จำนวนบทความของคำ "ไต" : 24 ไต เป็น อวัยวะ |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (9) |
![]() | Word Info ID : 8417 Word INFO : ไต เป็นอวัยวะรูปร่างคล้ายถั่วเหลือง อยู่บริเวณบั้นเอวข้างกระดูกสันหลัง 2 ข้าง Ref. Link : http://www.organdonate.in.th/care.html |
![]() | Word Info ID : 8499 Word INFO : ไต เป็นอวัยวะหลักในการคุมสมดุลย์น้ำและเกลือแร่ และการขับถ่ายของเสีย โดยจะกรองของเสีย จากเลือดเป็นน้ำปัสสาวะ จริง ๆ แล้วตัวขับของเสียและทำลายของเสีย หรือทำลายพิษก็คือตับและไต ไม่ใช่อุจจาระ อุจจาระเป็นเพียงกากอาหาร โดยอาหารที่เรารับประทานเมื่อถูกย่อยแล้วจะถูกดูดซึม เข้าเลือดจนหมด กากที่เหลือจะถูกเปลี่ยนโดยแบคทีเรียที่ร่างกายเลี้ยงไว้ในลำไส้ใหญ่ และขับมา เป็นอุจจาระ ส่วนที่ดูดซึมไปนั้น ถ้าเป็นของดี ร่างกายจะนำไปใช้ในการเผาผลาญและซ่อมแซม เซลล์ร่างกาย ของเสียจากเซลล์หรือสารพิษปนเปื้อนทั้งหลายหรือยาต่าง ๆ ที่เราทาน จะถูกเปลี่ยน ถูกทำลาย หรือถูกลดความเป็นพิษโดยตับแล้วสารนั้นอาจถูกขับเป็นน้ำดี ทิ้งทางลำไส้ออกมามากับ อุจจาระ หรือสารนั้นจะกลับเข้าเลือด และถูกกรองออกโดยไต ส่วนใหญ่ของเสียและยาที่เราทานจะ ถูกขับโดยการลดความเป็นพิษที่ตับและกรองออกทางไต หรือบางตัวจะกรองออกทางไตโดยตรง ไตของคนเรามี 2 ข้าง รูปร่างเหมือนถั่วแดง และเห็ดหลินจือ ในผู้ใหญ่ไตจะยาวประมาณ 10-13 ซม. หนักข้างละ 120-170 กรัม ไตอยู่ตรงชายโครงทางด้านหลัง ไตซ้ายอยู่หลังกระเพาะอาหาร ไตขวาอยู่ ข้างหลังตับ ไตจะมีเลือดผ่านประมาณ 20% ของเลือดที่ออกจากหัวใจ ใน 1 นาที หัวใจเราบีบตัวตั้ง ประมาณ 60-100 ครั้ง ดังนั้น เลือดในตัวคนเราซึ่งมีไม่ถึง 10 ลิตร ก็วนเวียนแล้ววนเวียนเล่าจนต้อง ผ่านไตถึงประมาณ 1.2 ลิตร ต่อนาที หรือประมาณ 1,728 ลิตร/วัน จากเลือด 1728 ลิตร ไตจะกรอง และคั้นออกมาเป็นของเสียคือปัสสาวะ วันละประมาณ 1-2 ลิตรนั่นเอง เมื่อเส้นเลือดแดงใหญ่ 1 เส้น เข้าไปเลี้ยงไต 1 ข้าง เราก็จะเห็นว่า มีเส้นเลือดดำใหญ่ 1 เส้นพาเลือดดีกลับออกมาและมีท่อปัสสาวะ พาน้ำปัสสาวะออกจากไต ลงไปสู่กระเพาะปัสสาวะที่ท้องน้อย เหนือกระดูกหัวเหน่า เมื่อปัสสาวะใน กระเพาะมากพอ อาจจะประมาณ 300-400 มล. เราก็จะปวดปัสสาวะและถ่ายปัสสาวะออกมานั่นเอง Ref. Link : http://www.thailabonline.com/section6.htm#ไต%20โรงงานขจัดขยะ |
![]() | Word Info ID : 8501 Word INFO : เป็นที่ทราบกันดีว่า "ไต" เป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของร่างกาย เป็นอวัยวะที่เป็น "คู่" ตั้งอยู่ภายในช่องท้องทางด้านหลัง โดยวางอยู่ 2 ข้างของกระดูกสันหลัง ไตข้างซ้ายอยู่สูงกว่าไตข้างขวาเล็กน้อย ขนาดโตของไตโดยประมาณคือ 16x6x2.5 เซนติเมตร ในผู้ใหญ่ชาย ไตแต่ละข้างจะหนักประมาณ 125-170 กรัม ผู้ใหญ่หญิงหนักประมาณ 115-155 กรัม ทั้งนี้ขนาดและน้ำหนักของไตแตกต่างกัน ตามขนาดร่างกาย ในแต่ละคน ในเด็กแรกเกิดไตจะค่อนข้างโต เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว โดยปกติจะมีเยื่อบางๆ หุ้มยึดให้ไตอยู่ตำแหน่งกับที่ โดยมีการเคลื่อนขึ้น-ลง ตามความเคลื่อนไหวของกระบังลม Ref. Link : http://www.elib-online.com/doctors/med_kidney3.html |
![]() | Word Info ID : 8503 Word INFO : ไต เป็นอวัยวะที่ขจัดของเสียออกจากโลหิต มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ยาวประมาณ 5 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว หนา 2 นิ้ว ตั้งอยู่ด้านหลังของช่องท้องใต้กระบังลม แต่อยู่ด้านหลังของกล้ามเนื้อ ไตมี 2 ข้าง รอบๆ ไตมีไขมันและแผ่นเส้นปกคลุม หน้าที่ของไตคือ การกรองการขับของเสียออกจากท่อ การดูดซึมเข้าสู้ท่อ และการกลั่นกรองของเสียออกมาเป็นน้ำ(ปัสสาวะ) Ref. Link : http://www.obec.go.th/news/_develop_media/multi/secondary/health/he... |
![]() | Word Info ID : 8505 Word INFO : อวัยวะคล้ายถั่วเหลือง อยู่ตรงบั้นเอว ข้างกระดูกสันหลัง 2 ข้าง มีหน้าที่ขับถ่ายของเสีย ยา หรือสารแปลกปลอมต่างๆ ทางปัสสาวะ รักษาสมดุจของน้ำ เกลือแร่ กรด ด่างของร่างกายให้ปกติ พร้อมควบคุมความดันโลหิต สร้างสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และเปลี่ยนวิตามินดีที่ได้รับ ให้มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างกระดูก Ref. Link : http://www.baanjomyut.com/library/red_cross/page3.html |
![]() | Word Info ID : 8508 Word INFO : ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดที่มักจะได้รับผลกระทบจากโรคลูปัส ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองสารต่าง ๆ จากเลือดในร่างกาย ดังนั้นเมื่อมีสารแอนติบอดี้ จากโรคลูปัสจำนวนมากในเลือด สารแอนติบอดี้เหล่านี้จะจับกับสารของร่างกายที่ร่างกาย รับรู้ว่ากลายเป็นสารแปลกปลอม แล้วไปกรองออกที่ไตทำให้เกิดไตอักเสบ หรือเส้นเลือด ในไตเองอาจมีการอักเสบได้ด้วยตัวเอง ประกอบกับไตเป็นอวัยวะที่มีความสามารถจำกัด Ref. Link : http://www.thai-sle.com/ebook-thai_sle/3/3-2-11.htm |
![]() | Word Info ID : 8510 Word INFO : เป็นที่ทราบกันดีว่า "ไต" เป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่ง ของร่างกาย เป็นอวัยวะที่เป็น "คู่" ตั้งอยู่ภายในช่องท้องทางด้านหลัง โดยวางอยู่ 2 ข้างของกระดูกสันหลัง ไตข้างซ้ายอยู่สูงกว่าไตข้างขวาเล็กน้อย ขนาดโตของไตโดยประมาณคือ 16x6x2.5 เซนติเมตร ในผู้ใหญ่ชาย ไตแต่ละข้างจะหนักประมาณ 125-170 กรัม ผู้ใหญ่หญิงหนักประมาณ 115-155 กรัม ทั้งนี้ขนาดและน้ำหนักของไตแตกต่างกัน ตามขนาดร่างกาย ในแต่ละคน ในเด็กแรกเกิดไตจะค่อนข้างโต เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว โดยปกติจะมีเยื่อบางๆ หุ้มยึดให้ไตอยู่ตำแหน่งกับที่ โดยมีการเคลื่อนขึ้น-ลง ตามความเคลื่อนไหวของกระบังลม Ref. Link : http://www.geocities.com/witit_mink/ti.htm |
![]() | Word Info ID : 9787 Word INFO : เป็นอวัยวะที่ลักษณะคล้ายถั่ว มีขนาดประมาณ 10 กว้าง 6 เซนติเมตร และหนาประมาณ 3 เซนติเมตร มีสีแดงแกมน้ำตาลมีเยื่อหุ้มบางๆ ไตมี 2 ข้างซ้ายและขวา บริเวณด้านหลังของช่องท้อง ใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว บริเวณส่วนที่เว้า เป็นกรวยไต มีหลอดไตต่อไปยังมีกระเพาะปัสสาวะ Ref. Link : http:// school.obec.go.th/.../chapter/unit1/foodsys.php |
![]() | Word Info ID : 9788 Word INFO : โครงสร้างไต ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น หน่วยไต ชั้นนอก เรียกว่า คอร์ดเทกซ์ ชั้นในเรียกว่าเมดัลลา ภายในไตประกอบด้วย หน่วยไต มีลักษณะเป็นท่อขดอยู่หลอดเลือดฝอยเป็นกระจุกอยู่เต็มไปหมด ไตเป็นอวัยวะที่ทำงานหนัก วันหนึ่งๆ เลือดที่หมุนเวียนในร่างกายต้องผ่านมายังไต ประมาณในแต่ละนาทีจะมีเลือดมายังไตที่ 1200 มิลลิลิตร หรือวันละ 180 ลิตร ไตจะขับของเสียมาในรูปของน้ำปัสสาวะ แล้วส่งต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ มีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ร่างกายจะรู้สึกปวดปัสสาวะเมื่อน้ำปัสสาวะไหลสู่กระเพาะปัสสาวะประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใน 1 วัน คนเราจะขับปัสสาวะออกมาประมาณ 1 ? 1.5 ลิตร Ref. Link : http:// school.obec.go.th/.../chapter/unit1/foodsys.php |
![]() | หน้าที่การทำงาน (6) |
![]() | Word Info ID : 8418 Word INFO : หน้าที่สำคัญ ดังนี้ - ขับถ่ายของเสีย ยา หรือสารแปลกปลอมต่างๆ ออกทางปัสสาวะ - รักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ กรด และด่างของร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ - ควบคุมความดันโลหิต - สร้างสารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง - เปลี่ยนวิตามินดีที่ได้รับให้มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างกระดูก Ref. Link : http://www.organdonate.in.th/care.html |
![]() | Word Info ID : 8502 Word INFO : หน้าที่หลักของไตก็คือ การรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะปกติ ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ จะต้องเท่ากับปริมาณน้ำที่ออกจากร่างกาย ส่วนใหญ่ของน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกายประกอบด้วยการสูญเสียทางปัสสาวะ อุจจาระ ทางเหงื่อและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการสูญเสียทางเหงื่อ มีความสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เพราะความร้อน จะออกไปพร้อมกับการ ระเหยของเหงื่อ Ref. Link : http://www.elib-online.com/doctors/med_kidney3.html |
![]() | Word Info ID : 8511 Word INFO : อาจกล่าวได้ว่า หน้าที่หลักของไตก็คือ การรักษาสมดุลของน้ำในร่างกายเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะปกติ ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ จะต้องเท่ากับปริมาณน้ำที่ออกจากร่างกาย ส่วนใหญ่ของน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกายประกอบด้วยการสูญเสียทางปัสสาวะ อุจจาระ ทางเหงื่อและระบบทางเดินหายใจ ซึ่งการสูญเสียทางเหงื่อ มีความสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย เพราะความร้อน จะออกไปพร้อมกับการ ระเหยของเหงื่อ Ref. Link : http://www.geocities.com/witit_mink/ti.htm |
![]() | Word Info ID : 8512 Word INFO : "ไต" จึงทำหน้าที่ขับน้ำออกจากร่างกายในรูปของ "ปัสสาวะ" การทดสอบความผิดปกติอย่างง่ายๆ แบบคร่าวๆ สำหรับผู้ใหญ่ โดยให้ดื่มน้ำสะอาดจำนวน 1 ลิตร การดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกาย จะใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงต่อมาภายในเวลา 2 ชั่วโมง จะมีปริมาณน้ำปัสสาวะสูงสุดประมาณ 90% (ประมาณ 900 ซีซี) จะถูกขับออกมา ดังนั้นหากพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์เสียแต่เนิ่น ๆ Ref. Link : http://www.geocities.com/witit_mink/ti.htm |
![]() | Word Info ID : 9783 Word INFO : มีหน้าที่ขับสิ่งที่ร่างกายไม่ได้ใช้ออกจากร่างกาย อยู่ด้านหลังของช่องท้อง Ref. Link : http://school.obec.go.th/schoolvit/chapter/unit1/pic/foodsys.jpg&im... |
