จำนวนบทความของคำ "โรคพยาธิตัวจี๊ด" : 17 โรคพยาธิตัวจี๊ด เป็น ชื่อโรค |
Click เพื่อดูภาพขนาดใหญ่ |
![]() | ลักษณะทั่วไป (3) |
![]() | Word Info ID : 926 Word INFO : ตัวจี๊ด (Gnathostoma spinigerum) โดยปกติพยาธิตัวแก่ จะอาศัยอยู่ในโพรงของก้อนทูมของกระเพาะอาหารของแมวและสุนัข ไข่พยาธิจะออกมาทางรูที่ติดต่อกับกระเพาะอาหาร และออกไปกับอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ ไข่จะเจริญและฟักเป็นพยาธิตัวอ่อนระยะที่ 1 ในน้ำ ซึ่งจะถูกกุ้งไร (cyclops) กิน มันจะเจริญต่อไปเป็นตัวอ่อนระยะที่ 2 ในกุ้งไร เมื่อสัตว์น้ำจืด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีปีก หรือหนูกินกุ้งไร ตัวอ่อนของพยาธิก็จะเจริญต่อไปเป็น ตัวอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อ มันจะอาศัยอยู่ในกล้ามเนื้อของสัตว์เหล่านี้ ซึ่งถ้าแมวหรือสุนัขกินมันเข้าไป ก็จะเจริญเป็นตัวแก่อาศัยอยู่ในก้อนทูมของกระเพาะอาหาร แต่ถ้าคนกินตัวอ่อนระยะที่ 3 ในสัตว์น้ำจืด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีปีกหรือหนู พยาธิตัวอ่อนระยะที่ 3 ก็จะไม่อยู่ที่กระเพาะ แต่จะคืบคลานไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ใต้ผิวหนัง ช่องท้อง ปอด ตา หู สมอง ไขสันหลัง เป็นต้น ทำให้เกิดการอักเสบและเสียหายตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ โรคนี้พบได้บ่อยในคนที่มีประวัติชอบกินกุ้งหรือปลาน้ำจืด กบ เขียด ปู งู นก เป็ด ไก่ หนู หรือเนื้อสัตว์ดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 4658 Word INFO : โรคพยาธิตัวจี๊ด เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลม ชนิดหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า แน๊ตโทสโตมา สไปนิจิรัม ซึ่งเมื่อพยาธิเข้าสู่ร่างกายคนแล้ว พยาธิจะไชเข้าไปตามอวัยวะต่างๆ ทำให้เกิดอาการปวด บวม อักเสบ ที่อวัยวะนั้นๆ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th |
![]() | Word Info ID : 4659 Word INFO : ลักษณะพยาธิตัวจี๊ด พยาธิตัวจี๊ดมีลำตัวกลมลักษณะอ้วนสั้น ลำตัวสีชมพูค่อนข้างใส ตัวแก่จะมีขนาดเท่าเส้นหมี่ขาว หรืออาจใหญ่กว่าเล็กน้อย พยาธิตัวแก่เพศผู้ยาวประมาณครึ่งนิ้ว ส่วนเพศเมียจะตัวใหญ่กว่า ส่วนหัวของพยาธิตัวจี๊ดมีลักษณะเป็นกระเปาะยืดหดได้ มีหนามเรียงเป็นวงรอบส่วนหัวเป็นแถว มีรอยคอดตรงคอ บริเวณคอมีถุงใส 2 คู่ อยู่แต่ละฟากของหลอดอาหาร มีหน้าที่ทำให้หัวโป่งและยุบ ช่วยในการเคลื่อนที่ โดยการไชให้ตัวไปข้างหน้า ลำตัวมีรอยย่นตลอดลำตัวจนถึงส่วนหาง ครึ่งบนของลำตัวมีหนามขนาดเล็กเรียงเป็นแนวขวางรอบลำตัว ส่วนครึ่งหลังของลำตัวไม่มีหนาม ปลายหางของพยาธิตัวผู้มีลักษณะคล้ายถุงแผ่แต่ไม่กว้างมาก พยาธิตัวเมียมีหางเรียว มีรังไข่เป็นท่อยาวสีขาวขุ่น คดเคี้ยวไปมาค่อนไปข้างท้ายของลำตัว ถัดขึ้นมาเล็กน้อยมีท่อ 2 ท่อ ภายในท่อดังกล่าวมีไข่อยู่เต็ม และมีรูเปิดกลางลำตัว สำหรับไข่ของพยาธิตัวจี๊ดนั้นมีรูปร่างกลมรี ขนาดเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ภายในไข่มี 1-2 เซลล์ ขั้วหนึ่งมีจุกเห็นได้ชัด เปลือกค่อนข้างหนา ผิวเปลือกไข่ ขรุขระมีรูพรุนตื้นๆ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th |
