จำนวนบทความของคำ "กระเพาะอาหาร" : 16 กระเพาะอาหาร เป็น อวัยวะ |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (4) |
![]() | Word Info ID : 8427 Word INFO : Gross and Microscopic Anatomy of Stomach กระเพาะอาหารเป็นท่อทางเดินอาหารส่วนที่พองออกอยู่ระหว่างหลอดอาหาร (esophagus) และลำไส้เล็ก (small intesTINe) มีรูปร่างดังรูป ภาพแสดงส่วนต่างๆของกระเพาะอาหาร ด้านขวาเรียก greater curvature และด้านซ้ายเรียก lesser curvature ส่วนล่างตรงแคบสุด คือ pylorus เป็นที่อาหารผ่านไปสู่ลำไส้เล็ก ผนังของกระเพาะอาหารมีชั้นขวางของกล้ามเนื้อเรียบ (oblique layer of smooth muscle) แทรกอยู่ภายใน circular layer ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวที่บดอัดอาหาร กระเพาะอาหารขณะว่างจะหดตัวและผนังชั้น mucosa และ submucosa จะเห็นเป็นรอยย่นริ้วๆ เรียก rugae เมื่อมันถูกยึดออกในขณะมีอาหาร รอยย่นจะหายไปเป็นผนังเรียบๆ ภาพแสดงผนังภายในกระเพาะอาหาร ภายในกระเพาะอาหารมีการเปลี่ยนแปลงชั้น epithelium จาก stratified squamous epithelium เป็น columnar epithelium ถ้าเราขยายดูที่ผิวของกระเพาะอาหาร เราจะพบว่ามันปกคลุมด้วยรูเล็กๆมากมาย รูเหล่านี้คือช่องเปิดของ gastric pits ซึ่งยื่นตรงจากชั้นในออกมาสู่ mucosa บน gastric glands เราพบ cells 4 ชนิด ที่ epitheliumของกระเพาะอาหารและที่ส่วน gastric glands ดังนี้ 1) Mucous cells หลั่งสาร alkaline mucus ซึ่งป้องกัน epithelium จากการเสียดสีและจากกรด 2) Parietal cells หลั่ง hydrochloric acid 3) Chief cells หลั่ง pepsin ซึ่งเป็น proteolytic enzyme 4) G cell หลั่งฮอร์โมน gastrin มีความแตกต่างในการกระจายของ cells ชนิดต่างๆเหล่านี้ในกระเพาะอาหาร ตัวอย่างเช่น parietal cells จะมีมากที่ gland บริเวณ body แต่จะไม่พบที่บริเวณ pyloric gland ในภาพจะเห็น gastric pit ซึ่งเป็นการยุบตัวลงมาของชั้น mucosa บริเวณส่วนต้นของ pit จะพบ mucous cells จำนวนมาก ส่วน cells อื่นๆ จะอยู่ลึกลงไป ภาพแสดง gastric gland Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |
![]() | Word Info ID : 8431 Word INFO : The MigraTINg Motor Complex เป็นลักษณะ electrochemical activity ที่พบในกล้ามเนื้อเรียบที่ทางเดินอาหารระหว่างมื้ออาหาร คาดว่า activity นี้เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เหมือนแม่บ้าน (house keeping) ที่จะเก็บกวาดสิ่งที่เหลืออยู่หรืออาหารที่ไม่ย่อย ภายในท่อทางเดินอาหาร ดังที่ได้ศึกษาในสุนัขและคน พบว่า cycle ทุกๆ 1.5 ?2 ชั่วโมง ประกอบด้วย 4 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะแรกที่กล้ามเนื้อเรียบเคลื่อนไหวช้าช้า 45-60 นาที ในช่วงนี้จะพบ action potentials น้อยมาก และมีการหดตัวน้อย 2) ระยะต่อมา 30 นาที ซึ่งมี peristaltic contractions เกิดขึ้น และมีความถี่มากขึ้นเรื่อยๆ มี peristalsis เริ่มต้นที่กระเพาะอาหาร และผ่านต่อไปยังลำไส้เล็ก 3) ระยะที่ 3 นาน 5 ถึง 15 นาที ซึ่งเกิดอย่างรวดเร็วมี piristaltic contraction เกิดเป็นช่วงๆบางบริเวณ ส่วนของ Pylorus จะเปิดตลอด เพื่อให้อาหารที่ไม่ถูกย่อยผ่านไปยังลำไส้เล็กได้ 4) เป็นช่องระยะสั้นๆ ที่อยู่ระหว่าง ระยะที่ 3 และ ระยะที่ 1 การเพิ่มการหลั่งที่กระเพาะอาหาร ตับและตับอ่อนจะพบควบคู่ไปกับการเคลื่อนไหวนี้ การหลั่งเช่นนี้นำไปสู่การทำความสะอาดท่อทางเดินอาหาร ซึ่งเกิดจาก migraTINg motor complex และยังช่วยป้องกันการสะสมของแบคทีเรียในส่วนต้นของทางเดินอาหาร นอกเหนือจากความสำคัญของอวัยวะส่วนนี้เพื่อป้องกันท่อทางเดินอาหารนี้แล้ว ยังมีความสำคัญต่อการดูแลรักษาสุขภาพด้วยคือ 1) ความเข้มข้นของยาที่ถูกดูดซึมในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก จะแปรผันโดยคาดการณ์ไม่ได้ เพราะจะขึ้นกับกินระหว่างการย่อยอาหารหรือ กินในขณะไม่มีการย่อยอาหาร ซึ่งมีอัตราการปล่อยอาหารออกจากกระเพาะต่างกัน ดังนั้นการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญคงเป็นสิ่งจำเป็นว่าจะกินพร้อมอาหารหรือก่อนอาหาร 2) MigraTINg motor complexes อาจทำให้เกิดเสียงที่ไม่สุภาพ Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |
![]() | Word Info ID : 8436 Word INFO : กระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นถุง รูปร่างคล้ายตัวเจ ปกติกระเพาะอาหารที่ไม่มีอาหารจะมีขนาดประมาณ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสามารถขยายตัวเมื่อมีอาหารได้อีก 10 - 40 เท่าอาหารผ่านไปตามหลอดอาหาร แล้วผ่านไปตามทางเดินอาหารโดยการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร การหดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อ หลอดอาหารจะคืนสู่สภาพปกติเมื่อก้อนอาหารผ่านพ้นไปแล้วการหดตัวและคลายตัว เรียกว่าเพอริสตัลซิล (peristalsis)ผนังกระเพาะ มีกล้ามเนื้อแข็งแรงมากและยืดหยุ่นขยายขนาดจุ ได้ถึงประมาณ1000 - 1200 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีกล้ามเนื้อหูรูด (sphincter muscle) อยู่สองแห่งคือ กล้ามเนื้อหูรูดส่วนติดต่อกับหลอดอาหารกับกล้ามเนื้อ หูรูดส่วนติดกับลำไส้เล็ก ขณะเคี้ยวอาหารจะมีการกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่นน้ำย่อยบ้างเล็กน้อยเมื่ออาหารเคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหารจะมีการกระตุ้น ให้เซลล์ในกระเพาะหลั่งน้ำย่อยเพิ่มมากขึ้น น้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ประกอบด้วย เพปซิน (pepsin) เรนนิน (rennin) และ ไลเพส (lipase)นอกจากนี้ยังมีกรดไฮโดรคลอริก และน้ำเมือก อีกด้วย สำหรับ เพปซินและเรนนินจะอยู่ในรูปเพปซิโนเจน (pepsinogen)และโพรเรนนิน (prorennin) ซึ่งไม่พร้อมที่จะทำงาน แต่ยังมี กรดไฮโดรคลอริกจึงเปลี่ยนสภาพเป็นเป็น เพปซินและเรนนินและพร้อมทีจะทำงานได้ อาหารจะคลุกเคล้าอยู่ในกระเพาะด้วยการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่แข็งแรงของกระเพาะโดยน้ำย่อยเพปซินโปรตีนที่ถูกเพปซินย่อยส่วนใหญ่ จึงเป็นพอลิเพปไทด์ที่สั้นลง ไลเพส ทำหน้าที่ ย่อยไขมัน กระเพาะอาหารมีลิเพส ในปริมาณน้อยมาก และไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากกระเพาะอาหารมีสภาพเป็นกรด ไขมันจะผ่านกระเพาะอาหารออกไปโดยไม่ถูกย่อย น้ำเมือกที่ขับออกมาจากกระเพาะเคลือบผนังชั้นในของกระเพาะ กระเพาะก็ถูกทำลายได้แต่จะมีการสร้างเซลล์ใหม่ทดแทนได้ทันที เซลล์ถูกทำลายมากกว่าปกติ การหลั่งเพปซินและกรดไฮรโดรคลอริก แต่ไม่มีอาหารอยู่ใน กระเพาะจะทำให้ถูกทำลายจนเป็นแผลในกระเพาะได้ การมีกรด ในกระเพาะอาหารมากเกินปรกติมีสาเหตุ เช่น การรับประทาน อาหารไม่ตรงเวลา รับประทานอาหารเผ็ดจัด การกินยาแก้ปวดท้องเมื่อท้องว่าง การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน นอกจากนี้สุขภาพจิตก็มีความสำคัญมาก เช่น การมีอารมณ์เครียด วิตกกังวล ขาดการพักผ่อน ก็เป็นปัจจัยทำให้มีการหลั่งกรดออก มาในกระเพาะอาหารมาก อาหารอยู่ในกระเพาะอาหารนาน 30 นาที - 3 ชั่วโมง ซึ่งขึ้งอยู่กับชนิดของอาหารนั้น กระเพาะอาหารสามารถดูดซึมแอลกอฮอล์ได้ดี พบว่า 30 - 40% ของแอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะถูกดูดซึมที่กระเพาะอาหาร อาหารโปรตีนบางชนิดที่ย่อยยาก เช่น เนื้อวัว เนื้อควาย ย่อยยากกว่าเนื้อปลา อาหารโปรตีนบางชนิดเพื่อให้ย่อยง่าย อาจใช้การหมักหรือใส่สารบางอย่างลง เช่น ผงเนื้อนุ่ม เพื่อช่วยในการย่อยก่อนที่จะมาประกอบอาหารรับประทาน สารที่ทำให้เนื้อนุ่มอาจได้มาจากเอนไซม์ที่ได้จากพืช เช่น ยางมะละกอหรือสับประรด เป็นต้น ในยางมะละกอมีเอนไซม์ซื่อปาเปน (papain) สามารถย่อยโปรตีนได้ ในพืชมีเอนไซม์ย่อยอาหารเช่นกัน เช่น ในเมล็ดที่กำลัง งอกมี เอนไซม์อะไมเลส ทำหน้าที่ ย่อยอาหารที่สะสมอยู่ในเมล็ด เพื่อนำไปใช้ในการเจริญของต้นอ่อนภายในกระเพาะอาหารจะมีเอนไซม์ ชื่อว่า ?เพปซิน? ที่ช่วยย่อยโปรตีน ซึ่งเอนไซม์นี้จะทำงานได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด กรดที่กระเพาะอาหารสร้างคือ กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ) อาหารจะสามารถอยู่ในกระเพาะอาหารได้ประมาณ 3 ? 4 ช.ม. แล้วจะถูกส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก Ref. Link : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E... |
![]() | Word Info ID : 9774 Word INFO : เป็นอวัยวะที่อยู่ต่อจากหลอดอาหาร ตั้งบริเวณใต้ทรวงอกของคนเรา ส่วนบนของกระเพาะอาหารจะเชื่อมต่อกับหลอดอาหาร และส่วนปลายเชื่อมต่อกับลำไส้เล็ก มีลักษณะเป็นกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในลำไส้เล็กย้อยกลับสู่กระเพาะอาหารได้อีกกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ กระเพาะอาหารทำหน้าที่ผลิตน้ำย่อยออกมา เพื่อย่อยอาหารพวกโปรตีนเท่านั้น โดยกระเพาะอาหารจะบีบรัดตัวให้อาหารคลุกเคล้ากับน้ำย่อย Ref. Link : http://school.obec.go.th/schoolvit/chapter/unit1/pic/foodsys.jpg&im... |
![]() | หน้าที่การทำงาน (5) |
![]() | Word Info ID : 8428 Word INFO : อาหารเข้าสู่กระเพาะในรูปแบบที่ถูกทำให้เป็นขนาดเล็กลงจากการเคี้ยวและผสมกับน้ำลาย กระเพาะอาหารทำหน้าที่ 4 อย่าง ที่จะช่วยในขั้นต้นของการย่อยและส่งต่ออาหารไปยังลำไส้เล็ก หน้าที่ทั้งสี่อย่างมีดังนี้ 1. ทำหน้าที่เป็นที่กักเก็บอาหารในระยะสั้น 2. ในกระเพาะอาหารเป็นที่เกิดสารเริ่มต้นที่ทำหน้าที่ย่อยโปรตีน 3.กระเพาะอาหารมีการบีบตัวแรงเพื่อคลุกเคล้าอาหารและบดอัดอาหารกับสารที่หลั่งในกระเพาะ ทำให้อาหารมีลักษณะเป็นน้ำสะดวกต่อการส่งต่อไปยังลำไส้เล็ก 4. อาหารที่มีลักษณะเป็นน้ำในกระเพาะจะค่อยๆ ส่งไปอย่างช้าๆ ไปยังลำไส้เล็ก เพื่อเกิดขบวนการอื่นต่อไป Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |
![]() | Word Info ID : 8429 Word INFO : การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร : การนำเข้าและส่งออกอาหาร (Gastric Motility : Filling and Emptying) การหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบที่กระเพาะอาหาร เพื่อทำหน้าที่ 2 ประการคือ 1) เพื่อคลุกเคล้าอาหาร บีบอัด และทำให้อาหารเป็นของเหลวข้น ที่เรียกว่า "Chyme" 2) Chyme ถูกส่งผ่าน pyloric canal ไปสู่ลำไส้เล็ก ในขบวนการที่เรียกว่า gastric emptying ภาพแสดงทิศทางการบีบตัวของกระเพาะอาหาร เราสามารถแบ่งกระเพาะอาหารออกเป็น 2 บริเวณโดยแยกจากลักษณะการเคลื่อนไหว เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เป็น reservior (แหล่งเก็บกักอาหาร) ซึ่งบริเวณนี้มักมี pressure สม่ำเสมอภายในและบริเวณที่มีการบีบอัดสูง ดังนี้ คือ ส่วนบนของกระเพาะอาหาร คือส่วน fundus และ upper body พบว่าความถี่ของการหดตัวต่ำ ซึ่งก็เหมาะสมกับการให้แรงกดดัน (pressure) แบบพื้นฐานภายในกระเพาะ และที่สำคัญคือ tonic contraction แบบนี้ยังทำให้เกิดความแตกต่างของแรงกดดันในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก นำไปสู่การปล่อยอาหารไป การกลืนอาหารและตามด้วยการยืดออกของกระเพาะอาหารจะยับยั้งการหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณนี้ ทำให้เป็นแหล่งเก็บกักอาหารขนาดใหญ่ ที่ไม่มีการเพิ่ม pressure ภายใน ส่วนล่างของกระเพาะอาหารประกอบด้วย lower body และ antrum ส่วนนี้จะให้แรง peristaltic เป็นคลื่น และเพิ่ม amplitude ที่ถูกนำไปยัง Pylorus แรงดันสูงนี้จะมีแรงบดอัดประมาณ 3 ครั้งต่อนาที การยืดตัวของผนังกระเพาะอาหารจะเป็นตัวกระตุ้นแรงบีบอัดแบบนี้จึงดันอาหารให้คลุกเคล้า และส่งออกต่อไป ส่วนของ Pylorus มีส่วนทำให้เกิดหน้าที่นี้เช่นกันโดยเมื่อการบีบตัวแบบ peristalsis มาถึงส่วน pylorus ท่อตรงส่วนนี้ก็จะขยายออกทำให้ chyme ถูกส่งไปยังลำไส้เล็กเป็นช่วงๆ การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารถูกควบคุมโดยระบบประสาทและฮอร์โมน การควบคุมโดยระบบประสาทที่นี่เกิดจากระบบประสาทภายใน (enteric nervous system) และระบบประสาท parasympathelic และ sympathetic มีฮอร์โมนหลายชนิดมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวของกรเพาะอาหาร ตัวอย่างเช่น ทั้ง gastrin และ cholecystokinin มีผลในการคลายตัวของกระเพาะอาหารส่วนต้น แต่ทำให้กระเพาะอาหารส่วนปลายหดตัว นั่นคือการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารเป็นผลมาจาก smooth muscle cells ที่รับสัญญาณทั้งยับยั้งและกระตุ้น อาหารเหลวถูกส่งออกจาก pylorus เป็นลักษณะของเหลวแบ่งออกเป็นช่วงๆของการบีบตัว สารที่อยู่ในนี้จะมีขนาดเล็กขนาด 1-2 mm สารขนาดใหญ่จะถูกกันไว้ที่บริเวณ Pylorus และถูกทำให้เล็กลงโดยการบีบอัดจาก peristalsis ในส่วนของแข็งที่ไม่ย่อย เช่นก้อนกรวด ซึ่งถ้ามีขนาดใหญ่มากก็จะไม่ผ่านไปสู่ลำไส้เล็กได้ ในสัตว์มักจะอาเจียนออกมา ในคนส่วนใหญ่จะมีกระบวนการซึ่งมีการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในกระเพาะอาหารเพื่อกวาดให้อาหารที่ตกค้างผ่านไปยังลำไส้ในเวลาไม่นานนัก Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |
