จำนวนบทความของคำ "จมน้ำ" : 4 จมน้ำ เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (1) |
![]() | Word Info ID : 68 Word INFO : จมน้ำเป็นเหตุนำการตายในเด็กไทย เด็กไทย 0-17 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำปีละ 1624 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 8.7/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 27 ของการตายจากการบาดเจ็บ กลุ่มทารกและกลุ่มวัยรุ่น (อายุมากกว่า 10 ปี) เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่ม 1-10 ปี พบว่ากลุ่มเด็ก 1-4 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำสูงถึง 12.9/100000 ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 53 ของการตายจากการบาดเจ็บ และกลุ่มเด็ก 5-9 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำ12/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 56 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด การจมน้ำในเด็กทารก เด็กทารก (น้อยกว่า 1 ปี) เป็นกลุ่มเด็กที่มีการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและการจมน้ำไม่มากเนื่องจากเด็กยังมีพัฒนาการเคลื่อนที่ได้น้อยโดยเฉพาะใน 6 เดือนแรก เด็กทารกเสียชีวิตจากการบาดเจ็บทั้งหมดปีละ 122 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 15 คน ต่อการเกิดมีชีพ 100000 คน ในจำนวนนี้มีสาเหตุจากการจมน้ำ 18 รายต่อปี (ร้อยละ 15) การจมน้ำในเด็ก 1-14 ปี จมน้ำเป็นเหตุนำการตายในเด็กไทย 1-11 ปี เมื่อเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไปจะมีอัตราการตายจากอุบัติเหตุจราจรสูงกว่าการจมน้ำ และอุบัติเหตุจราจรจะเป็นเหตุนำการตายตั้งแต่อายุ 12 ขึ้นไปจนถึงวัยรุ่นและวัยกลางคน (middle age group) เด็กอายุ 1-14 ปีเสียชีวิตจากการจมน้ำปีละ 1482 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 9.8/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 44 ของการตายจากการบาดเจ็บ กลุ่มเด็ก 1-4 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำสูงถึง 12.9/100000 ต่อปี คิดเป็นร้อยละ 53 ของการตายจากการบาดเจ็บ กลุ่มเด็ก 5-9 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำ12/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 56 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด ในขณะที่กลุ่ม กลุ่มเด็ก 10-14 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำ 5.3/100000 ต่อปี หรือร้อยละ 24.6 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด (รูปที่1) รูปที่ 1 อัตราการตายจากการจมน้ำ (/100000) ในเด็กกลุ่มอายุต่างๆ เมื่อเด็กมีอายุเกินหนึ่งปีแล้วพบว่าอัตราการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและการจมน้ำเพิ่มขึ้นอย่าางรวดเร็ว