![]() | สาเหตุของโรค (1) |
![]() | Word Info ID : 938 Word INFO : เกิดจากการกินสัตว์น้ำจืด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก หรือหนูที่มีพยาธิตัวจี๊ดที่เป็นตัวอ่อนระยะที่ 3 Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | การติดต่อ (1) |
![]() | Word Info ID : 4661 Word INFO : การติดต่อของโรคพยาธิตัวจี๊ด คนเราจะเป็นโรคนี้ได้เกิดจากการบังเอิญได้รับตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ดเข้าไป เนื่องจากพยาธิตัวจี๊ดสามารถเจริญเติบโตและสืบพันธุ์ได้เฉพาะในสัตว์บางชนิดที่มันอาศัยอยู่เท่านั้น แต่ถ้าอยู่ในคนพยาธิตัวจี๊ดจะไม่สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้ แต่พยาธิตัวจี๊ดจะยังคงเป็นตัวอ่อน ไชไปทั่วร่างกายคนทำให้เกิดโรคขึ้น ตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ดสามารถอาศัยอยู่ในคนเราได้นาน 12 ปี คนเรารับพยาธิตัวจี๊ดเข้าสู่ร่างกายได้ ดังนี้ -การรับประทานอาหารสุกๆดิบๆ ที่มีตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ เช่น ปลาน้ำจืด พวกปลาไหล ปลาดุก หรือสัตว์ปีก พวกนก เป็ด และไก่ที่ปรุงไม่สุก -ดื่มน้ำตามลำคลอง บึงที่มีกุ้ง ไร ซึ่งมีตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ -พยาธิไชเข้าทางผิวหนัง จากการนำเนื้องู ปลา หรือกบสดๆ มาสับแล้วพอกบาดแผล ตัวอ่อนของพยาธิตัวจี๊ดก็จะไชเข้าสู่ร่างกายได้ทางบาดแผล -การติดต่อจากมารดาสู่ทารกขณะตั้งครรภ์ Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th |
![]() | อาการของโรค (3) |
![]() | Word Info ID : 939 Word INFO : ส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นรอยบวมแดง ๆ ตึง ๆ ตามผิวหนัง อาจมีอาการคัน หรือปวดจี๊ด ๆ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะแห่ง อาจเป็นส่วนไหนของร่างกายก็ได้ รอยบวมนี้จะมีขนาดไม่แน่นอน และเลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ เช่น บวมที่มือ แล้วค่อย ๆ เลื่อนไปที่แขน ไหล่ ปาก หน้า ตา จะบวมแห่งหนึ่งอยู่ 3-10 วัน (ชาวบ้านบางแห่ง เรียกว่า โรคลมเพลมพัด) บางครั้งอาจมีไข้ขึ้น ถ้าตัวจี๊ดไชเข้าไขสันหลัง จะมีอาการปวดเสียวมากตามแขนขา แขนขาเป็นอัมพาต ปัสสาวะไม่ออกและท้องผูก ถ้าตัวจี๊ดไชขึ้นสมอง จะมีอาการปวดศีรษะรุงแรง คลื่นไส้ อาเจียน คอแข็ง ซึมหมดสติ อาจถึงตายได้ ถ้าตัวจี๊ดไชเข้าลูกตา อาจทำให้ตาอักเสบ และบอดได้ ถ้าไชเข้าหู ทำให้ปวดหูอย่างมาก ถ้าไชเข้าปอด ทำให้ปอดอักเสบ ปอดทะลุ มีน้ำในช่องหุ้มปอด หรือไอออกเป็นเลือด ถ้าไชเข้าท้อง ทำให้มีก้อนในท้องเลื่อนที่ได้ อาจเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรือปวดคล้ายไส้ติ่งได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 3517 Word INFO : อาการและอาการแสดงอาการและอาการแสดงจะขึ้นกับว่าพยาธิไชไปที่ไหนก็เกิดอาการที่ตำแหน่งนั้น อาการอาจจะเกิดหลังจากได้รับเชื้อไปแล้ว 24 ชั่วโมงอาการแรกจะมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว ไข้ คลื่นไส้ ลมพิษถ้าเกิดในอวัยวะที่สำคัญก็เกิดอาการได้มาก ถ้าไปในที่ไม่สำคัญอาจจะไม่เกิดอาการเลย อาการทางผิวหนังที่สำคัญคืออาการบวมเคลื่อนที่ เช่นบวมที่มือแล้วไปที่แขน ไหล่ หน้า ศีรษะ จะบวมๆแดงๆ 3-10 วัน อาการทางตา ถ้าพยาธิไชไปที่หนังตาจะทำให้หนังตาบวมจนตาปิด ถ้าเข้าไปในตาอาจจะทำให้ตาบอดได้ อาการในช่องท้องอาจจะทำให้เกิดการอักเสบของช่องท้อง คล้ายไส้ติ่งอักเสบ อาการทางสมอง ถ้าพยาธิไชเข้าสมองหรือน้ำไขสันหลังผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ ไข้ คอแข็ง ปวดเสียวอย่างมากตามเส้นประสาทซึม หมดสติ Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/infectious/parasite/gnatho/gnatho... |
![]() | Word Info ID : 4667 Word INFO : เมื่อพยาธิตัวจี๊ดเข้าสู่ร่างกายคน ภายใน 1-2 วันผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน คัน เป็นลมพิษและมีอาการจุกเสียด แน่นหรือปวดท้อง หากตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาว ?eosinophil? สูง พยาธิจะไม่อยู่กับที่แต่จะไชไปตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย อาการของโรคขึ้นอยู่กับอวัยวะที่พยาธิตัวจี๊ดไชเข้าไป ซึ่งอาจแบ่งอาการที่เกิดจากพยาธิตัวจี๊ดได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1.อาการที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่วนใหญ่เป็นตามใบหน้า เปลือก ตา แขน ขา หน้าท้อง หรือเท้า เป็นต้น โดยตำแหน่งที่พยาธิตัวจี๊ดอยู่จะบวม แดง มีขนาด 1-4 เซนติเมตร จนถึงขนาดเท่าฝ่ามือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บจี๊ดๆคันๆ เป็นระยะๆ บางครั้งอาจบวมนานถึง 1-4 สัปดาห์ เมื่อพยาธิไชไปที่ตำแหน่งอื่น บริเวณที่เคยบวมจะยุบลงหายไป และอาจปรากฏอีกครั้งในสัปดาห์หรือหลายเดือน แต่จะเกิดบวมแดงที่ใหม่ไม่ห่างจากที่เดิมมากนัก เราเรียกอาการแบบนี้ว่า ?อาการปวดบวมเคลื่อนที่? อาการเหล่านี้เป็นๆ หายๆ ได้เป็นเวลาหลายปี 2.อาการที่เกิดกับอวัยวะภายใน พบได้หลายแห่ง ขึ้นกับอวัยวะที่พยาธิไชเข้าไป โดยทำให้เกิดโรคและอาการแสดงต่างๆ ดังต่อไปนี้ -พยาธิในตาหรือม่านตา ทำให้เกิดโรคของนัยน์ตา ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบวมเคลื่อนที่ ตามมาด้วยเปลือกตาบวม ม่านตาอักเสบ เลือดออกในตา เกิดแผลที่กระจกตา ทำให้ตาบอดได้ -พยาธิที่พบในช่องหูชั้นนอก แก้วหู เพดานอ่อนของช่องปาก เหงือก แก้ม และลิ้น ทำให้เกิดโรคของหู คอ จมูก -พยาธิในปอด ทำให้เกิดโรคปอด เช่นปอดอักเสบ โดยผู้ป่วยจะมีอาการไอ หายใจลำบาก ปวดหน้าอก ไอเป็นเลือด มีน้ำหรืออากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด เมื่อไอเอาพยาธิออกได้ อาการป่วยจะหายไป -พยาธิในกระเพาะอาหารและลำไส้ ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ลำไส้อุดตัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องด้านล่างขวามากคล้ายไส้ติ่งอักเสบ บางทีพบก้อนที่ผนังลำไส้ใหญ่ -พยาธิในเนื้อเยื่อในช่องท้อง ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีก้อนในช่องท้อง เมื่อทำการผ่าตัด จะพบพยาธิในก้อน -พยาธิในทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธ์ ทำให้ปวดกระเพาะปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด คอมดลูกอักเสบ หรือมีเลือดออกในช่องคลอด อาจตรวจพบพยาธิในปัสสาวะ -พยาธิเข้าไปในระบบประสาทและสมอง ทำให้เกิดโรคของสมอง และไขสันหลัง ผู้ป่วยจะปวดศีรษะรุนแรงมาก เป็นอัมพาต หรือมีสติเลอะเลือน ในบางรายมีเลือดออกในสมอง เสียชีวิตใน 2-3 วัน Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th |
![]() | สิ่งที่ตรวจพบ (2) |
![]() | Word Info ID : 940 Word INFO : รอยบวมแดงตามผิวหนัง มีลักษณะค่อย ๆ เลื่อนที่ไปทีละน้อย Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 3519 Word INFO : การวินิจฉัย ยังไม่มีการวินิจฉัยที่แน่นอน นอกจากจะได้ตัวพยาธิที่ไชออกจากผิวหนัง ในทางปฏิบัติจะอาศัย ประวัติการรับประทานอาหารดิบๆ หรือดิบๆสุกๆโดยเฉพาะปลาน้ำจืด เช่น ส้มฟัก กบยำ ปลาดุกย่างไม่สุก ลักษณะคลินิกที่มีอาการบวมเคลื่อนที่ ตรวจเลือดพบตัว eosinophil ตรวจน้ำไขสันหลังจะพบเซลล์ eosinophil Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/infectious/parasite/gnatho/gnatho... |
![]() | โรคแทรกซ้อน (1) |
![]() | Word Info ID : 941 Word INFO : เกิดการอักเสบและการทำลายของอวัยวะต่าง ๆ ที่ตัวจี๊ดไชผ่าน ถ้าไชเข้าสมอง อาจรุนแรงถึงตายได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | วิธีการรักษา (3) |
![]() | Word Info ID : 943 Word INFO : ถ้าพบอาการดังกล่าวชัดเจน ให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด (ย1) ยาแก้แพ้ (ย7) และให้ยารักษาพยาธิ - อัลเบนดาโซล (ย6.3) ในรายที่สงสัยจะเป็นพยาธิตัวจี๊ดไชเข้าตา หู ปอด ช่องท้อง สันหลัง หรือขึ้นสมอง ให้รีบส่งโรงพยาบาล ทำการวินิจฉัยโดยการเจาะเลือด (พบจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิดอิโอซิโนฟิล*ขึ้นสูง) ทำการทดสอบทางน้ำเหลือง (serologic test) และถ้าสงสัยตัวจี๊ด เข้าไขสันหลัง หรือสมอง อาจต้องเจาะหลัง การรักษา ในรายที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง อาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และให้การแก้ไขตามอาการที่พบ ถ้าตัวจี๊ดขึ้นมาอยู่ที่ผิวหนัง อาจรักษาด้วยการผ่าเอาตัวพยาธิออกมา * อิโอซิโนฟิล (eosinophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนี่ง ซึ่งปกติจะมีอยู่ประมาณ 1%-6% ของจำนวนเม็ดเลือดขาวทุกชนิดที่อยู่ในกระแสเลือด คนที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือโรคพยาธิต่าง ๆ อาจมีอีโอซิโนฟิลขึ้นสูงถึง 20%-80% Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 3524 Word INFO : การรักษา Albendazole 400 มก.วันละ 2 ครั้งให้ 21 วัน Thiabendazole ให้ 50 มก/กก/วัน แบ่งให้วันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 5 วัน Ref. Link : http://www.siamhealth.net/Disease/infectious/parasite/gnatho/gnatho... |