![]() | Word Info ID : 8430 Word INFO : การควบคุมการส่งออกอาหารที่กระเพาะอาหาร (Control of Gastric Emptying) อัตราการส่งออกอาหารที่นี่ทั้งปริมาณและส่วนประกอบ ยกตัวอย่าง contents 3 ชนิด หากอยู่ในกระเพาะอาหาร ดังนี้ 1) น้ำ 1 แก้วใหญ่ ทำให้กระเพาะอาหารยืด แต่ไม่มี solids อยู่ดังนั้น พอน้ำไปถึงลำไส้เล็ก ไม่มีกระบวนการดูดซึมอาหาร เพราะไม่มีสารให้ดูดซึม การส่งออกจะเร็วมาก 2) ถ้ากินอาหารเนื้อสัตว์จำนวนมากกระเพาะถูกยืดออก และต้องใช้เวลาในการทำให้เป็นของเหลวและยัง ต้องใช้เวลานาน เพื่อให้ pepsin และ acid ย่อยโปรตีน และผนวกกับอาหาร? chyme ต้องค่อยๆถูกส่งไปยังลำไส้เล็กอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้ลำไส้เล็กเสียหาย โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารไขมันแล้วการส่งออกอาหารของกระเพาะอาหารยิ่งช้า 3) อาหารเนื้อจำนวนเล็กน้อย พบว่ากระเพาะอาหารไม่ถูกยึดออก ทำให้ขาดสิ่งเร้าให้มีการเคลื่อนไหว การปล่อยอาหารออกไปก็ช้าเช่นกัน ดังนั้นพบว่าอาหารที่เป็นน้ำ ปริมาณเป็นตัวกำหนดอัตราเร็วของการปล่อยอาหาร และถ้าอาหารที่เป็นน้ำนี้มีสารอาหารน้อย ก็จะมีการปล่อยออกในอัตราเร็วที่สัมพันธ์กับปริมาณที่กินเข้าไปมากก็ส่งออกเร็วกว่าปริมาณที่กินน้อย อย่างไรก็ดีถ้าของเหลวนั้นเป็นพวก hypertonic หรือเป็นกรด (acidic) หรือมีสารอาหาร เช่น ไขมันหรือ amino acid บางชนิดมาก อัตราการปล่อยอาหารจะช้ากว่า และไม่สัมพันธ์กับปริมาณ นั่นคืออัตราการปล่อยอาหารในแต่ละมื้ออาหารสามารถคาดการณ์ได้โดยดูจากปริมาณสารอาหารในนั้น (Nutrient density) ความเข้มข้นของสารอาหารจะรับรู้ได้ที่ลำไส้เล็ก โดย osmoreceptors และ chemoreceptors และส่งสัณญานกลับมายังกระเพาะอาหารทาง inhibitory neural และ hormonal messages และไปทำให้การส่งอาหารออกช้าลงโดยไปกำกับการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร การมีไขมันในลำไส้เล็กจะเป็นตัวหลักที่ทำให้ยับยั้งการปล่อยอาหาร ด้วยการทำให้เกิดการคลายตัวที่ส่วนต้นของกระเพาะอาหาร และลดการหดตัวที่ส่วนปลายของกระเพาะ (ซึ่งคือลดการบดอัดด้วย) และเมื่อไขมันถูกดูดซึมไปแล้ว การยับยั้งที่มีเหตุมาจากไขมันก็หมดไป ทำให้กระเพาะอาหารกลับมาเคลื่อนไหวปกติ Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |
![]() | Word Info ID : 8432 Word INFO : การหลั่งสารที่กระเพาะอาหาร (Gastric Secretions) กระเพาะอาหารหลั่งกรดและสารอื่นอีก 3 ชนิด ที่มีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยอาหาร และการควบคุมการทำงานของกระเพาะอาหารเอง สารที่หลั่งมี 4 อย่าง ดังนี้ 1. Mucus กระเพาะอาหารมี mucous cells จำนวนมากที่ชั้นบุผิว (epithelium) ของกระเพาะอาหาร และบริเวณที่ยื่นลงไปใน glands บริเวณต้นๆ ด้วยเราเรียก mucous neck cells cells เหล่านี้หลั่งสาร mucus ที่มี bicarbonate สูง ช่วยเคลือบและหล่อลื่นผิวภายในกระเพาะอาหาร และทำหน้าที่ในการป้องกันชั้นเยื่อบุผิวจากกรดและสารอื่นๆ 2. Acid กรดเกลือถูกหลั่งจาก parietal cells เข้าสู่ภายใน และทำให้ภายในกระเพาะอาหารมีสภาพกรด กรดดังกล่าวมีความสำคัญในการ activate pepsinogen และยับยั้งพวกแบคทีเรียที่มาพร้อมอาหาร 3. Proteases : สาร Pepsinogen เป็น inactive zymogen หลั่งจาก chief cells เมื่อหลั่งออกมาใน form pepsinogen จะถูก activate โดยกรดในกระเพาะอาหารให้เป็น active pepsin ซึ่งย่อยโปรตีน ในสัตว์ที่ยังอายุน้อยๆ นั้น chief cells จะหลั่ง chymosin (renin) ซึ่งจะ coagulate โปรตีนในน้ำนม ทำให้อยู่ในกระเพาะอาหารได้นานขึ้น 4. Hormones ฮอร์โมนที่หลั่งที่ epithelium ของกระเพาะ คือ gastrin ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่งกรดและการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร มีการหลั่ง enzymes ชนิดอื่นๆ จาก cell บุผิวของกระเพาะ เช่น lipase และ gelaTINase และยังมี intrinsic factor ซึ่งเป็นสารพวก glycoprotein หลั่งจาก parietal cells เพื่อทำให้เกิดการดูดซึม vitamin B12 Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |
![]() | Word Info ID : 8435 Word INFO : One Meal in the Life of the Stomach กระเพาะอาหารทำหน้าที่พร้อมไปกับมื้ออาหารที่เรากิน กระเพาะอาหารหลั่งกรดปริมาณมากเมื่อถูกยืดจากอาหารที่กินเข้ามา จากนั้นมีการเริ่มต้นย่อยโปรตีน อย่างไรก็ดีเมื่ออาหารถูกทำให้เป็นน้ำแล้วส่งผ่านไปแล้วกระเพาะก็จะว่าง การหลั่งกรดก็จะหยุด การหยุดหลั่งกรดช่วงนี้ช่วยให้ผนังกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กไม่ถูกทำลาย การทำงานของกระเพาะอาหารถูกจำแนกเป็น3ระยะ โดยดูจากการหลั่งและการเคลื่อนไหว ดังนี้ 1) Cephalic phase เป็นช่วงเหมือนกับตื่นตัว ด้วยการมองเห็นอาหาร ได้กลิ่นอาหาร หรือการคาดหลังว่าจะได้กินอาหาร ซึ่งเป็นกระบวนการรับรู้ในสมอง ส่งการรับรู้นี้ไปยังกระเพาะอาหารเพื่อเตรียมพร้อม การสื่อสารนี้จะส่งไปทาง parasympathetic stumuli ส่งทาง Vagus nerve ไปยัง enteric nervous system ทำให้มีการหลั่ง acetylcholine เมื่อacetylcholineจับกับreceptorที่ G cells ก็จะกระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมน gastrin ด้วยความร่วมมือของ acetylcholine และ histamine ที่มีทำให้ parietal cell หลั่ง acid จำนวนน้อยๆ ก่อนพร้อมกับมีการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารบ้าง นั่นคือกระบวนการทำงานในกระเพาะกำลังจะเริ่มแล้ว 2) Gastric phase เป็นขั้นตอนทำงานเต็มที่ต่อมา เมื่ออาหารเข้าสู่กระเพาะแล้ว มีองค์ประกอบมากมายที่มีส่วนร่วมทำให้กระเพาะอาหารทำงาน ตัวหลักคือการที่กระเพาะถูกยืดและการที่ผนังกระเพาะอาหารถูกระคายเคืองจากอาหาร การยืดของกระเพาะอาหารไปกระตุ้น stretch receptors และการระคายเคือง (irritation) ไปกระตุ้น chemoreceptors ที่ mucosa ปรากฎการณ์นี้ถูกรับรู้ โดย enteric neuron ซึ่งจะหลั่ง acetylcholine เพิ่มขึ้นมากกว่าระยะแรกและไปกระตุ้น G cells และ parietal cells เพิ่มขึ้น gastrin จาก G-Cell จะมีผลกระตุ้น parietal cell ทำให้เกิดการหลั่งกรดต่อไป นอกจากนี้การกระตุ้น enteric nervous system และการหลั่ง