![]() | Word Info ID : 9786 Word INFO : กรองของเสียเพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ไตของคนมี 1 คู่ อยู่ในช่องท้องสองข้างของกระดูกสันหลังระดับเอว มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว ต่อจากไตทั้งสองข้างมีท่อไตทำหน้าที่ลำเลียงน้ำปัสสาวะจากไตไปเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนจะขับถ่ายออกมานอกร่างกายทางท่อปัสสาวะเป็นน้ำปัสสาวะนั่นเอง Ref. Link : http://school.obec.go.th/schoolvit/chapter/unit1/pic/foodsys.jpg&im... |
![]() | โรคที่เกี่ยวข้อง (4) |
![]() | Word Info ID : 8419 Word INFO : โรคที่เกี่ยวกับไต - โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ - โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ - โรคไตที่เกิดจากเบาหวาน - เนื้องอกของไต สาเหตุสำคัญที่ทำให้ป็นโรคไต - การติดเชื้อ - ปฏิกิริยาการแพ้ - การได้รับยาหรือสารพิษ - มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่ว เนื้องอก - โรคไตที่เป็นแต่กำเนิด - เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น Ref. Link : http://www.organdonate.in.th/care.html |
![]() | Word Info ID : 8500 Word INFO : โรคไตที่พบบ่อยในคนไทย ได้แก่ ไตอักเสบ (ซึ่งยังแบ่งย่อยได้อีกหลายชนิด) โรคไตเสื่อมและไตวาย จากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรคไตวายจากยาและสารพิษ โรคนิ่วในไตและท่อไต จะเห็น ได้ครับว่าไตอักเสบและนิ่วนั้นจะมีไตวายด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้ารุนแรงก็อาจจะมีไตวายด้วย ถ้าไม่รุนแรง ก็ไม่มีไตวาย ถ้าไตวายฉับพลันช่วงแรกแล้วรีบรักษาก็จะกลับปกติได้ แต่ถ้ารักษาข้าก็จะไม่หาย และ จำดำเนินไปเรื่อยๆ จนเป็นไตวายเรื้อรัง ถ้าเป็นไตวายเรื้อรังแล้วโรคจะดำเนินไปช้าบ้างเร็วบ้าง จนถึง ไตวายเรื้อระยะสุดท้าย ซึ่งต้องรักษาด้วยการล้างไต ซึ่งการรักษาก็แพงมาก Ref. Link : http://www.thailabonline.com/section6.htm#ไต%20โรงงานขจัดขยะ |
![]() | Word Info ID : 8504 Word INFO : โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้เป็นโรคของไตที่ไม่สามารถทำการกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้เพียงพอ ผู้ป่วยไม่อาจจะมีชีวิตรอดต่อไปนี้ นอกจากจะมีการช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกายแทนไต โดยการล้างท้อง (Peritoneal Dialysis) และการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ซึ่งการกระทำทั้ง 2 วิธี ต้องทำเป็นประจำไม่มีโอกาสหยุดทำได้ ทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานอยู่กับการล้างไต ฟอกเลือดเป็นระยะ ๆ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ป่วยจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยวิธีการเหล่านี้อย่างมหาศาล ในปัจจุบันวิวัฒนาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนไตนี้เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย เนื่องจากการผ่าตัดเปลี่ยนไตมีข้อดีกว่าการรักษาโดยการล้างท้องหรือฟอกเลือดโดยใช้ไตเทียมคือ - คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถทำงานได้ตามปกติ ออกกำลังกายเล่นกีฬาได้ เรื่องอาหารไม่ต้องจำกัด หรืองดอาหารบางประเภท ภาวะซีด และภาวะสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายดีขึ้น อาการอ่อนเพลียดีขึ้นสามารถมีบุตรได้ - ผลในระยะยาวค่าใช้จ่ายถูกกว่าการรักษาโดยวิธีการล้างท้อง และฟอกเลือด Ref. Link : http://web.ku.ac.th/saranaroo/chap20a.htm |