![]() | Word Info ID : 4670 Word INFO : 1.การรับประทานยาฆ่าพยาธิ ซึ่งได้แก่ ยาเม็ด Albenazole (400 mg.) รับประทานทุกวันติดต่อกันนาน 3 สัปดาห์ รับประทานร่วมกับบาลดบวมและยาแก้คัน ซึ่งให้ผลในการรักษาประมาณ 94 % โดยพยาธิจะออกมาอยู่ที่ผิวหนังตื้นๆ และผ่าออกได้ 2.การผ่าตัด ซึ่งทำได้เฉพาะในกรณีที่พยาธิไชมาบริเวณผิวหนังตื้นๆ แล้วจึงทำการผ่าตัดเอาตัวพยาธิออกได้ จะเห็นได้ว่า การรักษาโรคพยาธิตัวจี๊ดนั้น ต้องใช้เวลานานและอาจให้ผลไม้ 100% ดังนั้นการป้องกันไม่ให้พยาธิเข้าสู่ร่างกายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th |
![]() | คำแนะนำ (1) |
![]() | Word Info ID : 945 Word INFO : ความรุนแรงของโรคนี้ขึ้นกับตำแหน่ง หรืออวัยวะที่เป็น ถ้าตัวจี๊ดเคลื่อนตัวอยู่ใต้ผิวหนัง ก็มักจะไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่ถ้าไชเข้าอวัยวะสำคัญ ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น ตาบอด อัมพาต ปอดอักเสบ ปอดทะลุ ซึ่งอาจรุนแรงถึงตายได้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | การป้องกัน (2) |
![]() | Word Info ID : 949 Word INFO : โรคนี้สามารถป้องกันได้โดย 1. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ เช่น ก้อย ยำ ส้มฟัก หรือการย่างที่ไม่สุกเต็มที่ โดยเฉพาะที่ทำจากกุ้ง ปลาน้ำจืด กบ เขียด ปู งู นก เป็ด ไก่ หนู เช่น ก้อยกุ้ง ก้อยปลา ปลาดุกย่าง กบย่าง ไก่ย่างสุก ๆ ดิบ ๆ 2. ดื่มน้ำสุก หรือน้ำสะอาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อพยาธิตัวจี๊ดที่ตกปนอยู่ในน้ำ 3. ควรล้างอุปกรณ์เตรียมอาหาร เช่น มีด เขียง ให้สะอาด ป้องกันพยาธิเปรอะเปื้อนอาหาร 4. ป้องกันตัวจี๊ดไชเข้ามือด้วยการล้างมือด้วยสบู่หลังเตรียมอาหารเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นไปได้ ควรใส่ถุงมือเวลาเตรียมอาหารประเภทนี้ Ref. Link : http://www.doctordiag.com/Medical/disease.aspx |
![]() | Word Info ID : 4677 Word INFO : 1.ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบๆ เช่น ลาบดิบ แหนมสด ปลาเผาที่ปรุงไม่สุก รวมทั้งนก หนู ไก่ เป็ด เต่า ที่มีความเสี่ยงที่จะมีพยาธิอยู่ สำหรับผู้ที่นิยมอาหารญี่ปุ่น ก็ควรเลือกร้านอาหารที่น่าเชื่อถือว่าจะไม่ใช้ปลาน้ำจืดซึ่งมีราคาถูกมาแทนปลาทมะเล 2.ป้องกันพยาธิไชเข้าทางผิวหนัง โดยไม่ใช้เนื้อสดมาพอกบาดแผล และระมัดระวังไม่ให้เกิดบาดแผล ในขณะจัดเตรียมอาหารจำพวกปลาน้ำจืด ไก่ เป็ด กบ เป็นต้น 3.ดื่มน้ำสะอาด ถ้าจำเป็นต้องดื่มน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำจากลำธาร คลอง หนอง บึง ควรต้มให้สุกก่อน 4.ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องน้ำ 5.ร่วมกันเผยแพร่ความรู้และอันตรายของพยาธิตัวจี๊ด Ref. Link : http://www.si.mahidol.ac.th |