gastrin มีผลทำให้กล้ามเนื้อเรียบหดตัวอย่างรุนแรงด้วย ผลสุดท้ายคือ กระเพาะอาหารหลั่งสารอย่างเต็มที่ พร้อมทั้งมีการเคลื่อนไหวบีบตัวเต็มที่ด้วย กรดเกลือและ pepsinogen ถูกหลั่งอย่างมากมาย pepsinogen ถูกเปลี่ยนเป็น pepsin และมีการบีบอัดและบดอาหารที่กระเพาะอาหาร อย่างไรก็ดีมีกระบวนการที่จะป้องกันการหลั่งกรดมากเกิน คือ ถ้าภายในกระเพาะอาหารมี pH ต่ำกว่า 2 จะมีการหยุดหลั่งและหยุดเคลื่อนไหวชั่วคราว 3) IntesTINal phase เป็นระยะที่เมื่ออาหารในกระเพาะถูกทำให้เป็นของเหลวแล้ว มันจะถูกส่งไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้น จึงจำเป็นที่ลำไส้เล็กจะต้องยับยั้งการส่งอาหารจากกระเพาะหรือทำให้การส่งช้าลง เพื่อให้มีเวลาสำหรับการทำให้ภาวะกรดในอาหารน้อยลง และทำให้อาหารถูกดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ลำไส้เล็กจะส่งสัญญาณยับยั้งไปยังกระเพาะ เพื่อให้เคลื่อนไหวช้าลง และหลั่งสารน้อยลงได้ด้วย 2 วิธี คือ โดยทางระบบประสาท และทางฮอร์โมน ดังนี้การที่ลำไส้เล็กถูกยืด หรือการมีสารบางอย่างที่ระคายเคืองผนังจะเป็นตัวส่งสัญญาณยับยั้งที่เรียก gastric inhibitory impulse ใน enteric nervous system ซึ่ง pathway นี้เราเรียก enterogastric-reflex และมีการยับยั้งโดย hormones ก็คือ hormone ที่อยู่ในทางเดินอาหารเอง เช่น cholecystokinin และ secreTIN ซึ่งถูกหลังจากลำไส้เล็กจะยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหาร เมื่อลำไส้เล็กส่งสัญญาณให้ยับยั้งการทำงานของกระเพาะอาหารเป็นการชั่วคราวดังปรากฎการณ์ดังกล่าว และเมื่ออาหารชุดแรกนี้ผ่านไป การยับยั้งก็จะหยุด กระเพาะอาหารก็ทำงานปกติต่อไป คือหลั่งสารและเคลื่อนไหวตามเดิม สรุปทั้ง 3 ระยะ คือ สมองกระตุ้นกระเพาะอาหารให้เตรียมพร้อมเพื่อรับอาหารที่กำลังจะนำเข้าด้วยการมีการหลั่งและเคลื่อนไหวเล็กน้อย ช่วงนี้คือ cephalic phase และหลังจากเรากินอาหารแล้ว กระเพาะอาหารจะทำงานเต็มที่ทั้งหลั่งสารและเคลื่อนไหว ระยะนี้คือ gastric phase และในขณะส่งอาหารต่อไปยังลำไส้เล็ก กระเพาะอาหารจะทำงานน้อยลงเป็นช่วงๆ โดยรับคำสั่งการยับยั้งนั้นมาจากลำไส้เล็ก (intesTINal phase) และถ้า pH ในกระเพาะอาหารลดต่ำลงมากๆ กระเพาะอาหารก็จะหยุดการทำงานเองด้วย และเมื่ออาหารที่ถูกบีบอัด และบดจนเป็นน้ำถูกส่งผ่านไปแล้ว กระเพาะอาหารก็จะกลับไปสู่ภาวะพัก จนกว่าจะถึงอาหารมื้อต่อไป Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |
![]() | โรคที่เกี่ยวข้อง (4) |
![]() | Word Info ID : 8437 Word INFO : มะเร็งกระเพาะอาหารนั้น พบได้พอๆ กันทั้งเพศหญิงและเพศชาย ส่วนใหญ่อายุ 40-45 ปีขึ้นไป จัดว่าเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศไทย แต่ถ้ามาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ สำหรับอาการของมะเร็งกระเพาะอาหาร อาจมีได้ดังนี้ ปวดท้อง แน่นท้อง บริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือเหนือสะดือ ท้องอืด อาหารย่อยยาก คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระดำ มีก้อนในท้อง ตรงกลางส่วนบน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาการทางตับ ทางปอด หรือต่อมน้ำเหลืองที่เหนือไหปลาร้าโต ในกรณีที่มะเร็งลุกลามมากแล้ว ส่วนการรักษานั้น อาจต้องทำผ่าตัดหรือใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วย อาจต้องฉายรังสี ถ้าลุกลามไปมากแล้ว Ref. Link : http://www.bangkokhealth.com/gi_htdoc/gi_health_detail.asp?Number=5216 |
![]() | Word Info ID : 8438 Word INFO : 1. โรคกระเพาะ คืออะไร พูดถึงโรคกระเพาะ บางคนนึกไปถึงการที่มีแผลในกระเพาะอาหาร แล้วก็เกิดอาการเจ็บปวดขึ้น ... นั่นเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น คำว่าโรคกระเพาะ เป็นภาษารวมๆ หากจะเปรียบเทียบเป็นภาษาอังกฤษก็คงจะเขียนว่า Dyspepsia ซึ่งกินความอาการ จุก แน่น เสียด เจ็บ ปวดที่บริเวณลิ้นปี่หรือท้องส่วนบน ... ดังนั้นคำว่าโรคกระเพาะจึงเป็นคำบอกอาการ ซึ่งทั้งนี้โรคกระเพาะสามารถแบ่งได้เป็นกลุ่มที่มีแผล(แผลใหญ่ๆ แผลจุดเลือดออกเล็กๆหรือแม้กระทั่งมะเร็ง) และกลุ่มที่ไม่มีแผล อีกอย่างหนึ่ง อาการโรคกระเพาะ อาจจะทำให้นึกถึงว่าเป็นโรคของกระเพาะอาหาร แต่ความจริงแล้ว อาการโรคกระเพาะ เกิดได้จากความผิดปกติของโรคตั้งแต่ทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดี หรือแม้แต่ลำไส้ใหญ่ 2. เมื่อการแพทย์เชื่อกันผิดๆมากว่า100ปี หากเมื่อสัก30ปีก่อน มีแพทย์มาบอกคุณว่าจะรักษาโรคกระเพาะด้วยยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อแก้อักเสบ คุณคงเปลี่ยนไปรักษากับแพทย์คนอื่นแน่ๆ แต่เรื่องนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว หลังจากเมื่อปีที่ผ่านมานี้มีแพทย์ชาวออสเตรเลียสองท่านได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสรีรศาสตร์หรือการแพทย์ก็คือ J. Robin Warren และ Barry J. Marshall ในฐานะที่เป็นผู้ค้นพบว่า โรคแผลในกระเพาะอาหารส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ H. pyroli และได้หักล้างความเชื่อเดิมที่ว่าโรคกระเพาะทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นเกิดมาจากความเครียดและการกินอาหารไม่ตรงเวลาซึ่งเชื่อกันมากว่า100ปี หลังจากการประกาศความรู้ใหม่นี้ตั้งแต่เมื่อ10กว่าปีก่อน การรักษาโรคกระเพาะได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่เคยมีมาก่อน ช่วงที่กระแสความรู้นี้ออกมาใหม่ๆ การรักษาโรคกระเพาะได้หันเหไปในทางการฆ่าเชื้อ H. Pylori ... และในที่สุด ปัจจุบันก็พบว่าโรคแผลในกระเพาะอาหารที่พบมีทั้งที่เกิดจากเชื้อและที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ 3. สาเหตุของโรคกระเพาะ ช่วงที่มีข่าวเรื่องนี้ ผู้ป่วยบางคนถึงกับหลงคิดไปเลยว่าโรคกระเพาะทั้งหมดเกิดจากเชื้อโรค แต่ความจริงโรคกระเพาะและแผลในกระเพาะ ต่างมีสาเหตุได้หลายอย่าง สาเหตุต่างๆก็ได้แก่ - ยาบางชนิด ยาหลายชนิดมีส่วนที่ทำให้เกิดอาการปวดท้องโรคกระเพาะ แต่ที่พบบ่อยและเป็นปัญหาในบ้านเรามากที่สุด เห็นจะเป็นยากลุ่มแก้ปวดข้อปวดกล้ามเนื้อ และยาสเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่พบว่าใช้กันบ่อยและใช้กันผิดๆจนก่อโรคกระเพาะ - บุหรี่ การสูบบุหรี่จะลดการสร้างสารป้องกันกระเพาะ และส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ จึงทำให้เกิดอาการของโรคกระเพาะและเมื่อเกิดแผลในกระเพาะก็จะหายได้ยาก - เหล้า กาแฟ ชา เป็นกลุ่มเครื่องดื่มที่ส่งเสริมการสร้างกรดในกระเพาะ - เชื้อโรค อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วก็คือ เชื้อH pylori - โรคของอวัยวะใกล้เคียงของช่องท้อง เช่นโรคของตับ โรคของถุงน้ำดี(นิ่ว) ตับอ่อน พวกนี้อาการเริ่มแรกอาจจะเป็นอาการปวด และทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าเป็นโรคกระเพาะได้ - โรคการทำงานของกระเพาะและลำไส้ที่ผิดปกติ เป็นโรคที่เมื่อตรวจไปเสร็จแล้วไม่พบว่ามีแผลหรือลักษณะผิดปกติแต่อย่างใด แต่การทำงานของกระเพาะลำไส้ผิดปกติไปเองเช่นเคลื่อนไหวแรงหรือบีบตัวย้อนทางจนก่ออาการปวด โรคในกลุ่มนี้ก็อย่างเช่นกลุ่ม IBS GERD - มะเร็ง เจอไม่มาก แต่เป็นสิ่งที่แพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมมือกันในค้นหาเพื่อจะได้รักษากันอย่างถูกต้องและไม่หลงทางไปรักษาอาการปวดแต่อย่างเดียว บางคนอาจจะเถียงว่า โรคในสามข้อล่างไม่ใช่โรคกระเพาะ แต่อย่าลืมนะครับว่าคนเราไปหาหมอ ไปหาด้วยอาการ ไม่ได้ไปหาด้วยชื่อโรค ดังนั้นก็ต้องคำนึงถึงโรคพวกนี้ไว้ด้วย 4. ส่องกล้อง จำเป็นหรือไม่ จะทำเมื่อไหร่ ถ้าไปเปิดตำราต่างประเทศ จะพบว่ามีการแนะนำให้ส่องกล้องผ่านทางปากเพื่อจะได้เห็นว่ากระเพาะและลำไส้เป็นอย่างไร และดูว่ามีอะไรที่สงสัยมะเร็งหรือไม่ แต่นั่นก็ต่อเมื่อได้ทำการรักษาไปแล้วในช่วง1-2เดือน ในไทยยังนับว่าเป็นปัญหาอยู่ ทั้งที่ประเทศไทยต่างมียาแปลกใหม่ราคาแพงโอฬารตระการตา แต่การรักษายังมีแง่มุมอื่นนอกจากการใช้ยา นั่นคือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นของตัวผู้ป่วยเอง ซึ่งการรักษาด้วยยาจะได้ผลน้อยมากหากผู้ป่วยเองไม่ได้หลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น การส่องกล้องที่ดี จะทำเมื่อรักษาอย่างถูกต้องแล้วเป็นเวลา1-2เดือน(ถ้ามีแผล รักษาก็น่าจะหายแล้ว)แล้วยังมีอาการอยู่ การส่องกล้องจะเข้าไปดูได้ว่ามีแผลหรือไม่ ถ้ามีแผลก็สามารถตัดชิ้นเนื้อไปตรวจดูได้ว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ หรือมีเชื้อหรือไม่ อย่างไรก็ดีก็อาจจะส่องกล้องก่อนได้ หากมีอาการที่บ่งชี้ว่าเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง 5. สัญญาณอันตราย สัญญาณอันตรายดังต่อไปนี้ จะเป็นข้อมูลที่ทำให้แพทย์ส่งส่องกล้องดูกระเพาะอาหารโดยไม่รอการรักษาด้วยยากิน น้ำหนักลดผิดปกติ(มากกว่า10%ใน3เดือน) เบื่ออาหารมาก กลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระดำหรือมีเลือดปน ลักษณะการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากเดิม ซีดโลหิตจาง อาการรุนแรง มีประวัติโรคมะเร็งของทางเดินอาหารในครอบครัว อาการเหล่านี้จะทำให้ต้องระวังว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งได้ 6. กินยาโรคกระเพาะโดยไม่ต้องส่องกล้องดีหรือไม่ ปัญหาการรักษาอย่างหนึ่งก็คือผู้ป่วยหลายคนไม่อยากส่องกล้อง และคิดว่าแค่กินยาไปเรื่อยๆก็น่าจะพอ ซึ่งนั่นไม่เพียงพอ เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าสาเหตุของโรคกระเพาะยังมีโรคจากการติดเชื้อและมะเร็ง ซึ่งหากรักษาด้วยยาลดกรดเพียงอย่างเดียวก็ไม่มีทางหาย ข้อควรรู้คือ มะเร็งกระเพาะ กินยาลดกรดในกระเพาะ ก็หายปวดท้องได้.... ดังนั้นถ้าแพทย์บอกว่าควรส่องก็น่าจะไปส่องครับ 7. ประโยชน์ของการรักษาตามแนวทางการรักษา ปกติแพทย์จะสั่งยาตามมาตรฐานการรักษาอยู่แล้ว หากแต่ว่าการรักษายังต้องการความร่วมมือในการหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นจากผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยกินเหล้า สูบบุหรี่ กินยาแก้ปวดเป็นประจำและไม่ยอมหยุดยา ก็จะเกิดปัญหาตามมา ก็คือ ถึงเอาไปส่องกล้องก็จะมีโอกาสเจอแผลในกระเพาะสูง จนทำให้แพทย์หลายคนในรพ.รัฐเบื่อที่จะต้องส่องกล้องกระเพาะอาหาร เพราะผู้ป่วยบางคน ไม่ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยง แต่ก็ต้องการยาลดกรด นอกจากนี้บางคนยังมีความต้องการส่องกล้องหลายๆครั้ง กล่าวโทษผู้รักษา(ว่ารักษาไม่ดี) ต้องการยาเกินความจำเป็น ก่อความเครียดในทั้งผู้ป่วยและแพทย์ นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดความล่าช่าในการตรวจหามะเร็ง อย่างเช่นครั้งหนึ่งที่ผมเคยส่องกล้องกระเพาะอาหารในผู้ป่วยซึ่งไม่ยอมหยุดการสูบบุหรี่ดื่มเหล้าและใช้ยาแก้ปวด ส่องไปก็พบแผลขนาดครึ่งซม.เป็นสิบแผลกระจายกันตามตำแหน่งต่างๆ ครั้นจะตัดชิ้นเนื้อจากทุกแผล ก็ทำได้ยาก ทำได้เพียงแต่ชี้ให้ผู้ป่วยเห็นว่ามีแผลมากมาย น่าจะหยุดปัจจัยเสี่ยงได้แล้ว.... (ครั้งสุดท้ายที่พบผู้ป่วยรายนี้ ก็ยังเลิกตัวกระตุ้นเหล่านี้ไม่ได้และยังปวดท้อง) ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่ร่วมมือในการรักษาอย่างดี ยอมหยุดปัจจัยเสี่ยงทุกตัว เมื่อนำมาส่องกล้องพบแผลไม่มาก ตัดไปตรวจพบว่ามีการติดเชื้อH pylori จากนั้นได้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะและยาลดกรด (สุดท้ายน่าจะหาย แต่ผมก็ไม่ได้เจอผู้ป่วยคนนี้อีกเลย) ดังนั้นประโยชน์หลักก็คือสามารถตรวจและรักษาได้อย่างดี หากรักษาตามแนวทาง นอกจากนี้ยังมีประโยชน์รองก็คือ "ประหยัด" ยาเม็ดลดกรดranitidine หรือ cimetidine ราคาประมาณ 50สต.ต่อหนึ่งเม็ด... เมื่อรักษาแล้วไม่หาย แพทย์หลายคนจะปรับเปลี่ยนเป็นยาในกลุ่มPPI เช่นOmeprazole เม็ดละ12บาท (รพ.เอกชนปัจจุบัน ก็จะมียากลุ่มนี้อีกหลายๆตัว) ซึ่งเมื่อปรับเป็นกลุ่มนี้ก็มักปรับเปลี่ยนยาได้ยาก ผู้ป่วยหลายคนเมื่ออาการไม่ดีขึ้นก็ปรับการใช้ยาเอง จากวันละ1-2เม็ด เป็นกินวันละ4-5เม็ด เสียค่าใช้จ่าย(งบประมาณรพ.)