![]() | Word Info ID : 8509 Word INFO : 1. มีการรั่วของอวัยวะที่ทำการกรองของเสีย และเก็บของดีจากเลือด ดังนั้นจึงทำให้มีการ รั่วของโปรตีนคล้ายไข่ขาว จากน้ำเลือดออกไปทางปัสสาวะ โปรตีนที่คล้ายไข่ขาวนี้มีหน้าที่ อย่างหนึ่งคือเป็นตัวดึงสารน้ำต่าง ๆ ไว้ในเส้นเลือด ดังนั้นเมื่อมีการสูญเสียโปรตีนชนิดนี้ ออกไปจากเส้นเลือด ออกไปทางปัสสาวะ จึงทำให้ระดับความเข้มข้นของโปรตีนชนิดนี้ใน น้ำเลือดลดลง เมื่อลดต่ำลงถึงระดับหนึ่งจะไม่สามารถดึงเอาสารน้ำต่าง ๆ ไว้ในเส้นเลือดได้ ก็จะมีการรั่วของน้ำออกไปนอกเส้นเลือดออกไปที่เนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดอาการ บวมขึ้น ซึ่งอาการบวมนี้จะเป็นไปตามแรงโน้มถ่วงของโลก เมื่อยืนมาก เดินมาก หรือนั่ง ห้อยขาจะบวมที่ขา 2 ข้าง ถ้านอนหลับตื่นมา จะบวมที่ใบหน้าและบริเวณหลังหรือเอว 2. ทำให้มีความดันโลหิตสูง จากการที่อวัยวะบางส่วนของไตรับรู้เสมือนว่าปริมาณ สารน้ำ ในเลือดลดลงทำให้มีการเพิ่มการเก็บเกลือและน้ำไว้ในร่างกายมากขึ้น ทำให้ยิ่งเกิดอาการ บวม และในขณะเดียวกันก็ทำให้เส้นเลือดหดตัว เมื่อประกอบกันเข้า ทำให้เกิดภาวะความ ดันโลหิตสูงขึ้นในร่างกาย แต่ภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อมีอาการไตอักเสบ ถึงขนาดหนึ่ง 3. เกิดมีการคั่งของของเสีย ที่ควรจะถูกขับออกทางไต แต่เนื่องจากไตอักเสบ จนไตเริ่ม เสื่อมลงจึงไม่สามารถทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้ดีพอ จึงทำให้ เกิดภาวะคั่งของของเสียในเลือดขึ้นในบรรดาอาการต่าง ๆ ของโรคลูปัส อาการอักเสบของ ไต เป็นอาการที่ค่อนข้างแฝงเร้นในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการผื่นที่หน้าหรือปวดข้อ ผู้ป่วยจะไป พบแพทย์แต่แรก แต่ผู้ป่วยที่ที่มีอาการไตอักเสบนำมาก่อน อาจจะไม่ได้สังเกต จนกระทั่ง อาการเป็นมากระดับหนึ่งหรือมากจนเกิดความเสียหายต่อไตมากแล้วก็ได้ กว่าจะไปพบแพทย์ ทำให้เวลากล่าวถึงว่า เป็นโรคลูปัสลงไต มักจะหมายถึงว่าอาการเป็นมากแล้ว นอกจากนี้แล้ว ในผู้ป่วยโรคลูปัสที่รักษาจนโรคสงบแล้วก็ควรจะยังคงไปรับการตรวจปัสสาวะเป็นระยะ ๆ ทุก 3-6 เดือน เนื่องจากอาการทางไต แสดงออกมาคล้าย ๆ กันคือมีอาการบวม การตรวจ ปัสสาวะก็ให้ข้อมูลได้จำกัด ดังนั้นผู้ป่วยบางรายที่ช่วงเวลาหนึ่งจำเป้นต้องได้รับการตรวจ ชิ้นเนื้อไต โดยแพทย์จะใช้เข็มเล็ก ๆ สอดเข้าไปในไตเพื่อให้ได้ชิ้นเนื้อขนาดเท่าปลายเข็ม ออกมา เพื่อนำไปตรวจดูทางพยาธิ ข้อมูลจากการตรวจนี้จะทำให้แพทย์ทราบความรุนแรง ของไตอักเสบว่ามากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการรักษาให้เหมาะสม และถูกต้อง ไม่มากไปไม่น้อยไป นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูลนี้บอกถึงการพยากรณ์ของโรคของ ผู้ป่วยว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปได้อีกด้วยการเกิดไตอักเสบในผู้ป่วยโรคลูปัสในประเทศต่างๆ ดูเหมือนจะมีความแตกต่างกันตามเชื้อชาติ ชาวตะวันตก ผิวขาว มีอุบัติการณ์ประมาณ ร้อยละ 40-50 แต่ในคนผิวดำและคนแถบ เอเซียเช่น จีน ไทย อินเดีย ดูเหมือนจะมีภาวะไต อักเสบมากกว่าฝรั่ง คือมีอุบัติการณ์สูงถึงประมาณร้อยละ 80 ในการซ่อมแซมตัวเอง ดังนั้น การอักเสบที่ไตจึงเป็นภาวะที่รักษาค่อนข้างยาก Ref. Link : http://www.thai-sle.com/ebook-thai_sle/3/3-2-11.htm |