พบว่าเด็กอายุ 1-2 ปี มีอัตราการตายจากการจมน้ำสูงถึง 13.7 และ 13.6 /100000 ตามลำดับ หลังจากนั้นจะลดลงเมื่ออายุ 3 ปี และเริ่มมีอัตราการตายสูงขึ้นอีกเมื่ออายุ 4 ปีขึ้นไป จนถึงจุดสูงสุดทึ่อายุ 5-6 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการจมน้ำสูงสุด โดยมีอัตราการตาย 14.7 และ 14.2 /100000 ตามลำดับ ภายหลังจากอายุ 6 ปีอัตราการตายจากการจมน้ำจะลดลงตามลำดับเมื่ออายุมากขึ้น (รูปที่ 2 ) รูปที่ 2 อัตราการตายจากการจมน้ำ (/100000) ในเด็กอายุ 1-14 ปี เด็กชายมีโอกาสเสียชีวิตจากการจมน้ำมากกว่าเด็กหญิง สัดส่วนเด็กชายต่อเด็กหญิงเท่ากับ 1.8:1แต่เมื่อพิจารณาแต่ละช่วงปีแล้วพบว่าสัดส่วนชายต่อหญิงเพิ่มมากขึ้นตามลำดับตั้งแต่อายุ ปีจนเพิ่มสูงสุดที่อายุ 4-6 ปีเช่นเดียวกับอัตราการตาย หลังจากนั้นสัดส่วนชายต่อหญิงจะลดลงตามลำดับ และสัดส่วนชายต่อหญิงเพิ่มมากขึ้นอีกเมื่ออายุมากกว่า 12 ปี ที่อายุ 10-12 ปีสัดส่วนหญิงต่อชายเป็นผกผันเนื่องจากอัตราการตายของเด็๋กหญิงสูงกว่าเด็กชาย (รูปที่ 3) รูปที่ 3 อัตราการตายจากการจมน้ำ (/100000) ในเด็กอายุ 1-17ปี เพศชายและหญิง 10 จังหวัดที่มีจำนวนการเสียชีวิตสูงสุดจากการจมน้ำในเด็กน้อยกว่า 15 ปีคือ นครราชสีมา (77 รายต่อปี) กรุงเทพ (70 รายต่อปี) อุบลราชธานี (54 รายต่อปี) อุดรธานี (54 รายต่อปี) สุรินทร์ (50 รายต่อปี) ศรีสะเกษ (48 รายต่อปี) บุรีรัมย์ (47 รายต่อปี) ขอนแก่น (45 รายต่อปี) ร้อยเอ็ด (38 รายต่อปี) และหนองคาย (35 รายต่อปี) การจมน้ำในเด็ก 15-17 ปี ในวัยรุ่นกลุ่มอายุนี้เสียชีวิตจากการจมน้ำปีละ 124 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 3.7/100000 หรือร้อยละ 4.8 ของการตายจากการบาดเจ็บทั้งหมด (2541 ราย) ในกลุ่มวัยรุ่นชายอัตราการตายจากการจมน้ำยังคงสูงขึ้นต่อเนื่องมาจากอายุ 13-14 ปี โดยมีอัตราการตายจากการจมน้ำ (/100000) ของวัยรุ่นชายอายุ 13-17 ปีเท่ากับ 4.86, 5.31, 5.51, 6.57 และ 5.16 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการตายของวัยรุ่นหญิงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อายุ 10-17 ปี โดยมีอัตราการตายเท่ากับ 6.85, 5.11, 3.8, 3, 2.27, 1.63 และ 1.09 ตามลำดับ Ref. Link : www.thaihealth.or.th |
![]() | สาเหตุของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 70 Word INFO : จุดที่คาดไม่ถึงในบ้าน?ในบ้านเราเองนี่แหละค่ะ เป็นสาเหตุให้เจ้าหนูจมน้ำเสียชีวิตมานักต่อนักแล้ว ส่วนใหญ่เป็นมุมที่คุณพ่อคุณแม่บางคนคาดไม่ถึง เช่น จมถังน้ำ อ่างอาบน้ำ กะละมังอาบน้ำ อ่างหรือบ่อเลี้ยงปลาในบ้าน หรือแม้แต่สระว่ายน้ำทั้งแบบทั่วไปกับแบบสูบลมสำหรับเด็ก เพราะแค่ระดับน้ำสูงกว่า 5 ซม. ก็อาจทำให้เจ้าหนูจมน้ำได้แล้วค่ะ พ่อแม่พลั้งเผลอ มีเหตุการณ์ที่เด็กเล็กจมน้ำเสียชีวิตหลายเหตุการณ์เชียวค่ะ ที่เกิดมาจากพ่อแม่เผอเรอเพียงชั่วประเดี๋ยวประด๋าว ปล่อยให้เจ้าหนูเล่นน้ำตามลำพังคนเดียว เช่น พ่อแม่เดินไปรับโทรศัพท์ ไปเข้าห้องน้ำ คุยเพลิน หรือเผลอหลับไปชั่วครู่ เด็ก?