ไปกับยาเดือนละหลายพันบาท และเสียค่าใช้จ่าย(เงินส่วนตัวผู้ป่วย)ไปกับเหล้าบุหรี่ เดือนนึงๆก็เป็นพันๆ ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกคือเสียเงินเพื่อทำร้ายตนเองแล้วก็เบียดเบียนเงินที่จะไปช่วยเหลือผู้อื่นไปในตนเอง 8. นิ่วในถุงน้ำดี กับโรคกระเพาะ บางครั้งผู้ป่วยได้รับการตรวจพิเศษอย่างอื่นมาก่อนในอดีต แล้วได้พบว่ามีก้อนนิ่วในถุงน้ำดี ... บางครั้งผู้ป่วยก็สงสัยว่าทำไมปวดท้อง มีนิ่วแต่ทำไมไม่ทำอะไรกับนิ่ว ต้องบอกว่าหลายๆครั้งคนเรามีนิ่วในถุงน้ำดีโดยไม่มีอาการ ดังนั้นการรักษาจึงขึ้นอยู่กับว่าอาการปวดนี้เป็นปวดลักษณะที่เข้าได้กับนิ่วหรือไม่ ,และได้หาสาเหตุอื่นๆที่เป็นไปได้หรือยัง พบว่าบางคนการตัดถุงน้ำดีหรือนิ่วออกไปไม่ได้ทำให้หายปวดท้อง ร้ายไปกว่านั้น บางคนมีอาการปวดท้องที่เกิดจากการการย่อยไขมันที่ผิดปกติ เมื่อตัดถุงน้ำดีและนิ่วในนั้นไปแล้วปรากฏว่าแทนที่จะหายก็กลายเป็นปวดเสียยิ่งกว่าเดิม 9. อาหารของโรคกระเพาะ ถึงแม้ว่าโรคแผลในกระเพาะจะมีเหตุจากเชื้อโรคได้ แต่ว่าโรคกระเพาะที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคก็ยังมีอีกมากโดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีแผล การดูแลแบบเดิมๆที่ทุกคนรู้จักกันดีก็ยังมีประโยชน์อยู่ได้แก่ - กินอาหารให้ตรงเวลา - ไม่กินอาหารรสจัด(เค็ม เผ็ด เปรี้ยว) อาหารหมักดอง อาหารมันๆ - ไม่กินของที่มีแก็สหรือก่อแก็ส เช่น น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์จากถั่ว(เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ นมถั่วเหลือง) - กินผักผลไม้เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหาร อาหารที่ดี จะช่วยลดอาการของโรคกระเพาะได้ 10. สมุนไพรสามารถรักษาโรคกระเพาะได้หรือไม่ เคยมีอยู่พักหนึ่งที่มีการพูดถึงเปล้าน้อยและสารเปลาโนทอลว่าสามารถเอาไปผลิตเป็นยารักษาโรคกระเพาะได้ ช่วงนั้นจำได้ว่าในตลาดค้ายาลูกกลอนมีสมุนไพรที่อ้างสรรพคุณรักษาโรคกระเพาะที่อ้างว่าผลิตจากเปล้าน้อยออกมา.... ยาไทยๆหลายตัวรวมทั้งพืชผักในครัวหลายชนิดมีฤทธิ์สามารถลดอาการจุกเสียดแน่นเฟ้อได้ดีมาก หาได้ง่าย ราคาถูกและปลอดภัย ดังนั้นถ้าถามว่าสมุนไพรรักษาอาการโรคกระเพาะได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่า "ได้" แต่สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นก็คือพวกยาที่อ้างว่าเป็นสมุนไพรที่วางขายในท้องตลาด หลายๆตัวผสมสารกลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ากินอาหารได้ดีขึ้น อาการเหมือนดีขึ้น แต่ที่จริงแล้วการใช้สเตียรอยด์เป็นประจำจะทำให้กระเพาะเสี่ยงต่อการเกิดแผลและทะลุได้ง่าย ดังนั้นการเลือกใช้สมุนไพร จึงควรใช้อย่างระมัดระวัง หากเป็นไปได้ก็ควรทำเองหรือซื้อจากแหล่งที่ไว้ใจได้ Ref. Link : http://webboard.mthai.com/7/2006-09-27/269866.html |
![]() | Word Info ID : 8439 Word INFO : โรคแผลในกระเพาะอาหาร โรคของกระเพาะอาหารที่พบบ่อยคือ โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่า โรคกระเพาะ โดยจะเกิดแผลที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น และมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องจากกรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมา ไม่ว่าจะหลั่งมากหรือน้อยเพียงใดก็สามารถทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ ร่วมกับการที่เยื่อบุกระเพาะอาหารต้านทานการย่อยของกรดได้ไม่ดี จึงทำให้เกิดแผลได้ สาเหตุ โดยทั่วไปเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคที่ผิด เช่น กินอาหารไม่ตรงเวลา หรือกินอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวจัด การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่นกาแฟหรือน้ำอัดลมบางประเภท รวมถึงการกินยาแก้ปวดต่างๆ เช่น ยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อชนิด NSAID ยาลูกกลอนและยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ต่างๆ ตลอดจนการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ และมีความเครียดวิตกกังวล อาการ สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะนั้นจะมีอาการต่างๆที่สังเกตได้ดังนี้คือ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ มักเป็นเวลาท้องว่างหรือหิว แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อได้กินอาหาร ยาลดกรดหรือนม ในบางคนอาจจะปวดมากขึ้นหลังกินอาหาร อาการปวดมักจะเป็นๆหายๆนานเป็นปี โดยอาจจะเป็นช่วงแรกไม่นานแล้วก็หายไป แล้วเป็นใหม่อีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซ้ำๆอย่างนี้ บางรายอาจจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้อง จุก เสียด ท้องอืดหรือรู้สึกไม่สบายม้องโดยเฉพาะหลังอาหาร ถ้าอาการรุนแรงมาก อาจจะอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระดำและปวดท้องรุนแรง ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพบแพทย์ให้เร็วที่สุด การรักษา การรักษาจะต้องมี 2 อย่างประกอบกันเสมอ คือ การรักษาด้วยยา และการปฎิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อลดการเสี่ยงของการเกิดโรคนั่นเอง การรักษาด้วยยา ควรจะใช้ยาที่มีฤทธิ์ครอบคลุมในการรักษาคือทั้งบรรเทาอาการและช่วยรักษาแผลด้วย และอาจจะใช้ยาอื่นๆเพื่อช่วยบรรเทาอาการข้างเคียงอื่นๆด้วย เช่นอาการ แน่นท้อง จุกเสียด และที่สำคัญต้องกินยาติดต่อกันนาน 4-6 สัปดาห์เพื่อให้แผลหายดี ส่วนการปฎิบัติตัวนั้น ต้องกินอาหารให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา กาแฟ การสูบบุหรี่และการระมัดระวังการกินยาบางชนิด เช่นยาแก้ปวดกระดูกและข้อต่างๆ ยาลูกกลอน ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ตลอดจนหลีกเลี่ยงความเครียด และควรที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอ หลักง่ายๆในการป้องกันและรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร - กินอาหารให้ตรงเวลา - ไม่กินรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด - ไม่ดื่มสุรา น้ำอัดลมหรือสูบบุหรี่จัด - ระวังการใช้ยาแก้ปวดต่างๆ - พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ - ไม่เครียด - กินยารักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ Ref. Link : http://www.pooyingnaka.com/story/story.php?Category=health&No=409 |