![]() | อาการที่แสดงออกเมื่อผิดปกติ (3) |
![]() | Word Info ID : 8420 Word INFO : อาการที่เกิดจากไตทำงานผิดปกติ เราสามารถแบ่งอาการของคนเป็นโรคไต ได้ดังนี้ - ชนิดเฉียบพลัน มีอาการเป็นไข้ หนาวสั่น ปวดหลัง ปัสสาวะขุ่น หรือปัสสาวะปนเลือด มีอาการบวมที่เท้า หนังตา หรือบวมทั้งตัว รักษาหายได้ - ชนิดเรื้อรัง มีอาการซีด อ่อนเพลีย อาเจียน น้ำหนักลด ปัสสาวะน้อย ปวดศรีษะ ความดันโลหิตสูง Ref. Link : http://www.organdonate.in.th/care.html |
![]() | Word Info ID : 8506 Word INFO : ชนิดเฉียบพลัน มีอาการเป็นไข้ หนาวสั่น ปวดหลังปัสสาวะขุ่น มีเลือดปน มีอาการบวมที่เท้า หนังตา หรือทั้งตัว รักษาหายได้ - ชนิดเรื้อรัง มีอาการซีด อ่อนเพลีย อาเจียน น้ำหนักลด ปัสสาวะน้อย ปวดหัว ความดันโลหิตสูง Ref. Link : http://www.baanjomyut.com/library/red_cross/page3.html |
![]() | Word Info ID : 8513 Word INFO : ใช่เพียงแต่ผู้ใหญ่ที่พบความผิดปติของการทำงานของไต แม้แต่ทารกแรกเกิดก็พบความผิดปกติของไตมาตั้งแต่กำเนิด โดยพบได้บ่อยในอัตรา 10% ของประชากรทั้งหมด และเป็นอัตรา 40% ของผู้ที่เป็นโรคไตทั้งหมด พบทั้งชนิดที่เป็นโรคที่ได้รับถ่ายทอด มาทางพันธุกรรมและที่ไม่ใช่ เป็นที่น่าเสียดายที่ความผิดปกติของไตโดยกำเนิดนี้ ส่วนใหญ่จะรักษาไม่ได้ แต่เนื่องจากมักเกิดที่ไตข้างเดียว จึงไม่มีอาการแสดงออกที่ชัดเจนบางคนมาพบตอนอายุมากแล้ว ความผิดปกติที่ว่านี้ได้แก่ การมีไตเพียงข้างเดียว - ซึ่งโอกาสพบได้หนึ่งรายใน 1,500 ราย พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และมักเหลือเพียงข้างขวา มากกว่าข้างซ้าย การมีไตมากกว่า 2 - พบได้น้อยกว่ากรณีแรก ส่วนใหญ่ จะเป็นสามไต โดยไตชั้นที่เกินจะแยกออกจากไตปกติหรือเป็นภาวะ "ไตแฝด" ที่ไตสองส่วนอยู่ติดแน่นเป็นไตเดียว ไตส่วนที่เกิน จะมีขนาดเล็กและมักอยู่ต่ำกว่าไตปกติ กรวยไตมักจะมีอาการ โป่งโตถึงร้อยละ 50 การขาดไตทั้งสองข้าง - พบน้อยมากแต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ไม่พบปัจจัยเสี่ยงในการเกิดสภาวะนี้ แต่นักวิชาการเชื่อว่า เกิดจากทารกในครรภ์อยู่ในสภาวะขาดน้ำคร่ำ ทำให้ร่างกายถูกกด การแบ่งตัวของเซลล์ต่าง ๆ จึงผิดปกติไปและสิ่งที่สำคัญคือ กรณีนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตแต่กำเนิดของทารก ความผิดปกติในการหมุนตัวของไต - เกิดขึ้นเมื่อทารกสร้างเซลล์ไต ขึ้นมาใหม่ๆ จะอยู่ในอุ้งเชิงกราน ต่อมามีการขยับตำแหน่ง เข้าไปในช่องท้อง ขณะเดียวกันมีการหมุนตัวของไต ให้อยู่ในตำแหน่งผิดปกติ แต่กรณีเช่นนี้ไม่ทำให้ทารก มีอาการผิดปกติ และทารกยังคงมีชีวิตอยู่ตามปกติได้ เป็นถุงน้ำ Cyst ในไต - ซึ่งมีหลายขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้าง ปะปนกันอยู่ในไต ซึ่งสันนิษฐานว่า เกิดจากความผิดปกติ ขณะอยู่ในครรภ์มารดา ถ้าทารกยังไม่มีอาการ หรือไม่มีอาการ ของระบบทางเดินอาหารแทรกซ้อนก็ยังไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออก ควรรอจนทารกโตและแข็งแรงเสียก่อนจึงจะผ่า Cyst ออกได้ ความผิดปกติที่ท่อเชื่อมกับกระเพาะปัสสาวะ - คือ ท่อที่เชื่อมนำปัสสาวะจากไต