ซุกซน เด็กเล็กเป็นวัยซุกซนพร้อมจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างเต็มที่ เขายังไม่รู้เท่าทันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองได้ จึงเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ หรือผู้ดูแลต้องอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าหนูตลอดเวลา และดูแลสิ่งแวดล้อมรอบตัวลูกให้ปลอดภัย Ref. Link : http://www.elib-online.com/doctors47/child_swim001.html |
![]() | คำแนะนำ (1) |
![]() | Word Info ID : 74 Word INFO : ก่อนที่จะลงไปช่วยลูกขึ้นมา พ่อแม่ต้องประเมินตัวเองว่าว่ายน้ำเป็นหรือไม่ ถ้าเราว่ายน้ำไม่เป็นควรหาคนที่อยู่บริเวณใกล้ๆ ช่วยเหลือลูก แต่ถ้าไม่มีใครเลยต้องรีบหาสิ่งของ เช่น ไม้ยาวๆ ส่งให้เจ้าหนูจับแล้วดึงตัวขึ้นมา เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งลงไปช่วยลูก ระหว่างนั้นต้องรีบโทร.แจ้ง 1669 หรือสถานพยาบาลใกล้ที่สุด เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อพาลูกขึ้นฝั่งแล้ว ถ้าเจ้าหนูหมดสติหรือไม่หายใจ ต้องรีบผายปอดด้วยวิธีการเป่าปาก ให้เด็กนอนราบกับพื้นและเชิดคางขึ้นเล็กน้อย แล้วเป่าลมหายใจเข้าทางปากของเด็ก 2 ครั้ง ครั้งละ 1-2 วินาที สังเกตดูว่า หน้าอกของเด็กขยายตามจังหวะการเป่าลมหรือไม่ ถ้าผายปอดให้เจ้าหนูแล้ว เจ้าหนูยังไม่หายใจ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาเจ้าหนูไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้แพทย์ช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีค่ะ Ref. Link : ก่อนที่จะลงไปช่วยลูกขึ้นมา พ่อแม่ต้องประเมินตัวเองว่าว่ายน... |
![]() | การป้องกัน (1) |
![]() | Word Info ID : 77 Word INFO : สอนหนูให้เข้าใจภัยจากน้ำ เด็กที่โตกว่า 2 ปี สามารถเข้าใจอันตรายที่เกิดขึ้นจากแหล่งน้ำได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนเรื่องความปลอดภัยให้เจ้าหนูได้ เช่น หนูไม่ควรปีนป่ายถังน้ำในห้องน้ำ เพราะถ้าพลาดตกลงไป อาจเจ็บตัวหรือจมน้ำได้ กำจัดภัยในบ้าน บ้านไหนที่มีลูกอยู่ในวัยกำลังหัดคลาน หัดเดิน ต้องจัดพื้นที่การเล่นของลูกให้ปลอดจากแหล่งน้ำได้ เช่น ไม่วางถังน้ำหรือกะละมังซักผ้าที่มีน้ำอยู่เต็มไว้ ควรเทน้ำนั้นทิ้งเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าหนูตกลงไปได้ หรือแม้แต่ในห้องน้ำเมื่อใช้เสร็จแล้วก็ควรปิดประตูไว้ทุกครั้ง นอกจากในบ้านแล้ว พ่อแม่ต้องสำรวจดูบริเวณชุมชนที่อาศัยอยู่ด้วยว่ามีจุดใดบ้างที่เป็นจุดเสี่ยง เช่น ท่อน้ำมีฝาปิดแน่นหนาดีหรือเปล่า