![]() | Word Info ID : 8441 Word INFO : โรคประสาทกระเพาะอาหาร คนจำนวนมากมีอาการอึดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดท้อง เป็น ๆ หาย ๆ แรมเดือน แรมปี แต่ไม่หายขาด หลายคนเที่ยวตระเวนรักษาตามสถานพยาบาลและโรงพยาบาลต่าง ๆ แห่งแล้วแห่งเล่า ได้รับการตรวจเลือดชนิดต่าง ๆ และการตรวจอุจจาระ บางคนได้ตรวจเอกซเรย์กระเพาะอาหารมากกว่าหนึ่งหรือสองครั้งบางคนก็ได้รับการตรวจกระเพาะอาหารด้วยกล้องตรวจด้วย บางคนอาจถูกส่งตรวจวิธีอื่น ๆ ที่สิ้นเปลืองมากรวมทั้งการตรวจช่องท้องด้วยรังสีระบบคอมพิวเตอร์ (CT scan) แต่แม้จะได้ทุ่มเทค่าใช้จ่ายไปกับการตรวจรักษามากมายก็หามีแพทย์ผู้ใดพบโรคของกระเพาะอาหารหรือโรคในช่องท้องชนิดอื่น ๆ ไม่ ผู้ป่วยด้วยอาการเช่นนี้มักจะปรึกษาแพทย์เพราะคิดว่าตนเป็น "โรคกระเพาะ" หลายคนกลัวว่าตนอาจมีโรคมะเร็งกระเพาะอาหารหรือมะเร็งภายในช่องท้องแอบแฝงอยู่ หลายคนอาจสังเกตเองว่า อาการต่าง ๆ มักเป็นมากในช่วงที่มีความวิตกกังวลทุกข์ร้อนใจในปัญหาอื่น ๆ เช่น การเรียน การทำงาน ปัญหาการเงิน หรือปัญหาครอบครัว เป็นต้น เมื่อใดที่ปัญหาเหล่านี้ผ่อนคลายลง อาการต่าง ๆ ภายในช่องท้องก็จะลดลงหรือหายไปชั่วระยะหนึ่งด้วย แต่ผู้ป่วยอีกหลายรายจะปฏิเสธว่าไม่ได้มีความวิตกกังวลเรื่องใดซ่อนเร้นอยู่เลย และนึกไม่ออกว่าจะมีสาเหตุใด ๆ ทางอารมณ์ซ่อนเร้นอยู่ ผู้ป่วยทำนองนี้มีเพียงจำนวนน้อยมากเท่านั้นที่แพทย์อาจค้นพบสาเหตุแน่ชัดได้ในที่สุด (เช่น เป็นโรคแผลกระเพาะอาหาร, โรคลำไส้อักเสบ หรือโรคมะเร็งทางเดินอาหาร เป็นต้น) แต่ส่วนใหญ่แพทย์จะค้นหาสาเหตุไม่พบ ไม่ว่าจะได้ตรวจพิเศษวิธีต่าง ๆ โดยละเอียดเพียงใดก็ตาม (เช่น ตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์ ตรวจด้วยกล้องส่องทางเดินอาหาร ตรวจด้วยวิธีคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ) ผู้ป่วยกลุ่มใหญ่กลุ่มหลังนี้ ทางการแพทย์รวมเรียกว่า "โรคประสาทกระเพาะอาหาร" (Functional gastrointesTINal disorders) หรือที่เรียกกันพื้น ๆ ว่า "โรคประสาทลงท้อง" สาเหตุ แม้ว่าผู้ป่วย "โรคประสาทกระเพาะอาหาร" ส่วนใหญ่อาจมีสาเหตุจากภาวะด้านจิตใจแต่บางรายอาจเกิดโรคทางร่างกายก็ได้ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคเรื้อรังบางอย่างซึ่งอาจทำให้ระบบประสาทที่ควบคุมทางเดินอาหารต่าง ๆ ทำงานผิดพลาดไป จึงเกิดอาการต่าง ๆ นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจไม่ถูกกับอาหารบางประเภทหรือสุรา ทุกครั้งที่ร่างกายได้รับสิ่งเหล่านี้ก็จะก่อให้เกิดอาการ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ต้นเหตุที่แท้จริงของอาการต่าง ๆ ของ "โรคประสาทกระเพาะอาหาร" ในผู้ป่วยแต่ละรายมักค้นไม่พบแพทย์จึงบอกได้แต่ว่า ไม่น่าจะมีโรคร้ายแรงใด ๆ แฝงอยู่และแนะนำให้ผู้ป่วยพยายามแก้ไขปัญหาทางจิตใจถ้ามี อาการ อาการของโรคนี้อาจคล้ายคลึงกับ "โรคกระเพาะ" ชนิดอื่น ๆ อาการที่พบบ่อยได้แก่ ท้องอืด หรือแน่นท้อง โดยมักจะเป็นหลังอาหารผู้ป่วยบางรายมีอาการปวดท้อง และถ่ายเหลววันละหลายครั้งร่วมด้วย บางรายก็ท้องผูก เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ก็ทำงานผิดปกติแปรปรวนไปด้วยลักษณะเด่นของ "โรคประสาทกระเพาะอาหาร" อย่างหนึ่งก็คือ อาการต่าง ๆ มักมีความสัมพันธ์กับความตรึงเครียดของจิตใจหรืออารมณ์ ผู้ป่วยหลายคนสังเกตุเองว่ามักจะเกิดอาการในช่วงที่มีความเร่งร้อนในหน้าที่การงาน ความวิตกกังวล หรือความกลัว นักศึกษามักมีอาการมากในช่วงใกล้สอบ นักธุรกิจอาจมีอาการเพิ่มขึ้นก่อนการประชุมนัดสำคัญ เป็นต้น บางรายมีอาการหายใจขัด ใจสั่น หรือมือสั่นร่วมด้วย ซึ่งล้วนเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ เหล่านั้นแปรปรวนไป การวินิจฉัย การวินิจฉัยโรคนี้ทำได้ไม่ยากเพราะลักษณะอาการมักจะบ่งชัด และการตรวจร่างกายอย่างละเอียดจะไม่พบความผิดปกติใด ๆ เลย แพทย์ส่วนใหญ่จะพบและวินิจฉัยโรคนี้กันเป็นประจำ แต่อาจจะใช้ชื่อเรียกต่าง ๆ กัน แพทย์บางท่านอาจจะบอกผู้ป่วยว่า "ไม่เป็นไร" บางท่านก็บอกว่าผู้ป่วยเป็นโรค "ประสาท" หรือ "ประสาทลงท้อง" เป็นต้น แพทย์มักส่งตรวจภาพรังสีกระเพาะอาหารเพียงเพื่อยืนยันว่า กระเพาะอาหารไม่น่าจะมีโรคใดแฝงอยู่ เช่น โรคแผลกระเพาะอาหาร หรือ โรคมะเร็ง หากผู้ป่วยยังไม่มั่นใจ แพทย์ก็อาจส่งตรวจกระเพาะอาหารด้วยกล้องส่องต่อไป เพื่อเป็นการให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วยยิ่งขึ้นอีกชั้นหนึ่ง การรักษา การรักษาโรคประสาทกระเพาะอาหาร ประกอบด้วย การรักษาทางอาการทางหนึ่งและการรักษาเชิงจิตบำบัดอีกทางหนึ่ง การรักษาตามอาการขึ้นอยู่กับอาการสำคัญของคนไข้ เช่น อาการอืดเน่นท้อง อาจใช้ยาลดลมในกระเพาะอาหาร อาการแสบท้องอาจใช้ "ยาลดกรด" ชนิดน้ำ หรือ ชนิดเม็ด อาการปวดเกร็งในท้อง อาจบรรเทาด้วย ยาลดการบีบเกร็งของกระเพาะอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นต้น ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นเมื่อได้รับยาเหล่านี้ แต่อาจเป็นอีกไม่ช้าหลังหยุดยา ผู้ป่วยที่วิตกกังวลเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ของตนมาก (เช่น กลัวจะเป็นโรคร้ายแรง หรือกลัวเป็นโรคมะเร็ง) มักมีอาการเพิ่มขึ้น การรักษาตามอาการด้วยยาต่าง ๆ จึงไม่ค่อยได้ผลในระยะยาว จำเป็นต้องให้การรักษาเชิงจิตบำบัดควบคู่กันไปด้วยการรักษาเชิงจิตบำบัด หมายความถึง การพยายามแก้ไขหรือปรับปรุงส่วนที่บกพร่องในด้านจิตใจ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่เป็นต้นเหตุให้ระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะอาหารแปรปรวนไป หากสามารถแก้ไขที่จุดนี้ได้ หรืออย่างน้อยที่สุดพยายามโน้มน้าวให้ผู้ป่วยเชื่อตามได้ว่า อาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือของอวัยวะใด ๆ แต่เกิดจากความบกพร่องด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ ก็อาจช่วยให้ผู้ป่วยทุเลาหรืออาจหายจากอาการต่าง ๆ ได้ แทนที่จะพึ่งยารักษาตามอาการแต่อย่างเดียวการรักษาเชิงจิตบำบัดนี้ ดูก็น่าจะเป็นงานของจิตแพทย์ แต่ในความเป็นจริงผู้ป่วยโรคประสาทกระเพาะอาหารน้อยรายมากที่อาจถึงขั้นจำเป็นต้องส่งปรึกษาจิตแพทย์ เพราะแพทย์ทั่วไปหรือแพทย์โรคทางเดินอาหารมักให้การดูแลรักษาเชิงจิตบำบัดแก่ผู้ป่วยเช่นนี้ได้พอสมควร ความสำเร็จในการรักษาขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแพทย์ผู้รักษากับตัวผู้ป่วยเองมากกว่าสิ่งอื่นยิ่งกว่านั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่ย่อมไม่ประสงค์ จะพบจิตแพทย์หากไม่จำเป็นจริง ๆ แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วย "โรคประสาทกระเพาะอาหาร" ให้แพทย์ตรวจเช็คร่างกายเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้มีโรคร้ายอื่น ๆ ซ่อนเร้นอยู่ ภายหลังการตรวจ หากแพทย์บ่งว่าไม่มีร่องรอยความผิดปกติใด ๆ ควรยอม รับการวินิจฉัยในขั้นนี้ และไม่ควรวิตกกังวลเกินเลยไป หากมีความเครียดกังวลด้านการงานหรือปัญหาส่วนตัว ควรหาทางผ่อนคลายปัญหาไปตามสมควรโดยไม่กังวลเกี่ยวกับอาการทางช่องท้องมากนัก ทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด รสจัด หรืออาหารสุกดิบ และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ถ้าสูบบุหรี่หรือดื่มกาแฟ ควรลดลงให้มาก และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม พยายามทานผักและผลไม้สดให้มากทุกวัน หาโอกาสออกกำลังกายพอควร ถ้าทำเป็นประจำได้จะยิ่งดีขึ้น ลดการเที่ยวเตร่หรือการทำงานหนักเวลากลางคืน เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนเพียงพอหางานอดิเรกที่ไม่เป็นพิษภัย หรือท่องเที่ยวพักผ่อนในสถานที่สมควร การสนทนาธรรมกับผู้รู้จะช่วยได้มาก. Ref. Link : http://www.kanchanapisek.or.th/kp4//health.htm |
![]() | อาการที่แสดงออกเมื่อผิดปกติ (1) |
![]() | Word Info ID : 8440 Word INFO : กลุ่มอาการไม่สบายที่เกิดขึ้นในท้อง เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาจมีอาการขย้อน หรืออาเจียน เบื่ออาหาร แสบและแน่นยอดอก แน่นท้องหลังอาหาร ท้องอืด เรอ รู้สึกว่ามีลมในท้องมาก เป็นกลุ่มอาการที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Dyspepsia Dyspepsia หมายถึงกลุ่มอาการที่มีสาเหตุเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารส่วนบน มีอาการเป็นๆ หายๆ โดยอาจมีอาการอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือเป็นหลายๆ อย่างรวมกันก็ได้ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ จะไม่พบสาเหตุ เรียกว่า Functional dyspepsia ส่วนพวกที่พบสาเหตุ เรียก Organic dyspepsia Functional dyspepsia เป็นกลุ่มของผู้ป่วยที่มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายๆ อย่างรวมกัน เมื่อได้รับการตรวจ เช่น ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะหรือ กลืนแป้งเอกซเรย์กระเพาะและลำไส้ รวมทั้งผลการตรวจเลือด ไม่พบสิ่งใดผิดปกติ Organic dyspepsia หมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการ dyspepsia ที่ตรวจพบว่ามีสาเหตุแน่ชัด เช่น แผลในกระเพาะอาหาร หรือนิ่วในถุงน้ำดี เป็นต้น การแยกโรค dyspepsia ให้ถูกต้องนั้นต้องอาศัยประวัติที่ดี การตรวจร่างกายอย่างละเอียดถูกต้อง และภาวะตรวจสืบค้นที่เหมาะสม จะยกตัวอย่างของโรคที่มีสาเหตุให้ทราบ สัก 2-3 โรค โรคของทางเดินน้ำดี เป็นโรคของระบบทางเดินอาหารส่วนบน พบประมาณ 10% โดยเฉพาะที่มีนิ่วถุงน้ำดี การปวดจะไม่เกิดในช่วงท้องว่าง จะปวดเป็นช่วงๆ และรุนแรง ปวดแต่ละครั้งนานหลายชั่วโมง ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยอาจปวดร้าวไปที่ไหล่ขวา หรือด้านหลัง ถ้ามีการอุดตันของทางเดินน้ำดี จะมีตัวเหลือง ตาเหลืองเป็นครั้งคราว ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด สำหรับอาการปวดท้องตื้อๆ และท้องอืดก็พบในผู้ป่วย ที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้ แต่ไม่ได้เป็นลักษณะจำเพาะของโรคนี้ แผลในกระเพาะอาหาร ถ้าท่านสงสัยว่า จะมีแผลในกระเพาะอาหารหรือไม่ อาการปวดส่วนมาก เป็นดังนี้ ปวดใต้ลิ้นปี่ บอกขอบเขตไม่ได้ชัดเจน ปวดตอนดึกๆ จนต้องตื่นขึ้น เมื่อท่านรับประทานอาหาร หรือยาลดกรด อาการก็จะดีขึ้น แต่ถ้าท่านเป็นมาก ก็อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำได้ บางกรณี อาจมีแผลจนกระเพาะทะลุก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที มะเร็งกระเพาะอาหาร ที่ท่านคิดว่า น่าจะเป็นโรคกระเพาะธรรมดาๆ ซื้อยามากินก็หาย ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเคราะห์หามยามร้าย เมื่อแพทย์ใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะท่านดู อาจเห็นสิ่งผิดปกติที่ มากกว่าแผลในกระเพาะธรรมดา นั่นคือ มะเร็งของกระเพาะอาหาร ซึ่งถึงแม้ว่าจะพบไม่มากนัก (ประมาณ 1-3%) ของผู้ที่มีอาการโรคกระเพาะ แต่ก็อันตราย โดยเฉพาะถ้าท่านอายุมากเกิน 45 ปี น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดท้องอยู่ตลอดเวลา รับประทานอาหารหรือยาลดกรดแล้วก็ยังไม่หายปวด ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง โดยเร็วที่สุดต่อไป นอกจากนี้ก็ยังมีโรคของระบบอื่นๆ ที่อาจจะทำให้มีการปวดท้องหรือแน่นท้องหลังอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และอิ่มเร็วกว่าปกติ เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่มีพยาธิสภาพของระบบประสาทร่วมด้วย โรคต่อมธัยรอยด์ที่ทำงานน้อยกว่าปกติก็จะทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้องได้ โรคต่อมธัยรอยด์ที่ทำงานมากกว่าปกติ อาจทำให้มีอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน รวมกับมีอาการ อาเจียนได้ Ref. Link : http://www.elib-online.com/doctors2/med_pu01.html |
![]() | อื่นๆ (2) |
![]() | Word Info ID : 8433 Word INFO : Absorption in the Stomach กระเพาะอาหารดูดซึมสารน้อยมาก เช่น สารที่ละลายในน้ำมันบางอย่าง รวมทั้งยา aspirin และพวก non-steroidal anti- inframmatory drugs และ ETHANOL ข้อสังเกต คือสารที่กล่าวข้างต้นเป็นที่ทราบว่าทำให้เกิดการระคายกระเพาะ ถ้าใช้มาก และมักจะเกี่ยวข้องกับการทำให้เกิด gastritis และ gastric ulcers Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |
![]() | Word Info ID : 8434 Word INFO : การใช้ยาเพื่อยับยั้งการหลั่งกรดที่กระเพาะอาหาร (Drug Therapy for Suppressing Secretion of Gastric Acid) มีการพัฒนายาหลายชนิดที่สามารถจะยับยั้งกระบวนการหลั่งกรดจาก parietal cell ซึ่งมีตัวยับยั้งที่สำคัญหลักๆอยู่ 2 ตัว คือ 1) H2 Receptor Antagonists : โดยที่ parietal cell มี receptors สำหรับ histamine ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรด receptorชนิดนี้เป็นชนิด H2 receptor และดังนั้นสาร antagonists ของ H2 receptor ที่ยับยั้งการหลั่งกรด 4 ชนิด คือ cimetidine ranitidine famotidine และ nizatidine ยาทั้ง 4 นี้ ตัวที่ใช้กันมากคือ cimetidine 2) Proton Pump Inhibitors เนื่องจากการหลั่งกรดต้องขึ้นกับบทบาทของ H +, K+ ATPase หรือ proton pump ที่อยู่ใน canalicular membrane ของ parietal cell มีการพัฒนายามากมายที่เป็นพวก non-competitive bind และยับยั้ง ATPase ไม่ให้ทำงาน ทำให้หยุดการหลั่งกรด Omeprazole เป็นสารacid-activated prodrugที่จับแบบcovalent กับ cysTINes2 ตัว ที่ ATPase และทำให้ inactive ถาวร ตัวยับยั้งอีก 2 ตัว คือ lansoprazole and pantoprazole มีปฏิกิริยาเหมือนกันกับ Omeprazole Ref. Link : http://www.thaicyberu.go.th/OfficialTCU/main/digestivesystem1/Conte... |