ไปยังยังกระเพาะปัสสาวะ มีการโป่งโตออกมาทำให้การไหล ของน้ำปัสสาวะไม่สะดวก และอาจเกิดภาวะติดเชื้อ ของทางเดินปัสสาวะแทรกซ้อนได้ ความผิดปกติทั้ง 6 แบบ ดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นความผิดปกติ มาแต่กำเนิดซึ่งแก้ไขไม่ได้ แต่บางชนิดสามารถบรรเทาอาการให้มีชีวิตอยู่ได้ แต่บางชนิดก่อให้เกิดการเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ยังมีโรคเกี่ยวกับไตและระบบทางเดินปัสสาวะที่ "ผู้หญิง" ทั่วไป ประมาณร้อยละ 20 ต้องเคยเป็นโรคนี้มาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แม้จะไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ถือเป็นโรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ของหญิงมีครรภ์ ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือบางราย ทำให้เสียชีวิตได้ และเป็นโรคที่ป้องกันได้ โรคนั้นก็คือ "โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ" ซึ่งหมายรวมถึง ภาวะติดเชื้อบริเวณเนื้อไต กรวยไต ไปจนถึงบริเวณกระเพาะปัสสาวะ พบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 18-40 ปี และพบเด็กแรกเกิดร้อยละ 0.7 ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด พบได้ถึงร้อยละ 2.9 ทั้งนี้ ชนิดของการติดเชื้อแบคทีเรีย ของระบบทางเดินปัสสาวะ แบ่งได้เป็น ชนิดที่ไม่ซับซ้อน - รักษาง่ายและไม่ทำให้หน้าที่ของไต เสียไป เช่น โรคกรวยไตอักเสบเฉียบพลัน การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ชนิดที่ซับซ้อน - พบความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ หรือระบบประสาท ทำให้ถ่ายปัสสาวะไม่ออก หากรักษาไม่ถูกต้อง จะทำให้ไตหย่อนสมรรถภาพไปด้วย พบแบคทีเรียแต่ไม่มีอาการ - มักตรวจพบโดยบังเอิญ เช่นตอนฝากครรภ์ ซึ่งหากไม่รักษาให้ถูกต้อง จะทำให้ไตเสื่อมได้โดยเฉพาะ เด็ก ๆ อายุต่ำกว่า 3 ขวบ ถ้าไม่รักษาโรคให้หายจะทำให้เกิดแผล ซึ่งขัดต่อการเจริญเติบโตในเด็กเล็ก สำหรับหญิงตั้งครรภ์ การรักษาจะช่วยลดการอักเสบของไต และลดอัตราเสี่ยง ของการคลอดก่อนกำหนด ไตอักเสบเรื้อรัง - เกิดจากระบบภูมิต้านทานของร่างกาย กับเชื้อแบคทีเรียบางตัว ส่วนใหญ่ทำให้อาการลุกลามไปถึงขั้นไตวายได้ สำหรับเชื้อที่ก่อโรค ส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 80 เป็นเชื้อแบคทีเรีย E.Coli กลไกในการป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น การขับปัสสาวะ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ Ref. Link : http://www.geocities.com/witit_mink/ti.htm |
![]() | อื่นๆ (2) |
![]() | Word Info ID : 8421 Word INFO : การรักษาไตให้แข็งแรง - ดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ระดับของสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงเกินไป หรือถ้าเป็นก้อนเล็กๆ ก็จะหลุดออกมาเองได้ - อย่ากลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ระวังอย่าให้ท้องผูก - ไม่ควรกินอาหารเค็มเกินไป เพราะจะทำให้เกิดน้ำคั่ง แล้วทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ทำให้ไตทำงานหนัก - ถ้าเป็นโรคเบาหวานอยู่แลัว ต้องควบคุมมิให้น้ำตาลในเลือดสูงเกินไป - รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดนิ่ว - ดูแลทำความสะอาดหลังการปัสสาวะ และอุจจาระทุกครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อทางระบบทางเดินปัสสาวะ ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโรคไต - รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรเพิ่ม ลด หยุดยา หรือซื้อยารับประทานเอง - ควบคุมการรับประทานอาหารของตนเอง ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของโรคไต - พักผ่อนให้เพียงพอ - ในระยะไตวายจะมีของเสียจากโปรตีนคั่งค้าง จึงควรจำกัดอาหารจำพวกโปรตีนในผู้ป่วยที่มีอาการบวม หรือปัสสาวะน้อย ต้องจำกัดน้ำ และอาหารที่มีรสเค็ม รวมทั้งอาหารที่มีโปแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้ วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคไต - การรักษาโรคไตชนิดเฉียบพลัน รักษาตามสาเหตุและภาวะแทรกซ้อน ถ้ามีการติดเชื้อให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ผ่าตัดเอานิ่วออกหรือใช้เครื่องสลายนิ่วอาจต้องรักษาด้วยการล้างไตเป็นการชั่วคราว - การรักษาไตชนิดเรื้อรัง ต้องมีการแก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรังร่วมกับการรักษาด้วยยา การล้างไตซึ่งอาจเป็นการฟอกเลือดหรือล้างไตทางช่องท้องและการปลูกถ่ายไต ซึ่งถือว่า เป็นการรักษาไตวายในระยะสุดท้ายที่ได้ผลดีที่สุด การปลูกถ่ายไต เป็นการเอาไตใหม่ที่ดีมาใส่ให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง ปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนมากที่รอการปลูกถ่ายไต แต่ด้วยปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ ทำให้มีผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตมีไม่มากนัก ผลการปลูกถ่ายไตอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ไตใหม่สามารถทำหน้าที่ปกติใน 1 ปี ประมาณร้อยละ 85 ไตใหม่ได้มาจากไหน - จากญาติร่วมสายเลือดกัน อาจเป็นพี่น้อง พ่อแม่ หรือลูกที่เต็มใจบริจาคไตข้างหนึ่งให้ผู้ป่วย - จากผู้เสียชีวิตโดยภาวะสมองตาย โดยผู้ตายได้แสดงความจำนงบริจาคอวัยวะไว้ก่อนตาย หรือได้รับความยินยอมจากญาติ ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการทำบุญกุศลครั้ง ยิ่งใหญ่ ผู้ที่รอรับไต จะต้องมีหมู่เลือดเดียวกับผู้บริจาค และต้องมีการตรวจการเข้ากันได้ของเนี้อเยื่อด้วย ผู้ที่สามารถบริจาคไต 1. เสียชีวิตจากภาวะสมองตาย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางสมอง เส้นเลือดในสมองแตก มะเร็งของเนื้อสมอง 2. อยู่ในเครื่องช่วยหายใจ 3. ปราศจากสิ่งเหล่านี้ - ติดเชื้อไวรัสเอดส์ ไวรัสตับอักเสบชนิดบี และซี - มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง - เป็นมะเร็ง (ยกเว้น มะเร็งสมองปฐมภูมิ มะเร็งผิวหนังที่ไม่แพร่กระจาย และมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรก) 4. อายุควรน้อยกว่า 60 ปี 5. ไตทำหน้าที่ปกติ 6. ไม่มีประวัติเป็นโรคไต Ref. Link : http://www.organdonate.in.th/care.html |
![]() | Word Info ID : 8507 Word INFO : สาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นไต - การติดเชื้อ - ปฏิกิริยาการแพ้ - การได้รับยา หรือสารพิษ - มีอาการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ เช่น นิ่ว เนื้องอก - โรคไตที่เป็นแต่กำเนิด -เกิดจากโรคอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น Ref. Link : http://www.baanjomyut.com/library/red_cross/page3.html |