 10414 Word INFO : สาเหตุของตามัวและตาบอดในโรคเบาหวาน อาการตามัวจากเบาหวานเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ 1. ตามัวขณะที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการตามัวในขณะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเลนส์ตาเกิดการบวมน้ำ เวลามองภาพไม่สามารถปรับโฟกัสภาพให้ชัดได้ อาการเหล่านี้เกิดเพียงชั่วคราว เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การเห็นจะกลับดีขึ้นได้ 2. ตามัวจากการเกิดต้อกระจก ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานนาน ๆ เลนส์ตาที่เดิมใสจะขุ่นขึ้น เรียกว่าต้อกระจก เกิดเนื่องจากน้ำตาลในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสารซอบิตอล และฟรุคโตส สารเหล่านี้สะสมที่เลนส์ตาทำให้เลนส์ตาขุ่นบังแสงมิให้เข้าสู่นัยน์ตา วิธีรักษา คือ เมื่อต้อกระจกขุ่นมาก ทำการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นออก และใส่เลนส์เทียมเข้าไปแทน 3. ตามัวเนื่องจากมีจอประสาทตาผิดปกติ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน จอประสาทตาจะมีการเปลี่ยนแปลง โดยระยะแรกหลอดเลือดฝอยที่จอประสาทตามีการโป่งพอง และอาจแตกเห็นเป็นจุดเลือดออกเล็ก ๆ อาจพบไขมันออกมาจากผนังหลอดเลือดเหล่านี้เห็นเป็นก้อนสีเหลือง ไขมันที่รวมตัวใกล้จุดรับภาพที่จอประสาทตาร่วมกับจอประสาทตาบวม ทำให้ตามัวมองภาพไม่ชัด ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานเป็นสิบ ๆ ปี จอประสาทตาส่วนที่ขาดเลือดจะถูกกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติ หลอดเลือดเหล่านี้มีผนังเปราะแตกง่าย ทำให้มีเลือดออกภายในลูกตา ผู้ป่วยจะตามัวลงทันที นอกจากนี้อาจเกิดเนื้อเยื่อคล้ายพังพืดงอกตามหลอดเลือดและดึงรั้ง ทำให้จอประสาทตาลอกและตาบอดได้ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน 15 ปี โอกาสที่จอประสาทตาผิดปกติมีร้อยละ 50-60 4. ตาบอดจากต้อหิน ผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดจอประสาทตาผิดปกติ อาจพบมีหลอดเลือดผิดปกติเกิดขึ้นที่บริเวณม่านตา หลอดเลือดเหล่านี้จะอุดทางเดินของน้ำภายในลูกตา ทำให้ความดันตาสูง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตา ตามัวเมื่อเป็นนานเข้า ความดันตาที่สูงจะกดให้ประสาทตาฝ่อ และตาบอดได้ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=441 |
![]() | Word Info ID : 10416 Word INFO : สาเหตุของตามัว และตาบอดในโรคเบาหวาน โรคเบาหวานทำให้มีการเปลี่ยนปลงทางตา เกิดอาการตามัว จนกระทั่งถึงตาบอดได้ ถ้าเป็นโรคนานหลายปี อาการตามัวจากเบาหวานเกิดได้ดังนี้ ก.ตามัวขณะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการตามัว ในขณะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากเลนส์ตาเกิดการบวมน้ำ เวลามองภาพไม่สามารถปรับโฟกัสภาพให้เห็นชัดได้ ลักษณะที่เกิดเหมือนกับคนที่มีสายตาสั้น อาการเหล่านี้เกิดเพียงชั่วคราว เมื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ระดับสายตาจะกลับดีขึ้นได้ ข.ตามัวเนื่องจากเป็นต้อกระจก ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานนาน ๆ เลนส์ตาที่ใสจะขุ่น ที่เราเรียกว่าต้อกระจก เกิดเนื่องจากน้ำตาลในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสารซอบิตอล และฟรุคโตส ซึ่งสารเหล่านี้จะสะสมที่เลนส์ตาทำให้เลนส์ตาขุ่นบังแสงมิให้เข้าสู่นัยน์ตา วิธีรักษาคือ เมื่อต้อกระจกขุ่นมาก ทำการผ่าตัดเอาเลนส์ที่ขุ่นออก และให้ผู้ป่วยใส่แว่น ค. ตามัวเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตา สาเหตุเกิดจาก :จุดรับภาพที่จอประสาทตาบวม มีเลือดออกภายในลูกตาดำ เกิดเยื่อผังผืดดึงรั้งให้จอประสาทตาลอกจอประสาทตาของคนปกติ ประกอบด้วยเส้นเลือดจำนวนมากแผ่เป็นร่างแหเลี้ยงเซลล์ประสาทตา การรับรู้ภาพเกิดโดยแสงจากวัตถุ ผ่านตาดำและเลนส์ตา หักเหรวมแสงให้ภาพตกที่จอประสาทตา การรับรู้ภาพเกิดโดยแสงวัตถุ ผ่านตาดำและเลนส์ตา หักเหรวมแสงให้ภาพตกที่จอประสาทตา และการรับรู้ถ่ายทอดจากจอประสาทตา ผ่านตามเส้นประสาทจากนัยน์ตาไปยังสมอง ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานาน จอประสาทตามีการเปลี่ยนแปลงโดยในระยะแรก หลอดเลือดฝอยที่ประสาทตา มีการโป่งพอง และอาจแตกเห็นเป็นจุดเลือดออกเล็ก ๆ อาจพบไขมันออกจากผนังหลอดเลือดไขมันเหล่านี้ ถ้ารวมอยู่บริเวณจุดรับภาพ จะทำให้ตามัวมองภาพไม่ชัด ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานเป็นสิบ ๆ ปี จอประสาทตาส่วนที่ขาดเลือดจะถูกกระตุ้น ให้เกิดเส้นเลือดขึ้นมาใหม่ ซึ่งมีผนังเปราะและแตกออกง่าย ในระยะที่มีเส้นเลือดผิดปกติเกิดขึ้นนี้อันตรายมาก เพราะเส้นเลือดแตกง่าย ทำให้เลือดออกภายในลูกตา และตามัวลงทันที นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีเนื้อเยื่อคล้ายพังผืดงอกตามเส้นเลือด และดึงรั้งให้ชั้นของประสาทตาลอก ทำให้ตาบอดได้ การเปลี่ยนแปลงที่ชั้นประสาทตาเหล่านี้ พบว่าสัมพันธ์กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน ถ้าเป็นเบาหวานมานาน 15 ปี โอกาสเกิดการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตามี 50-60 เปอร์เซ็นต์ และเกิดตาบอดได้ 1-2 เปอร์เซ็นต์ ง.ตามัวจากต้อหิน ผู้ป่วยเบาหวานพบเป็นต้อหินได้ เนื่องจากเกิดเส้นเลือดที่ผิดปกติที่บริเวณม่านตา (เป็นส่วนตาดำที่มองเห็น) เส้นเลือดเหล่านี้จะอุดทางเดินของน้ำภายในลูกตา ทำให้ความดันตาสูง ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ตามัว และเมื่อเป็นนานเข้า ความดันจะกดให้ประสาทตาฝ่อ และตาบอดได้ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=58 |
![]() | อาการของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 10419 Word INFO : การเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตาจากโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดตาบอดหากไม่ได้รับการรักษา การเปลี่ยนแปลงในระยะแรก จะพบการโป่งพองของหลอดเลือดฝอย เห็นเป็นจุดสีแดงเล็ก ๆ ที่จอประสาทตา พบไขมันที่รั่วมาจากหลอดเลือดเห็นเป็นก้อนสีเหลือง พบเลือดออกในจอประสาทตา และพบเส้นใยประสาทตาบวม เห็นเป็นก้อนสีขาวเหมือนปุยนุ่น การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้สามารถตรวจดูได้โดยใช้กล้องตรวจจอประสาทตา ผู้ป่วยเบาหวานหากเป็นนานขึ้นจะพบเส้นเลือดผิดปกติ และเกิดเยื่อพังผืดขึ้นที่จอประสาทตา เยื่อพังผืดเหล่านี้จะดึงทำให้จอประสาทตาลอก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอด Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=57 |
