จำนวนบทความของคำ "ปวดฟัน" : 8 ปวดฟัน เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (1) |
![]() | Word Info ID : 874 Word INFO : ฟันผุ (แมงกินฟัน, ฟันเป็นแมง, ฟันเป็นรู, ฟันเป็นโพรง) เป็นโรคที่พบได้ประมาณ 80% ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่ชอบกินขนมหวาน และไม่ได้แปรงฟันให้สะอาด Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | สาเหตุของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 875 Word INFO : เกิดจากการมีเศษอาหารค้างอยู่ตามซอกฟัน ทำให้แบคทีเรียที่อยู่บนแผ่นคราบฟัน* ย่อยสลายเศษอาหารพวกแป้งและน้ำตาลให้เกิดเป็นสารกรด ซึ่งสามารถกัดกร่อนผิวฟันทีละน้อย จากชั้นเคลือบฟันภายนอกเข้าไปในเนื้อฟัน จนทะลุถึงชั้นโพรงประสาทฟัน ก็จะทำให้เกิดอาการปวดฟัน หรือฟันอักเสบเป็นหนอง * แผ่นคราบฟัน (dental plaque) หรือแผ่นคราบจุลินทรีย์ เป็นแผ่นคราบบาง ๆ เกาะอยู่ที่ซอกฟัน คอฟัน ร่องฟัน ประกอบด้วยเมือกเหนียวของน้ำลาย และเชื้อโรคหลายชนิด ถ้าไม่ได้รับการทำความสะอาด ปล่อยให้แผ่นคราบฟันสะสมพอกหนาขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะกลายเป็นสาเหตุของฟันผุ และเหงือกอักเสบได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | อาการของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 876 Word INFO : ในระยะแรกจะมีอาการปวดเสียวฟันเล็กน้อยเวลากินของหวาน ของเย็นจัด หรือร้อนจัด ถ้าฟันผุมากขึ้น อาจมีเศษอาหารติดอยู่ในโพรง ทำให้มีกลิ่นปากได้ ถ้าฟันผุจนถึงชั้นโพรงประสาท (ชั้นในสุด) ก็จะทำให้โพรงประสาทอักเสบ มีอาการปวดฟันรุนแรงเวลากินของหวาน ของเย็นจัด หรือร้อนจัด บางคนอาจมีอาการปวดแปลบ ๆ ซึ่งบ่งบอกตำแหน่งของฟันที่ปวดไม่ได้ ถ้าปล่อยไว้จนรากฟันอักเสบเป็นหนอง ก็จะทำให้มีอาการปวดฟันรุนแรง Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | สิ่งที่ตรวจพบ (1) |
![]() | Word Info ID : 877 Word INFO : ฟันผุเป็นรู บางคนพบรากฟันอักเสบเป็นหนอง แก้มบวมปูด อาจมีไข้ และต่อมน้ำเหลืองในบริเวณคอบวมและปวด Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | โรคแทรกซ้อน (1) |
![]() | Word Info ID : 881 Word INFO : ถ้าฟันผุไม่มาก โดยทั่วไปมักไม่มีผลแทรกซ้อนร้ายแรง แต่ถ้าฟันผุมาก มีอาการปวดฟันหรือการอักเสบบ่อย ๆ อาจทำให้กินอาหารไม่ได้ ร่างกายได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรืออาจทำให้เกิดการอักเสบในช่องปาก เช่น คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ถ้ารากฟันเป็นหนอง อาจทำให้เชื้อโรคลุกลามกลายเป็นไซนัสอักเสบ หรือโลหิตเป็นพิษ (228) ได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | วิธีการรักษา (1) |
![]() | Word Info ID : 883 Word INFO : ควรแนะนำไปหาทันตแพทย์ เพื่อทำการอุดฟัน หรือถอนฟัน ขณะที่มีอาการปวด ให้กินยาแก้ปวด (ย1) ระงับชั่วคราว ถ้ามีการอักเสบหรือเป็นหนอง ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี (ย4.1), อะม็อกซีซิลลิน (ย4.2) หรืออีริโทรไมซิน (ย4.4) Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | คำแนะนำ (1) |
![]() | Word Info ID : 884 Word INFO : 1. อาการปวดฟัน นอกจากสาเหตุจากฟันผุแล้ว ยังอาจเกิดจากฟันคุด ซึ่งหมายถึงฟันกรามซี่สุดท้าย (ซี่ในสุด) โผล่ขึ้นไม่ได้ เนื่องจากขากรรไกรของคนเราเล็กลงฟันซี่นี้ปกติจะขึ้นตอนอายุ 17-25 ปี เมื่อขึ้นได้ไม่สุด ทำให้ในบริเวณนั้นมีซอกให้อาหารติดค้าง บางครั้งจึงทำให้มีการอักเสบ และปวดบวมตรงบริเวณรอบ ๆ ฟันซี่นั้น บางคนอาจมีไข้ขึ้น มักเกิดกับฟันกรามล่างซี่ในสุดทั้ง 2 ข้าง ถ้าสงสัยควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อถอนออก ระหว่างที่ปวดอาจให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ (ย4) 2. โรคปวดประสาทใบหน้า (Trigeminal neuralgia) ซึ่งพบมากในคนอายุ 40-50 ปี พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มีอาการปวดเหมือนถูกมีดแทงหรือเข็มร้อน ๆ แทง หรือไฟช็อตที่บริเวณใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง นานครั้งละ 10-30 วินาที ปวดมากเวลาพูด เคี้ยว ล้างหน้า หรือสัมผัสถูก อาจมีอาการเหมือนปวดฟันได้ ดังนั้น ถ้าพบคนในวัยนี้มีอาการปวดฟัน แล้วตรวจไม่พบฟันผุหรือเหงือกอักเสบ ควรคิดถึงโรคนี้ และควรปรึกษาแพทย์ทางระบบประสาท ซึ่งจะให้ยาคาร์บามาซีพีน (carbamazepine) ในการรักษา Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | การป้องกัน (1) |
![]() | Word Info ID : 886 Word INFO : โรคฟันผุสามารถป้องกันได้โดย 1. หลีกเลี่ยงการกินท็อฟฟี่ ลูกอม ขนมหวาน 2. แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง 3. ใช้ฟลูออไรด์ อาจเป็นในรูปของยาเม็ด ยาอมบ้วนปาก หรือยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ถ้าใช้ชนิดกิน ควรปรึกษาทันแพทย์ถึงขนาดและวิธีการใช้ เพราะถ้าใช้มากไป อาจทำให้ฟันตกกระ หรือกินขนาดสูงมาก ๆ เป็นพิษต่อร่างกายได้ ฟลูออไรด์จะเสริมสร้างผิวเคลือบผิวเคลือบฟันให้แข็งแรง แต่จะได้ผลดีสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง 14 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ฟันกำลังเจริญเติบโต Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |