จำนวนบทความของคำ "โรคหลอดเลือดสมองตีบ" : 12 โรคหลอดเลือดสมองตีบ เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (4) |
![]() | Word Info ID : 10176 Word INFO : โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือสโตร๊ก (Stroke) อาจฟังดูไม่คุ้นหู แต่ถ้าบอกว่าอัมพาต หลายคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เพราะพบมาขึ้นทุกวันในสภาวะความเครียดทางเศรษฐกิจปัจจุบัน อัมพาตอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้สถิติตัวเลขของผู้ป่วยอัมพาตทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบันคือ การที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่เป็นทางเดินของเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดอาการอัมพาตในระยะต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค Ref. Link : http://www.bangkokhealth.com/neuro_htdoc/neuro_health_detail.asp?Nu... |
![]() | Word Info ID : 10179 Word INFO : โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก เป็นโรคที่ประชาชนชาวไทยเป็นถึง 150,000 รายต่อปี คิดเป็นงบประมาณถึง 15,000 ล้านบาทต่อปี มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ในปี พ.ศ. 2545 มีประชาชนในโลกเสียชีวิต 10 คนต่อ 1 นาที ถ้าไม่มีการทำอะไรเพื่อป้องกันโรคนี้จะมีการเสียชีวิตถึง 20 คนต่อ 1 นาที ภายใน 15 ปีข้างหน้า ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นโรคนี้น่าจะป้องกันได้ ซึ่งจะมีการรณรงค์ป้องกันโรคนี้จนถึงปี พ.ศ. 2550 โดยจะตรวจประชาชน 1 ล้าน คนต่อปี และจะสามารถช่วยประชาชน 7.5 หมื่นคนต่อปี ซึ่งจะเป็นการประหยัดเงินถึง 75,000 ล้านบาท Ref. Link : http://www3.easywebtime.com/ddc_kmo/stroke.html |
![]() | Word Info ID : 10241 Word INFO : อัมพาตหรืออัมพฤกษ์เป็นผลที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่สมองเกิดภาวะผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดกับเนื้อสมองทำให้สมองส่วนนั้นไม่สามารถทำงานได้ อาจเป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร อาการที่มักจะพบได้ทั่วไปก็คือ พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง แขนขาไม่มีแรง หรือชา ซึ่งอาการอาจเกิดแบบทันทีทันใด และค่อย ๆ เป็นมากขึ้นในช่วง 2-3 วัน หรือเป็น ๆ หาย ๆ สาเหตุอาจแยกได้ง่าย ๆ เป็น 2 กลุ่มก็คือ 1. กลุ่มหลอดเลือดสมองตีบตัน 2. กลุ่มเลือดออกในสมอง กลุ่มแรกพบมากประมาณ 70% ของความผิดปกติทางสมองทั้งหมด ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้มีสาเหตุความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ผลที่เกิดได้กับทั้งผู้ป่วยหรือครอบครัว คือประมาณ 30% ของผู้ที่มีความผิดปกติเกิดขึ้นจะเสียชีวิต อีก 30% ต้องทุพพลภาพหรือทำงานไม่ได้ และมีเพียง 30% เท่านั้นที่หายจากโรคแต่ก็ต้องทานยาควบคุมไปตลอดชีวิต Ref. Link : http://www.bph.co.th/th/main.php?module=healthtips;sub=detail;id=47 |
![]() | Word Info ID : 10247 Word INFO : เส้นเลือดสมองตีบ/แตก เป็นโรคหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า โรคเส้นเลือดสมอง ซึ่งประกอบด้วย 3 โรคหลัก ๆ ได้แก่ เส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดสมองแตก เส้นเลือดสมองอุดตัน โดยที่ เส้นเลือดสมองตีบเป็นแบบที่พบได้มากที่สุด (80%-85%) Ref. Link : http://www.tkc.go.th/index.aspx?pageid=164&parent=111&directory=119... |
![]() | สาเหตุของโรค (3) |