หรืออย่าปล่อยให้เจ้าตัวเล็กไปวิ่งเล่นบริเวณที่มีบ่อน้า สระน้ำเพียงลำพัง และดูแลให้มีรั้วกั้นป้องกัน ก่อนที่จะลงไปช่วยลูกขึ้นมา พ่อแม่ต้องประเมินตัวเองว่าว่ายน้ำเป็นหรือไม่ ถ้าเราว่ายน้ำไม่เป็นควรหาคนที่อยู่บริเวณใกล้ๆ ช่วยเหลือลูก แต่ถ้าไม่มีใครเลยต้องรีบหาสิ่งของ เช่น ไม้ยาวๆ ส่งให้เจ้าหนูจับแล้วดึงตัวขึ้นมา เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งลงไปช่วยลูก ระหว่างนั้นต้องรีบโทร.แจ้ง 1669 หรือสถานพยาบาลใกล้ที่สุด เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อพาลูกขึ้นฝั่งแล้ว ถ้าเจ้าหนูหมดสติหรือไม่หายใจ ต้องรีบผายปอดด้วยวิธีการเป่าปาก ให้เด็กนอนราบกับพื้นและเชิดคางขึ้นเล็กน้อย แล้วเป่าลมหายใจเข้าทางปากของเด็ก 2 ครั้ง ครั้งละ 1-2 วินาที สังเกตดูว่า หน้าอกของเด็กขยายตามจังหวะการเป่าลมหรือไม่ ถ้าผายปอดให้เจ้าหนูแล้ว เจ้าหนูยังไม่หายใจ คุณพ่อคุณแม่ต้องรีบพาเจ้าหนูไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้แพทย์ช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีค่ะ 1. อย่าปล่อยให้เด็กๆ อยู่ในน้ำตามลำพัง ไม่ว่าจะอยู่ในอ่างอาบน้ำที่บ้านหรือในสระว่ายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่สั้นเพียงใด ปล่อยให้โทรศัพท์ที่บ้านหรือออดหน้าประตูดังไปเรื่อยๆ จนกว่าคุณจะนำเด็กขึ้นจากน้ำแล้วมาอยู่กับคุณเรียบร้อย 2. ควรเก็บสระน้ำพลาสติกสำหรับเล่นที่สนามหน้าบ้าน, ถังน้ำ และอุปกรณ์ใส่น้ำทุกชนิด ที่เด็กๆ สามารถลงไปนั่งเล่นได้ให้พ้นจากมือเด็ก เพราะเด็กส่วนใหญ่ชอบเล่นน้ำ และสามารถเปิดสายยางฉีดน้ำให้เต็มถังน้ำเหล่านี้ได้ในเวลาอันสั้น เด็กๆสามารถจมน้ำระดับลึก 2 นิ้วได้ภายในเวลา 30 วินาที 3. หากที่บ้านคุณมีบ่อปลา, สระบัว, คุณควรหาตาข่ายมาคลุมปากสระดังกล่าวเสีย หรือสร้างรั้วกั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กๆ ตกลงไปโดยไม่ตั้งใจ 4. สอนให้เด็กๆ รู้จักการลอยตัวในน้ำ หรือรู้วิธีจับห่วงยาง, บ่วง หรือเชือกเพื่อช่วย เหลือให้ขึ้นจากน้ำ หากตกน้ำ 5. เด็กๆควรได้รับการจับตาดูแลอย่าง ใกล้ชิดเมื่ออยู่ในสระน้ำ ไม่ว่าจะว่ายน้ำแข็งเพียงใด 6. สอนให้เด็กๆช่วยเหลือคนตกน้ำด้วยการ โยนอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้ลงไปหาคนตกน้ำ เช่นห่วงยาง, บ่วงยาวๆ หรือไม้ยาวๆ ให้เกาะไปก่อน แล้วจึงรีบหาผู้ใหญ่มาช่วย รวมทั้งสอนวิธีช่วยชีวิต ผายปอดอย่างง่ายๆ รวมทั้งการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้เด็กๆ ได้รู้จัก 7. ตระหนักถึงอันตรายของสถานที่ใกล้เคียง แถวบ้านที่อาจทำให้เด็กๆ จมน้ำได้ เช่น บ่อน้ำ, แม่น้ำ, ลำคลอง ซึ่งมักเป็นสถานที่ที่เด็กชอบไปเล่นใกล้ๆ โดยไม่คำนึงถึงอันตราย และควรสอนให้เด็กหลีกเลี่ยงสถานที่เหล่านี้ Ref. Link : http://www.thaiparents.com/drawningtip.html |