![]() | โรคแทรกซ้อน (2) |
![]() | Word Info ID : 10413 Word INFO : ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานเป็นเวลานานจะมีโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ 1. จอประสาทตาผิดปกติจากโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดตาบอดและสายตาพิการ 2. โรคไตจากเบาหวาน โดยมีโปรตีนออกมากับปัสสาวะ มีความดันโลหิตสูง และการทำงานของไตเสื่อมลง 3. โรคหัวใจ พบว่าเป็นสาเหตุของการตายในผู้ป่วยเบาหวานถึงร้อยละ 50 4. ประสาทผิดปกติจากเบาหวาน มีการชาตามปลายมือ ปลายเท้า 5. เท้าเป็นแผลเรื้อรัง เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือด และปลายประสาทที่เท้า ทำให้เท้าชาและเกิดแผลเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ต้องตัดขา ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ประมาณร้อยละ 50 ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรค ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานนาน 15 ปี มีร้อยละ 2 ที่เกิดตาบอดและร้อยละ 10 ที่มีสายตาเลือนราง การที่ประชากรอายุยืนยาวขึ้นทำให้มีโอกาสพบผู้ป่วยที่มีสายตาพิการและตาบอดจากโรคเบาหวานมากขึ้น Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=441 |
![]() | Word Info ID : 10418 Word INFO : โรคแทรกซ้อนที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวาน คือ 1. จอประสาทตาเปลี่ยนแปลงจากโรคเบาหวาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดตาบอดและสายตาพิการ 2. ไตวาย เกิดเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่หลอดเลือดฝอยที่ไต ทำให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้ตามปกติ 3. โรคหัวใจ พบว่าเป็นสาเหตุของการตายในผู้ป่วยเบาหวานถึงร้อยละ 50 4. ประสาทเปลี่ยนแปลงจากเบาหวาน มีการชาตามปลายมือ ปลายเท้า 5. เท้าเป็นแผล เกิดจากความผิดปกติในหลอดเลือดและปลายประสาทที่เท้า ทำให้เท้าชา เกิดแผลเรื้อรัง เป็น Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=57 |
![]() | การป้องกัน (3) |
![]() | Word Info ID : 10415 Word INFO : การป้องกันมิให้สายตาเสื่อมลง ก. ตรวจสุขภาพตาเป็นระยะ ๆ ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจสายตา และจอประสาทตา การเปลี่ยนแปลงของจอประสาทตาระยะแรก คือ พบการโป่งพองของหลอดเลือดฝอยที่จอประสาทตา สิ่งสำคัญที่บอกถึงการพยากรณ์โรคและอัตราเสี่ยงต่อการเกิดตาบอดในภายหลัง คือ การพบหลอดเลือดผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งเห็นได้โดยใช้กล้องตรวจดูจอประสาทตา หรือโดยการถ่ายภาพจอประสาทตา ข. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน และความดันโลหิต การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไขมัน และความดันโลหิตมิให้สูงเกินไป จะช่วยลดการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตา ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในระดับ 90-130 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ระดับโคเลสเตอรอลต่ำกว่า 200 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ระดับไตรกลีเซอไรด์ต่ำกว่า 150 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท ค. ทำการรักษาจอประสาทตาโดยแสงเลเซอร์ แสงเลเซอร์เป็นแสงที่มีความยาวของคลื่นแสงขนาดเดียวกัน สามารถปรับให้ลำแสงมีขนาดเล็กลงมาก แสงนี้สามารถผ่านตาดำ เลนส์ตา เข้าสู่จอประสาทตา เมื่อกระทบจอประสาทตา แสงจะเปลี่ยนจากพลังงานแสงเป็นพลังงานความร้อน ผู้ป่วยเบาหวานที่มีจอประสาทตาผิดปกติ มีหลอดเลือดโป่งพองจำนวนมาก และมีเลือดออกในจอประสาทตา การใช้แสงเลเซอร์จี้ที่ประสาทตา จะทำให้ส่วนของประสาทตาที่ขาดเลือด ต้องการออกซิเจนลดลง เป็นการป้องกันมิให้เกิดหลอดเลือดใหม่ที่ผิดปกติ นอกจากนี้การจี้เลเซอร์ ยังทำให้หลอดเลือดผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้วฝ่อลงไปได้ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=441 |
![]() | Word Info ID : 10417 Word INFO : การป้องกันมิให้สายตาเสื่อมลง ก.ตรวจสุขภาพตาเป็นระยะ ๆ ผู้ป่วยเบาหวาน ควรได้รับการตรวจสายตา และจอประสาทตาโดยแพทย์ การเปลี่ยนแปลงที่ตรวจพบได้ในระยะแรก คือการโป่งพองของเส้นเลือดฝอยที่จอประสาทตา สิ่งสำคัญที่บอกถึงการพยากรณ์โรค และอัตราเสี่ยงต่อการเกิดตาบอดในภายหลังก็คือ การพบเส้นเลือดที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งเห็นได้โดยการใช้กล้องตรวจดูประสาทตา หรือฉีดสีเข้าเส้นเลือด และถ่ายภาพดูเส้นเลือดที่ประสาทตา ข. ควบคุมระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกต ถึงแม้ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการควบคุมระดับน้ำตาลจะช่วยยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของประสาทตามิให้เลวลง ได้ผลจริงหรือไม่ แต่การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ก็สามารถลดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ของโรค จึงเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง ค. การจี้ด้วยแสงเลเซอร์ แสงเลเซอร์ เป็นสิ่งที่มีความยาวของคลื่นแสงขนาดเดียวกัน สามารถปรับให้ลำแสงมีขนาดเล็กมาก แสงนี้สามารถผ่านตาดำ เลนส์ตา และเมื่อกระทบกับประสาทตา จะถูกเปลี่ยนพลังงานจากพลังงานแสงเป็นพลังงานความร้อน การใช้แสงเลเซอร์จี้ที่ประสาทตา ทำให้ส่วนของจอประสาทตาที่ขาดเลือด ต้องการออกซิเจนลดลง เป็นการป้องกันมิให้เกิดเส้นเลือดใหม่ที่ผิดปกติ นอกจากนี้แสงเลเซอร์ยังใช้จี้เส้นเลือดที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นแล้ว ให้ฝ่อไปได้ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=58 |
![]() | Word Info ID : 10420 Word INFO : การป้องกันมิให้โรคลุกลามมากขึ้น คือ เมื่อพบว่ามีเส้นเลือดผิดปกติแพทย์จะใช้แสงเลเซอร์รักษาจี้ไปยังประสาทตา เพื่อทำให้เส้นเลือดฝ่อ เป็นการหยุดการเปลี่ยนแปลงของโรค ดังนั้นการตรวจหาการเปลี่ยนแปลงที่จอประสาทตา ในระยะแรกเริ่มจึงมีความสำคัญ การตรวจคัดกรองดูจอประสาทตา ส่วนใหญ่แพทย์จะทำการตรวจนัยน์ตาโดยการหยอดยาขยายม่านตา และใช้กล้องตรวจจอประสาทตา การตรวจพบเส้นเลือดฝอยโป่งพอง จุดเลือดออก หรือก้อนไขมันคั่ง ทำให้ทราบว่าจอประสาทตาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากเบาหวาน แพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจเป็นระยะ ๆ และสามารถให้การรักษาโดยแสงเลเซอร์ ก่อนที่จะเกิดพังผืดดึงรั้งให้จอประสาทตาลอก Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=57 |