![]() | Word Info ID : 10180 Word INFO : สาเหตุของการตีบ อุดตัน หรือแตกของหลอดเลือดแดงมาจากการแข็งตัวของหลอดเลือด หรือที่แพทย์เรียกว่า atherosclerosis ซึ่งเริ่มเป็นตั้งแต่เกิด ทั้งๆ ที่อยู่ในวันเด็ก เยาวชน จะมีไขมัน หินปูนไปเกาะตามผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกายตีบแคบลงเรื่อยๆ แต่กว่าที่จะมีอาการหลอดเลือดมักต้องตีบประมาณ 70-80%ของเส้นผ่าศูนย์กลาง อาการคืออาการของอวัยวะที่สำคัญต่างๆ ที่ขาดเลือด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือด นอกจากหลอดเลือดตีบแล้ว วันดีคืนดีหลอดเลือดที่ตีบอยู่แล้ว อาจมีการปริแตกของก้อนไขมันที่อยู่ใต้ผนังหลอดเลือด ทำให้เป็นการจุดชนวนทำให้มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในรูของหลอดเลือด และเกิดการแข็งตัวของลิ่มเลือด ทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือดทำให้เกิดอาการของโรคนี้ขึ้นมาทันที Ref. Link : http://www3.easywebtime.com/ddc_kmo/stroke.html |
![]() | Word Info ID : 10242 Word INFO : สาเหตุที่ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเกิดการอุดตัน มี 3 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ 1. เกิดจากเส้นเลือดมีการตีบแคบลงเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา ของหลอดเลือด ในสมองซึ่งส่วนมากในคนไทยมักจะเป็นสาเหตุนี้ 2. มีก้อนเลือดแข็งตัวขนาดเล็กหลุดจาดลิ้นหรือผนังหัวใจไปตามกระแสเลือด เกิดไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง อาจพบได้ในผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ผู้ป่วยที่หัวใจโตอยู่ก่อน 3. เกิดจากมีการตีบแคบลงเรื่อย ๆ ของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองบริเวณคอ ถ้าเป็นหลอดเลือดที่คอด้านหน้าตีบ อาการในระยะแรก โดยจะมาด้วยอาการแขนขาชา หรือมีอาการอ่อนแรงเป็นพัก ๆ หรือในบางรายมีอาการพูดไม่ออกหรือพูดไม่ชัด แต่ถ้าเป็นหลอดเลือดที่คอด้านหลังตีบจะมาด้วยมีอาการมึนงงเป็น ๆ หาย ๆ ความจำไม่ดีหรือตามัวลง Ref. Link : http://www.bph.co.th/th/main.php?module=healthtips;sub=detail;id=47 |
![]() | Word Info ID : 10248 Word INFO : สาเหตุ เส้นเลือดตีบ/แตก เกิดจากการหนาตัวของผนังหลอดเลือด รวมทั้งอาจมีเกล็ดเลือด หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ของเลือด มาสะสมตามผนังหลอดเลือด ซึ่งจะทำให้เลือดไหลผ่านได้น้อยลง ถ้าเป็นมากก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเพียง และเกิดความเสียหายต่อเซลสมองบริเวณนั้น ๆ Ref. Link : http://www.tkc.go.th/index.aspx?pageid=164&parent=111&directory=119... |
![]() | อาการของโรค (2) |
![]() | Word Info ID : 10177 Word INFO : จะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการสมองขาดเลือด อาการของโรคมีความรุนแรงแตกต่างกัน แยกได้เป็น 3 ระดับ 1. อาการน้อย คือ กลุ่มของผู้ที่มีหลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตันเป็นหลอดเลือดขนาดเล็ก ยังไม่เกิดการทำลายของเซลล์สมองในบริเวณนั้น สมองขาดเลือดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ทำให้เกิดอาการซึ่งอาจเป็นวินาที นาที หรือชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง ลักษณะอาการประกอบด้วย กล้ามเนื้ออ่อนแรงจะเป็นที่แขนอย่างเดียว ขาอย่างเดียว หน้าและแขน การเคลื่อนไหวช้าลง ที่ใบหน้าจะเห็นมุมปากตก อมน้ำไว้ในปากไม่ได้ ความจำเสื่อมชั่วขณะ คิดอะไรไม่ออก พูดไม่ชัด เป็นต้น 2. อาการปานกลาง (อัมพฤกษ์) กลุ่มนั้นเซลล์สมองถูกทำลายไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ทั้งหมด ภายหลังการรักษาแล้ว อาการอาจดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายใน 3-6 เดือน อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใด นอกจากล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้ว ผู้ป่วยจะสูญเสียการทรงตัวบางขณะ มีอาการตามัวครึ่งตา หรือมืดไปข้างหนึ่ง สูญเสียความทรงจำ และความสามารถในด้านการคิดคำนวณ การตัดสินใจ และมักมีอาการทางอารมณ์ร่วมด้วย เช่น ซึมเศร้า หรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ 3. อาการรุนแรง (อัมพาต) กลุ่มนี้เซลล์สมองถูกทำลายโดยถาวร จะเกิดการอ่อนแรงของแขนและขา ขยับแขนหรือขาเองไม่ได้ สูญเสียการทรงตัว พูดไม่ได้ หรือเปล่งเสียงออกมาจากลำคอไม่ได้ กล้ามเนื้อหน้าทำงานไม่เท่ากัน หนังตาตก กลอกตาไม่ได้ กลืนอาหารลำบาก ปฏิกิริยาตอบสนองช้า สูญเสียความทรงจำ เป็นต้น Ref. Link : http://www.bangkokhealth.com/neuro_htdoc/neuro_health_detail.asp?Nu... |
![]() | Word Info ID : 10243 Word INFO : อาการและความรุนแรง เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนมีสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงแตกต่างกัน และหลอดเลือดในสมองก็มีขนาดต่าง ๆ กัน อาการของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาการดำเนินของโรค ตำแหน่งที่หลอดเลือดเกิดการตีบตันในสมอง และขนาดของหลอดเลือดที่ตีบตันว่าเป็นหลอดเลือดใหญ่ หรือหลอดเลือดขนาดเล็ก อาการของโรคแบ่งความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ · อาการน้อย อาการจะเป็นไม่มาก อาจมีเพียงพูดไม่ชัด มุมปากตก แขนขาไม่มีแรง แต่พอที่จะเดินได้มักไม่มีอาการปวดศีรษะ กลุ่มนี้ถ้าได้รับการรักษาในระยะแรก ๆ ภายใน 2-4 สัปดาห์ มักจะกลับคืนเกือบปกติ หรือหายเป็นปกติได้ในบางราย · อาการปานกลาง อาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาจเกิดขึ้นทันทีทันใด และอ่อนแรงมากขึ้น จนขยับแขนขาไม่ได้ หรือพูดไม่ได้เลย กลุ่มนี้จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเพื่อสังเกตอาการ และรีบให้การรักษาในโรงพยาบาล เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ภายใน 3-5 วัน หลังจากเริ่มมีอาการปรากฏ เช่น ซึมลงจากภาวะสมองบวมหรือมีภาวะเลือดซึมในสมอง การฟื้นตัวในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเริ่มเห็นชัดประมาณสัปดาห์ที่ 3 อาการหลังจากนี้มักจะไม่กลับมาเป็นปกติ อาจจะมีอาการเกร็งพูดไม่ชัด ซึ่งต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง และต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อช่วยในการดำรงชีวิตประจำวัน เช่น ไม้เท้า รถเข็น · อาการหนัก มักไม่รู้สึกตัวตั้งแต่ต้น หรือมีอาการซึมลงอย่างรวดเร็วมากภายใน 24 ชั่วโมง กลุ่มนี้มักเกิดกับผู้ป่วยที่หลอดเลือดสมองขนาดใหญ่ตีบตัน ซึ่งในผู้ป่วยสูงอายุโดยมากจะมีโรคประจำตัวหลายอย่างอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวานหรือเคยเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตมาก่อน กลุ่มนี้มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ได้แก่ การติดเชื้อในปอดจากการสำลัก สมองบวม ผู้ป่วยมักจะต้องได้รับการดูแลในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก หรือหออภิบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง ส่วนใหญ่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ เพราะผู้ป่วยไม่สามารถจะหายใจได้เอง และบางรายต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อลดภาวะสมองบวมเมื่อพ้นระยะวิกฤตแล้วผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้ระดับหนึ่งแต่ไม่มาก เนื่องจากเนื้อสมองถูกทำลายไปมาก ส่วนใหญ่จะต้องใช้ชีวิตอยู่บนเตียงหรือรถเข็น มักจะต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือตลอดเวลา และต้องเข้าออกโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาบ่อยครั้งเพราะปัญหาการติดเชื้อ เช่น ปอดอักเสบ แผลกดทับ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ฯลฯ Ref. Link : http://www.bph.co.th/th/main.php?module=healthtips;sub=detail;id=47 |
![]() | โรคแทรกซ้อน (1) |
![]() | Word Info ID : 10200 Word INFO : นอกจากนี้การอุดตันของหลอดเลือดอาจเกิดจากการที่มีลิ่มเลือดจากหัวใจที่เป็นโรค หรือไขมันจากหลอดเลือดที่คอหลุดและไหลไปอุดตันหลอดเลือดในสมอง ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็ง หรือ atherosclerosis มีอยู่ 10 ประการ คือ กรรมพันธุ์ เพศชาย สูงอายุ ซึ่ง 3 อย่างนี้เราเลือก ?เกิด? ไม่ได้ แต่เราลดความเสี่ยงได้ นอกจาก 3 อย่างนี้แล้วอีก 7 อย่าง เราสามารถป้องกันได้ทั้งนั้น ไม่มากก็น้อย ถ้าเรามีความรู้ สนใจ และมีวินัยพอ คือการไม่สูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน การไม่ออกกำลังกาย และความเครียด กังวล ฯลฯ เมื่อทราบอย่างนี้แล้ววิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ อย่าให้อ้วน เมื่อใดจึงจะเรียกว่าอ้วน รู้ได้ง่ายๆ คือ ดูพุงตนเอง ถ้ามีพุงก็ถือว่าอ้วนแล้ว นอกจากนั้นยังควรดูอัตราส่วนของพุง (ตรงสะดือ) ต่อสะโพก ซึ่งพุงควรเล็กกว่าสะโพก ต่อจากนั้นจึงควรดูน้ำหนักตนเองซึ่งก็ต้องเทียบกับอย่างอื่นตามสากลนิยมจะต้องวัดดัชนีมวลกาย หรือ body mass index (BMI) ซึ่งก็คือ น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม หารด้วยความสูงเป็นเมตรกำลังสอง เช่น หนัก 80 กิโลกรัม สูง 1.78 เมตร BMI ก็คือ 80 หารด้วย 1.782 = 25.25 ค่าปรกติของคนในโลกอยู่ที่ 18.5-24.9 แต่องค์การอนามัยโลกบอกว่าคนเอเชีย (รวมทั้งคนไทยด้วย) มีโครงสร้างเล็ก บาง BMI จึงไม่ควรสูงเกิน 23 Ref. Link : http://www3.easywebtime.com/ddc_kmo/stroke.html |
![]() | การป้องกัน (1) |
![]() | Word Info ID : 10244 Word INFO : ทุกคนสามารถป้องกัน "อัมพาต" ได้ด้วยการเริ่มต้นดูแลเอาใจใส่สุขภาพของตนเองด้วยการหมั่นตรวจสุขภาพ และลดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ · งดสูบบุหรี่ · ดูแลตนเองในด้านการรับประทานอาหาร อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน · ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ · รักษาความดันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ · ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ · ถ้าเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด · ในผู้ป่วยหลอดเลือดที่คอตีบ และเคยมีอาการของเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ · การผ่าตัดหลอดเลือดที่คอเป็นการป้องกันการเกิดอัมพาตซ้ำได้ Ref. Link : http://www.bph.co.th/th/main.php?module=healthtips;sub=detail;id=47 |
![]() | อื่นๆ (1) |
![]() | Word Info ID : 10178 Word INFO : ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคสมองขาดเลือด ความดันโลหิต ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงกว่า 200-130 มิลลิเมตรปรอท (ค่าปกติ 160-90 มิลลิเมตรปรอท) จะทำให้สมองทำงานผิดปกติ หรือเกิดการแตกหรือตีบของหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบแข็ง ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองอุดตัน เกิดเป็นอัมพาต (หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหารเช้ามากกว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มากกว่า 2 ครั้ง อาจสันนิษฐานได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน) ไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เป็นอัมพาตในเวลาต่อมา สูบบุหรี่ ยิ่งสูงมากยิ่งเสี่ยงมาก เนื่องจากสารคาร์บอนมอนนอกไซด์เป็นตัวเร่งให้เกิดการระคายเคืองของผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตันขึ้นได้ ขาดการออกกำลังกาย ความเครียด ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก หรือตีบตันเฉียบพลัน โรคอ้วน Ref. Link : http://www.bangkokhealth.com/neuro_htdoc/neuro_health_detail.asp?Nu... |